แนวทางการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

กฎหมายกำหนดให้อาคารก่อสร้างหรือดัดแปลงและมีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ได้แก่
สถานศึกษา, สำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า, สถานบริการ, อาคารชุมนุมคน, โรงมหรสพ,
สถานพยาบาล, โรงแรม หรืออาคารชุด ต้องออกแบบอาคารให้มีการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน โดยอาศัยแนวคิดในการออกแบบเพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร การใช้ปัจจัยจากธรรมชาติ และการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางการออกแบบ ดังนี้
ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง
ควรเลือกใช้หลอดไฟ LED และออกแบบให้มีการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติในช่วงเวลากลางวัน
หลังคา
ควรใช้หลังคาสีโทนอ่อน และติดตั้งฉนวนกันความร้อน เช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวนโฟม
ผนังทึบ
ควรใช้ผนังที่มีสัมประสิทธิ์ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมต่ำ หรือติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนัง และใช้สีทาผนังภายนอกเป็นสีโทนอ่อน
ผนังโปร่งแสง
ควรใช้กระจกที่มีค่าการส่องผ่านแสงไม่น้อยกว่า 20% เพื่อให้สามารถนำแสงธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์ในอาคารได้ และมีค่าสัมประสิทธิ์การส่งความร้อนจากรังสีอาทิตย์ต่ำ เช่น กระจกเขียวตัดแสง หรือกระจก Low-E เป็นต้น
อุปกรณ์บังแดดภายนอก
ควรติดตั้งอุปกรณ์บังแดดภายนอก เพื่อลดปริมาณความร้อนเข้าสู่ภายในอาคาร
ระบบปรับอากาศ
เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงหรือมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และมีขนาดทำความเย็นที่เหมาะสมกับภาระการทำความเย็น
การใช้พลังงานหมุนเวียนภายในอาคาร
การติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนในอาคาร
ติดต่อ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับการตรวจประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ฟรี!! ได้ที่ ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (BEC) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
โทรศัพท์ 02-225-2412 อีเมล [email protected]  และเว็บไซต์ www.2e-building.com

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image