กรมวิชาการฟิตจัดงัดหลักสูตรจำกัดการใช้ 3 สารเข้มข้น อัดความรู้เกษตรกร ลด เลิกใช้ถาวรในอนาคต

กรมวิชาการเกษตรเดินหน้าแผนปฏิบัติการอบรมการใช้ 3 สารพาราควอต ไกลโฟเชตและคลอร์ไพริฟอส    งัดหลักสูตรเข้มข้นเสริมเขี้ยวเล็บวิทยากรต้นแบบ (ครู ก) จำนวน 2 รุ่น เพื่อไปสร้างเครือข่าย ครู ข ทำหน้าที่เดินสายให้ความรู้แก่เกษตรกร 1.5 ล้านคนทั่วประเทศ ใช้ 3 สารอย่างถูกต้องและปลอดภัย พร้อมเชื่อมั่นหลัง 180 วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ปริมาณการนำเข้าและการใช้ 3 สารของไทยจะลดฮวบและเลิกใช้อย่างยั่งยืนแน่นอน

ระหว่างวันที่ 24-25 เม.ย ที่ผ่านมา กรมวิชาเกษตร ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรวิทยากรครู ก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร จำนวน 2 รุ่น รวม 240 คน เพื่อสร้างเป็นวิทยากรต้นแบบในถ่ายทอดความรู้การจำกัดการใช้ 3 สาร คือ พาราควอต ไกลโฟเชตและคลอร์ไพริฟอสอย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อไปยังวิทยากร ครู ข ที่เป็นหน้าที่จาก 3 หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (สคว) กล่าวว่า หลังจากมีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ฉบับในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรก็เร่งเดินหน้าแผนปฏิบัติการฝึกอบรมการใช้ 3 สาร (พาราควอต ไกลโฟเชตและคลอร์ไพริฟอส)ภายใต้หลักสูตรเข้มข้น ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรมนับเป็น 1 ใน 6 มาตรการสำคัญในการจำกัดการใช้ 3 สาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ขาย ผู้พ่น ผู้ใช้ ผู้ควบคุม ให้มีการใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

Advertisement

โดยระหว่างวันที่ 24-25 เม.ยนี้ได้จัดอบรมเป็นครั้งแรก โดยเน้นอบรมเจ้าหน้าที่ในภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตรเป็นหลักเพื่อสร้างเป็นวิทยากร ครู ก จำนวน 2 รุ่น รวม 240 คน โดยหลักสูตรจะเน้นอบรมเกี่ยวกับ มาตรการจำกัดการใช้ 3 สาร บทบาทหน้าที่และความสำคัญของพนักงานเจ้าหน้าที่ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับมาตรการจำกัดการใช้ อันตรายจากการใช้ ความเป็นพิษต่อร่างกาย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้อย่างมีประสิทธิภาและปลอดภัย รวมทั้งสาธิตและฝึกปฏิบัติการฉีดพ่นวัตถุอันตราย

นอกจากการอบรมเจ้าหน้าที่ภูมิภาคกรมวิชาการเกษตรสร้างเป็นวิทยากรครู ก แล้ว ในแผนปฏิบัติการยังเตรียมอบรมเจ้าหน้าที่จาก 3 หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเรียกกว่าวิทยาการ ครู ข ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายอีกจำนวน 2,000 คนในเดือน พ.ค.ตามกลุ่มจังหวัดทั้ง 6 ภาค อบรมผู้รับจ้างพ่นจำนวน 50,000 ราย ระหว่างเดือน มิ.ย – กค. ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวพ.) 54 จังหวัด อบรมเกษตรกรผู้ใช้จำนวน 1.5 ล้านคนระหว่างเดือน มิ.ย-ก.ย ณ สถานที่จัดฝึกอบรมของหน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นผู้กำหนด และอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ (ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัด อบต.) จำนวน 79,988 คน ในเดือน มิ.ย. โดยส่วนนี้กำหนดอบรมระบบ Video Conference ของกระทรวงมหาดไทย รายภาคจำนวน 5 ครั้ง

Advertisement

สำหรับเจ้าหน้าที่ภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตรที่ผ่านการอบรมเป็นวิทยากร ครู กแล้ว จะทำหน้าที่ไปสร้างเครือข่ายวิทยากร ครู ข จำนวน 2,000 คน ซึ่งวิทยาการครู ขที่สร้างขึ้นเปรียบเสมือนเป็นครูทายาท ที่ครู ก สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ไปให้การอบรมเกษตรกรเป้าหมายทั่วประเทศจำนวน 1.5 ล้านคนในขั้นต่อไป ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญๆ 6 ชนิด ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา อ้อยและไม้ผล

นอกจากนี้ในแผนปฏิบัติการฝึกอบรม อีกมาตรการสำคัญคือ การจัดทำหลักสูตรเกษตรกรและผู้รับจ้างพ่นสารและหลักสูตรพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยสาระสำคัญหลักสูตรผู้รับจ้างพ่นสารจะเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการจำกัดการใช้ 3 สารเคมี อันตรายจากการใช้ ความเป็นพิษต่อร่างการ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม การใช้วัตถุอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ส่วนหลักสูตรเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสังกัด เน้นให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการจำกัดการใช้ 3 สาร กฎระเบียบ และบทบาทพนักงานเจ้าหน้าที่วัตถุอันตราย ตาม พ.ร.บ
วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อไปทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้สารในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง

ส่วนหลักสูตรผู้รับจ้างพ่นฉีด จะเน้นการสาธิต ฝึกปฏิบัติจริงและต้องผ่านการทดสอบข้อเขียนและปฏิบัติอย่างเข้มข้นและผู้พ้นและลูกจ้างจะต้องมาอบรมทุกๆ 3 ปี

ส่วนหลักสูตรเกษตรกรจะเน้นการสาธิต e-learning และต้องผ่านการทอดสอบข้อเขียน

ด้านนายศรัณย์ วัธนธาดา ผู้เชี่ยวชาญด้านควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ภายหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (23 เมย.62)   เกษตรกรผู้มีสิทธิซื้อสารเคมี 3 ชนิด จะต้องผ่านการอบรมและหรือผ่านการทดสอบตามหลักสูตรที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด และมีหลักฐานแสดงพืชปลูกและพื้นที่ปลูก เพื่อกำหนดปริมาณในการซื้อ 3 สาร ตามคำแนะนำในฉลาก

ในระหว่างที่กฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ เป็นช่วงที่ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงฉลาก 3 สาร ตามข้อกำหนดในประกาศฯ เร่งอบรมให้ความรู้เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้อง

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image