สทป. จุดประกายความคิดสร้างนักวิทย์รุ่นใหม่ จัดกิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ครั้งที่ 9 ในภาคใต้

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 นับเป็นครั้งแรกในภาคใต้ ระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม 2563 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เยาวชน เพื่อให้ความรู้ด้านจรวดได้เผยแพร่สู่สังคมให้เป็นประโยชน์ และเกิดการพัฒนากว้างขึ้น

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านจรวด และมีเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เยาวชน เพื่อให้ความรู้ด้านจรวดได้เผยแพร่สู่สังคมให้เป็นประโยชน์ และเกิดการพัฒนากว้างขึ้น จึงได้จัด “กิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์” ซึ่งจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน

ในวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นประธานในพิธีเปิดค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด

Advertisement

กิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ เปิดรับสมัครเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 – 6  สายวิทยาศาสตร์ จากหลากหลายสถานศึกษากว่าพันคนทั่วภาคใต้ และมีเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 52 คน เข้าร่วมกิจกรรมระหว่างวันที่ 6 – 9 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)

การจัดอบรมความรู้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ดินขับเชื้อเพลิงแข็งที่ใช้น้ำตาลเป็นเชื้อเพลิง มีระยะเวลาทั้งสิ้น 4 วัน 3 คืน โดยแบ่งกลุ่มเยาวชนออกเป็นทีมๆ ละ 4 คน จำนวน 13 ทีม หลังจากที่ได้อบรมความรู้ไปแล้ว สทป. ได้สนับสนุนวัสดุ และอุปกรณ์ให้นักเรียนได้ลงมือพัฒนาสร้างจรวดประดิษฐ์ และนำจรวดประดิษฐ์มายิงทดสอบขึ้นสู่ท้องฟ้า ในวันที่ 9 มีนาคม เพื่อแข่งขันชิงรางวัลต่างๆ ดังนี้

รางวัล Conceptual Design​ ออกแบบตามทฤษฏี ได้แก่ ทีม Missile มุ่ง​ พุ่งทะยานฟ้า ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ดุจดาว บูรณะพาณิชย์กิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เป็นผู้มอบรางวัล สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวพัชรมัย ไชยรัตน์​ โรงเรียน​ธิดานุเคราะห์, นางสาวอชิรญา​ นพสุวรรณ์​ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย,​ นางสาวธันยพร​ รัตนสุภา​ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย​ นครศรีธรรมราช และนายธนกฤต แซ่ลิ่ม โรงเรียนแสงทองวิทยา

Advertisement

รางวัล Conceptual Design ความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ทีม​ 2KBE ซึ่งได้รับเกียรติจาก พลอากาศตรี เจษฏา  คีรีรัฐนิคม ผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดและอาวุธนำวิถี เป็นผู้มอบรางวัล สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวพัชราภรณ์​ ขุนพารเพิง​ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช​, นางสาวเอี่ยมลออ​ จิโรจน์มนตรี​ โรงเรียนธิดานุเคราะห์, นายนันทนัท​ วรรณรัตน์​ โรงเรียนแสงทองวิทยา และนายชนกันต์​ ชัยสวัสดิ์​ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช​

รางวัล Popular Vote ได้แก่ทีม master of​ wings กับผลงาน rocket to​ the​ moon, rocket​ to​ the​ sun ซึ่งได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นผู้มอบรางวัล สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวอัญพร​ ชัยสุระ​ โรงเรียนตากใบ, นางสาวปริชญา​ ภูยุทธานนท์​ โรงเรียนสาธิต​ มอ.ปัตตานี​, นาย​กฤตภาส​ ทองโชติ​ มอ.วิทยานุสรณ์​สุ​ราษฎร์​ธานี, ด.ช.อัครพงษ์​ สุขแก้ว มอ.​ วิทยานุสรณ์หาดใหญ่

