ฟอร์ติเน็ตจัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค 361° Security 2019 Conference โชว์นวัตกรรมและกลยุทธ์ใหม่โดยใช้ระบบความปลอดภัยไซเบอร์ป้องกันและขับเคลื่อนเครือข่ายในทุกส่วนขององค์กร

กรุงเทพฯ, 27  สิงหาคม 2562 Fortinet® (NASDAQ: FTNT) ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบบูรณาการและอัตโนมัติประกาศจัดงานประชุมระดับภูมิภาคด้านเทคโนโลยึความปลอดภัยไซเบอร์ประจำปี “Fortinet 361° Security 2019 Cybersecurity Conference” ในหลายเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกงเมื่อเร็วๆ นี้ โดยเน้นถึงการแบ่งปันข้อมูลและกลยุทธ์ใหม่ๆ ในการปกป้องเครือข่ายธุรกิจในโลกที่มีการเชื่อมโยงกันสูงมากในทุกวันนี้

การประชุมระดับภูมิภาค Fortinet 361° Security 2019 ในครั้งนี้เป็นการรวมผู้บริหารของฟอร์ติเน็ต ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์และพันธมิตรเทคโนโลยีต่างๆ ที่ร่วมกันแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการปลดล็อกศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างปลอดภัย อันจะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถพัฒนาธุรกิจ เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างอนาคตขององค์กรของตนที่ต้องการได้อย่างมั่นใจ การอภิปรายประเด็นสำคัญและการเสวนาในแต่ละช่วงได้ครอบคลุมหัวข้อที่เป็นประโยชน์ อันรวมถึง ลักษณะของภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย โครงข่ายที่มีลักษณะขยายกว้างมากขึ้นในปัจจุบัน และวิธีการที่กลยุทธ์ด้านความปลอดภัยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ

ทั้งนี้ นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์ รองประธาน แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกงแห่งฟอร์ติเน็ต ได้กล่าวว่า “ในโลกวันนี้ ที่มีการเชื่อมโยงกันมากมาย จนแทบจะแยกกันไม่ออก ที่เรียกว่า Hyper-connected world นั้น ข้อมูลจะเคลื่อนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย รวมถึง มัลติคลาวด์ ไอโอทีและอุปกรณ์พกพาต่างๆ ซึ่งทำให้เครือข่ายที่ทันสมัยจำเป็นต้องมีศักยภาพในการบังคับและใช้การรักษาความปลอดภัยที่สม่ำเสมอกันทั่วทั้งเครือข่าย ระบบต่างๆ ในเครือข่ายทำงานเต็มประสิทธิภาพ เพื่อปกป้องให้เวิร์กโฟลว์ในทราฟฟิคในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายนั้นปลอดภัย จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ของการประชุมในปีนี้ที่มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยระบบความปลอดภัย (Security-Driven Networking) ซึ่งหมายถึงการบูรณาการรวมระบบเครือข่ายและระบบความปลอดภัยเข้าด้วยกัน แนวคิดนี้จะเป็นรากฐาน ให้องค์กรต่างๆ สามารถออกแบบและปรับใช้แอปพลิเคชั่นและบริการที่สำคัญทางธุรกิจได้เร็วขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ขณะที่มีระดับความปลอดภัยที่แข็งแกร่งเท่ากันทั่วทั้งเครือข่าย”

ดร.รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโสวิศวกรรมระบบความปลอดภัยไซเบอร์ แห่งฟอร์ติเน็ตประเทศไทย กล่าวว่า “การปฏิรูปด้านดิจิทัลมีบทบาทสำคัญ ส่งผลบังคับให้องค์กรทุกขนาดและในทุกอุตสาหกรรมจำเป็นต้องประเมินประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานความปลอดภัยเดิมที่องค์กรใช้อยู่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในองค์กรประเภทที่ถือว่าเครือข่ายมีความละเอียดอ่อนสูงและสำคัญ เช่น หน่วยงานรัฐบาล สถาบันทางการเงินและด้านการสาธารณสุข ที่มักจะเก็บข้อมูลที่มีค่าสูงที่เกี่ยวกับบุคคล ธุรกรรมทางการเงินและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ จึงทำให้เครือข่ายมีข้อมูลที่มีค่าเหล่านี้ตกเป็นเป้าหมายของภัยคุกคามสมัยใหม่หลากหลายประเภทได้ อาทิ แรนซัทแวร์ ฟิชชิ่ง และดีดอส ซึ่งมีเป้าหมายที่จะขู่กรรโชกหรือขัดขวางการทำงานของเครือข่าย อีกทั้งในประเทศไทยที่มีเรื่องของพระราชบัญญัติการรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์และพระราชบัญญัติข้อมูลส่วนบุคคลที่บังคับใช้ไปตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมานี้เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ผู้นำธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่มองไปข้างหน้าในอนาคตเพื่อให้องค์กรของตนเองสามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมเครือข่ายที่ทวีความซับซ้อนนี้มากขึ้น และสอดคล้องกับกฏข้อบังคับใหม่ๆเหล่านี้ได้ ทั้งนี้ ในขณะที่องค์กรต่างๆ พัฒนาโครงสร้างที่เชื่อมโยงกันระหว่างเครือข่าย ระบบนิเวศ ธุรกิจ สังคมและชีวิตส่วนตัวจนแยกจากกันได้ยากนี้ ความปลอดภัยจึงจำเป็นต้องพัฒนาไปในทางเดียวกัน คือแยกจากกันได้ยากเช่นกัน”

