รวมแนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม

ใครว่างานหนักไม่เคยทำให้ใครตาย? อยากให้ผู้อ่านลองคิดทบทวนอีกที โดยเฉพาะกับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ที่ร้อยทั้งร้อยมักจะต้องเจอกับอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ อย่างแน่นอน ซึ่งหากเป็นแล้วไม่รักษาออฟฟิศซิน
โดรมนั้นสามารถลุกลามถึงขั้นเป็นอัมพาตได้เลยทีเดียว

โดยกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมนั้นจะเริ่มเกิดจากการการปวดกล้ามเนื้อ รู้สึกคล้ายๆ เหมือนเส้นตึง ปวดลึกๆ เมื่อยๆ หนักๆ ชาๆ แล้วจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนว่าสาเหตุของอาการปวดหลังหรือปวดตามตัวนั้นเกิดจากพฤติกรรมและลักษณะการทำงานของคนเมืองในปัจจุบัน ที่ต้องนั่งแชร่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น รวมไปถึงลักษณะท่าทางในการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ ระหว่างวันนั้นไม่มีการยืดเส้นยืดสายหรือเปลี่ยนอิริยาบทเลย ซึ่งปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญของการสะสมความเครียดให้กับกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว และจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกปวด จนไม่อยากลุกไปทำงาน อาการปวดในกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า “ออฟฟิศซินโดรม”  ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพของคนที่ทำงานออฟฟิศ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบได้มากกว่า 50% โดยลักษณะอาการอาจจะมาในลักษณะเดี่ยวๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ หรือเกิดขึ้นพร้อมๆ กันทั้งปวดหัว ปวดตา ปวดสะบัก ชามือ หรือเมื่อยตัว เป็นต้น

แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม

Advertisement

การรักษาออฟฟิศซินโดรมในระยะแรกนั้นสามารถรักษาได้แค่ชั่วคราว โดยมีทั้งการยืดกล้ามเนื้อหรือลุกเดินเป็นระยะๆ ในขณะที่ทำงานระหว่างวัน หรือการทำกายภาพฟื้นฟู นวดรักษา ฝังเข็ม รวมไปถึงการใช้ยาการรักษาระยะยาว นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่

บรรยากาศภายในสถานที่ทำงาน

บรรยากาศหรือสถานที่ทำงานนั้นมีส่วนที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยเช่นเดียวกัน อาทิ แสงไฟไม่เหมาะสม เก้าอี้โต๊ะทำงานอยู่ในระดับที่ร่างกายนั่งแล้วไม่สบาย เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ได้สัดส่วนสัมพันธ์กันกับร่างกาย หรือจัดวางอยู่ในถูกตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง

Advertisement

สภาพร่างกาย

การรักษาออฟฟิศซินโดรมนั้นผู้ป่วยจะต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่าควรจะต้องจัดท่านั่งให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องเสมอ เริ่มจากจัดท่าทางท่านั่งและหลัง ต้นคอ ให้ถูกสุขลักษณะและอาจฝึกสมดุลของโครงสร้างร่างกายด้วยการออกกำลังกาย อาทิ ฝึกโยคะหากปรับแล้วจะเห็นผลใน 1-2 อาทิตย์ว่าเริ่มดีขึ้น แต่หากยังไม่ดีพอ อาจจะต้องทำการเสริมสมรรถภาพร่างกายให้แข็งแรงทนทานด้วยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ซึ่งหากผู้ป่วยได้ลองปฏิบัติอย่างจริงจัง 2-3 เดือน จะเห็นได้ชัดเลยว่าบุคลิกภาพจะเปลี่ยนไปในทางที่ดี และทำงานได้สบายรวมถึงมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย

ใครที่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญกับปัญหาปวดหลังหรือปวดตามที่ต่างๆ ของร่างกายอยู่ อย่าลืมลองเอาแนวทางรวมแนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรมเหล่านี้ไปใช้ เพื่อที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้เข้าสู่ภาวะปกติ ใช้งานได้เหมือนเดิมก่อนที่จะสายเกินแก้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image