รางวัลชนะเลิศการแข่งขันจรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 ทีมชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมจ๊าบจิงดิงโจ้ ด้วยคะแนน 73.48 สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายยศภัทร​ จินดาวงค์ โรงเรียนแสงทองวิทยา, นายณัฐวุฒิ​ เบ็ศขุนทศ โรงเรียนหาดใหญ่วิยาลัย, นางสาวภัณฑิรา​ เเนวบรรทัด​ สาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์​​, นายฐณภัทร​ ลี้เกษร โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์​สุ​ราษฎร์​ธานี​ และทีมชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม FJPP ด้วยคะแนน 70.36 สมาชิกในทีมประกอบด้วยนายณัฐดนัย สุขเกษม โรงเรียน มอ. วิทยานุสร,นายภูริณัฐ  แก้วรัตน์ โรงเรียนแสงทองวิทยา, นายณภัทร บรมพิบาล โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม และทีมชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ ทีม master of​ wings ด้วยคะแนน 69.82 สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวอัญพร​ ชัยสุระ​ โรงเรียนตากใบ, นางสาวปริชญา​ ภูยุทธานนท์​ โรงเรียนสาธิต​ มอ.ปัตตานี​,นาย​กฤตภาส​ ทองโชติ​ มอ.วิทยานุสรณ์​สุ​ราษฎร์​ธานี, ด.ช.อัครพงษ์​ สุขแก้ว มอ.​ วิทยานุสรณ์หาดใหญ่

พิธีปิดและวันสุดท้ายของค่ายในวันที่ 9 มีนาคม 2563 นางอริศรา เพ็ญกิตติ ผอ.ส่วนกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กล่าวว่าในนามของคณะทำงานจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2563 ต้องขอขอบคุณผู้บริหารทั้งสองฝ่ายที่เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจรวด เสริมสร้างความสนใจในการวิจัยค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรุ่นใหม่สู่สังคม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า สทป. และ มอ.
ได้มีความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน โดย มอ. ได้รับมอบหมายให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมโครงการค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ประจำปี 2563 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 9 ณ เขตพื้นที่ภาคใต้ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้
สทป. สนับสนุนความรู้ด้านการประดิษฐ์จรวดเชื้อเพลิงน้ำตาล ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการประดิษฐ์จรวดทั้งหมด ในส่วนของมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนด้านบุคลากร และสถานที่ในการจัดกิจกรรม โดยมุ่งหวังที่จะสร้างเสริมความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางด้านจรวดให้กับเยาวชน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีจรวด ส่งเสริมให้เป็นนักประดิษฐ์คิดค้นสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม สร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับเยาวชนและประเทศ ให้มีโอกาสได้เสริมสร้างความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี เพื่อนำไปพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไปในอนาคต

พลอากาศตรี เจษฎา คีรีรัฐนิคม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดของประเทศไทย กล่าวสรุป ผลการยิงทดสอบจรวดประดิษฐ์ ด้วยการประลองประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการทำงานของทุกทีมประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เชื่อมั่นว่ากิจกรรมค่ายจรวด ในปีนี้ ที่ สทป. ตั้งใจจัดให้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะสามารถสร้างเสริมประสบการณ์ สร้างศักยภาพใหม่ให้แก่เยาวชน ให้เป็นเยาวชนที่มีความสามารถ และมีคุณค่าต่อประเทศ

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ประธานในพิธีปิดกล่าวให้โอวาทแก่ เยาวชนที่ผ่านการเข้าค่ายทุกคน “กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ถือเป็นหนึ่งในโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ สทป. ได้ให้ความสำคัญในการสร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ผ่านการส่งเสริมศักยภาพความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชน เป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศอีกทางหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ นักวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสู่สังคมไทยเพิ่มขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่กิจกรรมค่ายวิทย์จรวดประดิษฐ์มุ่งหวัง และเป็นการตอกย้ำบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมของ สทป. ในฐานะองค์กรที่ดำเนินงานพร้อมกับการเผยแพร่ และพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่สังคม ด้วยบุคลากรของ สทป. ที่สั่งสมองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญของจากโครงการวิจัยพัฒนาจรวดหลายลำกล้องให้แก่เหล่าทัพ” จากนั้น จุดจรวดเพื่อปิดพิธี ด้วยความประทับใจเป็นอันเสร็จสิ้นกิจกรรมค่ายวิทย์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 ลงด้วยดีตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image