Advertisement

ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตได้เลือกกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแรกในการจัดการประชุมระดับภูมิภาค Fortinet 361° Security 2019 ในวันพุธที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมานี้ไปเรียบร้อยแล้ว และจะจัดงานประชุมเชิงวิชาการในลักษณะเดียวกันที่เมืองจาการ์ตา (28 สิงหาคม) มะนิลา (4 กันยายน) ย่างกุ้ง (12 กันยายน) กัวลาลัมเปอร์ (19 กันยายน) โฮจิมินห์ (22 ตุลาคม) ฮานอย (24 ตุลาคม) ฮ่องกง (31 ตุลาคม) และสิงคโปร์ (6 พฤศจิกายน) ทั้งนี้ คาดว่างานระดับภูมิภาคประจำปีนี้จะสามารถดึงดูดให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในองค์กรต่างๆ มากกว่า 1,500 คนมาร่วมงานและรับความรู้จากผู้บรรยายที่ล้วนเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคหลายท่าน ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับประโยชน์จากความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับแนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ล่าสุด นวัตกรรมและกลยุทธ์ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลและทรัพยากรทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอีกด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน Fortinet 361° Security 2019 กรุณาเยี่ยมชมที่ https://seahk-361security-2019.fortinetasia.com

ท่านสามารถติดตามดูภาพในงาน Fortinet 361° Security 2019 ทั้งหมดได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1fVsGMhGU-zdru_yLXUt12ra4fh3u-rie?usp=sharing

Advertisement

 ข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียด

 เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ และหน่วยงานรัฐบาล ขนาดใหญ่ทั่วโลกให้พ้นจากภัยไซเบอร์ ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกในภัยคุกคาม และสร้างการป้องกันที่ชาญฉลาดให้ธุรกิจลูกค้าดำเนินไปอย่างราบรื่น เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาต่อเครือข่ายไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต ทั้งนี้ เครือข่ายด้านความปลอดภัยซีเคียวริตี้แฟบลิคอันเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่สามารถมอบคุณสมบัติด้านความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ โมบาย หรือไอโอที ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการจัดส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด และมีลูกค้ามากกว่า 400,000 รายทั่วโลกไว้วางใจฟอร์ติเน็ตให้ปกป้องธุรกิจของตน รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ www.fortinet.com และ The Fortinet Blog หรือ FortiGuard Labs

FTNT-O

Copyright © 2019 Fortinet, Inc. All rights reserved. The symbols ® and ™ denote respectively federally registered trademarks and common law trademarks of Fortinet, Inc., its subsidiaries and affiliates. Fortinet’s trademarks include, but are not limited to, the following: Fortinet, FortiGate, FortiGuard, FortiCare, FortiManager, FortiAnalyzer, FortiOS, FortiADC, FortiAP, FortiAppMonitor, FortiASIC, FortiAuthenticator, FortiBridge, FortiCache, FortiCamera, FortiCASB, FortiClient, FortiCloud, FortiConnect, FortiController, FortiConverter, FortiDB, FortiDDoS, FortiExplorer, FortiExtender, FortiFone, FortiCarrier, FortiHypervisor, FortiInsight, FortiIsolator, FortiMail, FortiMonitor, FortiNAC, FortiPlanner, FortiPortal, FortiPresence , FortiProxy, FortiRecorder, FortiSandbox, FortiSIEM, FortiSwitch, FortiTester, FortiToken, FortiVoice, FortiWAN, FortiWeb, FortiWiFi, FortiWLC, FortiWLCOS and FortiWLM.

Other trademarks belong to their respective owners. Fortinet has not independently verified statements or certifications herein attributed to third parties and Fortinet does not independently endorse such statements. Notwithstanding anything to the contrary herein, nothing herein constitutes a warranty, guarantee, contract, binding specification or other binding commitment by Fortinet or any indication of intent related to a binding commitment, and performance and other specification information herein may be unique to certain environments. This news release may contain forward-looking statements that involve uncertainties and assumptions, such as statements regarding technology releases among others. Changes of circumstances, product release delays, or other risks as stated in our filings with the Securities and Exchange Commission, located at www.sec.gov, may cause results to differ materially from those expressed or implied in this press release. If the uncertainties materialize or the assumptions prove incorrect, results may differ materially from those expressed or implied by such forward-looking statements and assumptions. All statements other than statements of historical fact are statements that could be deemed forward-looking statements. Fortinet assumes no obligation to update any forward-looking statements, and expressly disclaims any obligation to update these forward-looking statements.

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image