ระบบน้ำประปาในบ้าน ติดตั้งอย่างไรให้ประหยัด

บ้าน ที่อยู่อาศัยอันเป็นหัวใจสำคัญของคนในครอบครัว การเลือกซื้อบ้านแต่ละหลังจึงมีองค์ประกอบให้ต้องขบคิดและพิจารณามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสาธารณูปโภคภายในบ้าน อย่างน้ำ ไฟ ที่ต้องให้ความสำคัญ

ระบบน้ำ จะติดตั้งอย่างไรให้ประหยัดน้ำ

เริ่มจากระบบท่อ การเลือกติดตั้งท่อประปาให้เหมาะกับการใช้งาน ในประเทศไทยมักนิยมใช้ ?ท่อ PVC (Poly Vinyl Chloride ในระบบงานประปา ซึ่งท่อ PVC มีความยืดหยุ่นสูงกว่าท่อเหล็ก และมีอายุการใช้งานนานถึง 20-30 ปี หากอยู่ในที่ร่มโดยไม่โดนแสงแดด นอกจากนี้ยังมีท่อชนิดต่างๆ อาทิ ?ท่อเหล็กเป็นท่อที่แข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรงกระแทก และอุณหภูมิสูง เช่น เครื่องทำน้ำร้อนแต่ถึงแม้จะแข็งแรงทนทาน หากใช้เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดสนิมได้ ?ท่อ HDPE (Poly Ethylene)สำหรับงานประปาจะเป็นท่อสีดำคาดแถบสีฟ้า เป็นท่อที่มีความหนาแน่นค่อนข้างสูง ไม่แตกหักง่าย ขดเป็นม้วนได้ ทนต่อแสง UV มีความลื่นมัน ทำให้น้ำที่ส่งผ่านไปยังท่อมีอัตราการไหลของน้ำที่ดี สะอาด ไม่เป็นสนิม เหมาะกับงานท่อประปาที่นำมาใช้ดื่ม ท่อน้ำประปาในบ้าน มีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 50 ปี?ท่อ PP-R (Polypropylene copolymer random) คุณภาพและความหนาแน่นสูง แสงลอดผ่านไม่ได้จึงไม่เป็นตะไคร่น้ำ มีน้ำหนักเบา และทนต่อการใช้ระบบน้ำร้อนได้ถึง 95 องศาเซลเซียส อายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 50 ปี

โดยการเดินท่อนั้น แบ่งเป็น การเดินท่อแบบลอยตัว มองเห็นได้ชัดเจน ทำให้ซ่อมบำรุงง่าย เมื่อเกิดการรั่วซึม ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจน ซ่อมแซมได้ทันท่วงที และการเดินท่อแบบฝังภายในพื้นหรือผนัง การเดินท่อแบบนี้จะบำรุงรักษาได้ยาก มองไม่เห็นเมื่อเกิดการชำรุดรั่วซึม

Advertisement

ตามท่อในจุดที่มีการใช้น้ำหลักๆ เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ควรติดตั้งวาล์วประตูน้ำขนาดเล็ก ที่ต้องติดตั้งวาล์วประตูน้ำขนาดเล็กก็เพื่อในกรณีที่บริเวณดังกล่าวมีน้ำรั่ว ท่อแตก มีเหตุต้องเปลี่ยนก๊อกน้ำใหม่ ก็สามารถปิดวาล์วนี้เพื่อหยุดการจ่ายน้ำบริเวณนั้นๆ โดยที่บริเวณอื่นของบ้านยังสามารถใช้น้ำได้ตามปกติ

เมื่อเดินท่อประปาเสร็จ ก็ต้องมาถึงการเลือกใช้สุขภัณฑ์ที่จะช่วยประหยัดน้ำ ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตได้ออกผลิตภัณฑ์มากมาย ที่จะช่วยให้ผู้บริโภคได้ลดปริมาณการใช้น้ำ ถ้าสุขภัณฑ์ทุกชนิดในบ้าน เลือกเป็นแบบประหยัดน้ำ จะสามารถช่วยลดปริมาณน้ำใช้ในบ้านได้เป็นอย่างมาก

โดยปกติมาตรฐานน้ำที่ไหลออกจากก๊อกน้ำ จะอยู่ที่ปริมาณ 9 ลิตรต่อนาที แต่ถ้าติดก๊อกน้ำ ซึ่งได้รับฉลากประหยัดน้ำจากการประปานครหลวง (กปน.) ที่มีมาตรฐานเบอร์ 5 เบอร์ 4 และ เบอร์ 3 จะช่วยประหยัดน้ำได้มาก จาก 9 ลิตรต่อนาที จะเหลือเพียง 2 – 6 ลิตรต่อนาที เท่านั้น

Advertisement

หรือเลือกซื้อฝักบัวแรงดันสูง ฝักบัวที่มีขนาดรูน้ำเล็กฝอย จะช่วยประหยัดน้ำได้อีก ทั้งนี้เมื่อใช้ฝักบัวไปสักระยะ ต้องทำความสะอาดเพื่อป้องกันการอุดตัน จากคราบน้ำที่เกาะกลายเป็นตะกอน

สำหรับโถสุขภัณฑ์ เลือกติดตั้งโถสุขภัณฑ์ที่มีระบบกดน้ำแบบ 2 ปุ่มกด (Dual Flush) ปุ่มใช้น้ำมาก จะใช้น้ำประมาณ 4.5 ลิตรต่อการกด 1 ครั้ง ส่วนปุ่มใช้น้ำน้อยจะใช้น้ำประมาณ 3 ลิตร

อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้น้ำต่อคนต่อวัน เมื่อพักอาศัยในบ้านจะอยู่ที่ประมาณ 200 ลิตร สุขภัณฑ์ที่ช่วยประหยัดน้ำ ถือเป็นผู้ช่วยสำคัญ แต่ใส่ใจการใช้น้ำมากขึ้นในทุกกิจกรรมก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น ปิดน้ำระหว่างถูสบู่ สระผม ล้างหน้า แปรงฟัน เมื่อแปรงฟันใช้แก้วรองน้ำเพื่อบ้วนปาก ป้องกันการสูญเสียน้ำโดยสูญเปล่าจากการใช้มือรอง

ปรับเปลี่ยนวิธีล้างจาน จากเดิมที่ชอบเปิดน้ำล้างคราบบนจานก่อน ก็หันมาใช้กระดาษเช็ดคราบ ไม่เปิดน้ำไหลผ่านเพื่อล้างฟองน้ำยางล้างจาน แต่เปิดล้างโดยวางภาชนะรองน้ำเอาไว้ด้วย เพื่อนำน้ำในส่วนนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่นเดียวกับการล้างผัก ผลไม้เช่นกัน แทนที่จะเปิดน้ำไหลผ่านเพื่อล้าง ให้หาภาชนะมารองน้ำ เพื่อนำน้ำจากการล้างผัก ไปใช้รดน้ำต้นไม้ได้เพิ่มเติม

ประหยัดน้ำได้ครบวงจรตั้งแต่การเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยประหยัดน้ำ ใช้ปริมาณน้ำน้อยลงต่อครั้งและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำประจำวันให้เป็นนิสัย เพื่ออนาคตของการมีน้ำใช้อย่างยั่งยืน

https://www.baanlaesuan.com/76465/maintenance/plumbing/plumbing

ttps://www.scgbuildingmaterials.com/th/HomeConsult/Blog/new-home/ระบบน้ำประปาภายในบ้าน-เรื่องสำคัญควรเข้าใจ-ตอน-(1).aspx

https://www.ddproperty.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/2017/9/160250/%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image