กลุ่ม ปตท.รวมพลังต่อลมหายใจคนไทยสู้โควิด ด้วยหน่วยคัดกรอง และ รพ.สนาม ‘ตรวจเร็ว แยกเร็ว รักษาเร็ว’

เพราะเชื่อว่าเราทุกคนล้วนมีลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. จึงได้จัดตั้งโครงการลมหายใจเดียวกัน เพื่อร่วมบรรเทาปัญหาและความเดือดร้อนจากโรคระบาดโควิด โดยส่งมอบเครื่องช่วยหายใจ เครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหลสูงกว่า 400 เครื่อง สนับสนุนออกซิเจนเหลว อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้โรงพยาบาลพื้นที่วิกฤตกว่า 300 แห่ง ร่วมจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม จัดหน่วยวัคซีนเคลื่อนที่เชิงรุกในพื้นที่เปราะบาง และอีกมากมาย

นับแต่เริ่มต้นระบาดเป็นครั้งแรกจนถึงวันนี้ กลุ่ม ปตท. ได้สนับสนุนช่วยเหลือทั้งด่านหน้าและร่วมบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเต็มกำลัง ด้วยงบประมาณกว่า 1,700 ล้านบาท

แต่เมื่อจำนวนผู้เสียชีวิตมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังคงแตะหลักหมื่น ‘หน่วยคัดกรอง และ รพ.สนามครบวงจร (End-to-End)’ ในโครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. จึงได้เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มูลนิธิโรงพยาบาลในเครือบางปะกอกฯ และโรงพยาบาลปิยะเวท โดยเป็นการคัดกรองพร้อมทำการรักษาอย่างครบวงจร ประกอบไปด้วย 4 จุด ดังนี้

เริ่มจากจุดที่ 1 หน่วยคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่ EnCo Terminal หรือ Enter ของบริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด กลุ่ม ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต (ศูนย์ลูกเรือการบินไทยเดิม เยื้องสนามบินดอนเมือง) ก่อนเข้ารับบริการจะต้องโหลดแอพพ์ QueQ จากนั้นลงทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก พร้อมลงทะเบียนในลิงก์สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองเพื่อให้ได้ตัวเลข 4 หลักสำหรับนำไปแสดงในวันตรวจ ที่สำคัญจะต้องไปตามวันและรอบเวลาที่ลงทะเบียนเท่านั้น

Advertisement

การตรวจจะใช้ชุด Antigen test kit หากพบว่ามีการเสี่ยงติดเชื้อ จะนำส่งตรวจ RT-PCR ต่อ สำหรับผู้ป่วยตรวจพบเชื้อในระดับสีเขียวที่สามารถดูแลตัวเองได้ที่บ้านหรือในชุมชน (Home or Community Isolation) จะได้รับมอบ กล่องพลังใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน ในกล่องมีชุดอุปกรณ์การทางแพทย์ ยาฟาวิพิราเวียร์ ฯลฯ พร้อมระบบติดตามอาการ

จุดที่ 24 จัดเตรียมเป็นโรงพยาบาลสนามครบวงจรพร้อมรองรับการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อทุกระดับความรุนแรง ภายใต้การดูแลของคณะบุคลาการทางการแพทย์โรงพยาบาลปิยะเวท โดยโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยระดับสีเขียวเปิดให้บริการในรูปแบบของ Hospitel กระจายไปในหลายโรงแรมในกรุงเทพฯ กว่า 1,000 เตียง รองรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากหน่วยคัดกรองอย่างเป็นระบบ 

Advertisement

หากเป็นผู้ป่วยสีเหลืองที่มีอาการในระดับหนักขึ้นจะส่งไปที่ Hospitel ที่นี่มีจำนวน 300 เตียง ที่กระจายอยู่ในเพื้นที่กรุงเทพฯ มีระบบออกซิเจน ต่อ Direct Tube ส่งตรงถึงทุกเตียงผู้ป่วย พร้อมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. เพื่อให้การดูแลคนไข้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้นว่า เตียงพลาสติกรับน้ำหนักสูง หุ่นยนต์ CARA สำหรับทำหน้าที่ลำเลียงเพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลคนไข้ รวมถึงหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ Xterlizer UV

สำหรับโรงพยาบาลสนามของผู้ป่วยสีแดง ได้มีการจัดสร้างโรงพยาบาลสนามระดับวิกฤต ICU จำนวน 120 เตียง จากการปรับพื้นที่โล่ง 4 ไร่ของโรงพยาบาลปิยะเวท โดยจัดทำห้องรักษาความดันลบแยกรายผู้ป่วยห้องละ 1 เตียง ซึ่งเป็นครั้งแรกของโรงพยาบาลสนามในประเทศ พร้อมระบบ Direct Tube ส่งท่อออกซิเจนตรงทุกห้องผู้ป่วย และมีการติดตั้งถังออกซิเจนเหลวขนาด 10,000 ลิตร พร้อมห้องฉุกเฉินให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

‘หน่วยคัดกรอง รพ.สนามครบวงจร (End-to-End)’ มุ่งตรวจเร็ว แยกเร็ว รักษาเร็ว โดย กลุ่ม ปตท. ตั้งใจให้เป็นต้นแบบที่ภาคธุรกิจจับมือกับภาครัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด -19 ให้เพียงพอและทั่วถึง หวังที่จะมีส่วนช่วยลดการเสียชีวิต บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยเร็วที่สุด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image