พิษสงครามการค้า ‘เหล็กจีน’ ทุบผู้ผลิตไทย

น่าจับตามองว่า อนาคตอุตสาหกรรมเหล็กไทยจะสามารถก้าวผ่านวิกฤติเหล็กจีนท่วมอาเซียนครั้งนี้ไปได้หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับแรงงานในอุตสาหกรรมนับแสนราย
#AEC #China #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

นับเป็นเวลาหลายปีที่มีการพูดถึงกระแสเหล็กจีนไหลบ่าเข้ามาในตลาดอาเซียน แต่ดูปัญหาดังกล่าวจะรุนแรงขึ้นอีกจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งทางสหรัฐประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเหล็กจากจีน ถึง 25% เป็นเหตุให้โรงงานจีนไหลออกมาลงทุนในอาเซียน เพื่อผลิตและส่งออกไปยังสหรัฐฯ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

Advertisement

ย้อนกลับไปดูข้อมูลศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ระบุว่า ในปี 2553 ความต้องการใช้เหล็กในอาเซียนมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 30 ล้านตัน เป็น 78 ล้านตันในปี 2559 และเป็น 82 ล้านตันในปี 2560 หรือเรียกว่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปี และในจำนวนนี้ ประเทศไทยและเวียดนามเป็นประเทศที่มีความต้องการใช้เหล็กมากที่สุดปีละ 20 ล้านตัน ส่วนอินโดนีเซียปีละ 13 ล้านตัน มาเลเซีย 10 ล้านตัน

ด้านการผลิตเหล็กในอาเซียนผลิตได้เพียง 35 ล้านตัน เท่านั้น โดยมี “เวียดนาม” ที่มุ่งมั่นจะยกระดับการผลิตเป็นเบอร์หนึ่งอุตสาหกรรมเหล็กของอาเซียน โดยในปี 2560 ผลิตได้ 11.5 ล้านตัน และมีเป้าหมายจะเพิ่มเป็น 32.3 ล้านตันในปี 2563 นี้

ผลจากการที่เวียดนามได้มีการลงทุนอุตสาหกรรมถลุงเหล็กต้นน้ำในประเทศ โดยบริษัทที่มีชื่อว่า ฟอร์โมซา กรุ๊ป จากไต้หวันร่วมกับเจเอฟอีจากญี่ปุ่น และกลุ่มพอสโกจากเกาหลี

Advertisement

ขณะที่ฝั่งจีนได้มีการขยายการส่งออกเหล็กมายังอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปี จาก 6.5 ล้านตัน เป็น 37 ล้านตัน จากปริมาณเหล็กที่จีนผลิตได้ปีละ 850 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 50% ของโลก โดยเป็นการส่งออกมายังเวียดนามเป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา

ด้วยเหตุนี้หลายประเทศในอาเซียนจึงได้มีการฟ้องร้องและใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าจีน โดยล่าสุดรัฐบาลมาเลเซียเพิ่งพิจารณาเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) เหล็กรีดเย็นชนิดม้วนที่ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า ไม่เจือ ที่มีความกว้าง 1300 มิลลิเมตรจากจีนญี่ปุ่น เกาหลี ใต้และเวียดนาม นับตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2562-24 ธันวาคม 2567 ในอัตราตั้งแต่ 3.84% ไปจนถึง 26.39%

ขณะที่ไทยก็ได้รับผลกระทบจากเหล็กจีนที่ทะลักเข้ามาเช่นกัน โดยผลจากสงครามการค้าทำให้เหล็กจีนทะลักเข้ามาในตลาดในประเทศไทยมากขึ้นผู้ผลิตไทยหลายสินค้า เช่น ท่อเหล็ก และงานแปรรูปเหล็กได้รับความเสียหายต้องลดการใช้กำลังการผลิตลงเหลือเพียง 30-40% ขณะที่เหล็กนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 80% โดยในปี 2561 มีการนำเข้าถึง 2 ล้านตันจากปริมาณความต้องการใช้เหล็ก 19.3 ล้านตัน แต่ไทยผลิตได้เพียง 7.3 ล้านตัน

นี่จึงเป็นเหตุให้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการผู้ผลิตเหล็กในประเทศ ขอร้องต่อกรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ ให้ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (เอดี) กับสินค้าเหล็กนำเข้ามากถึง 14 เคส และมีการใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (เซฟการ์ด) 1 เคส

ด้านอุตสาหกรรมผลิตเหล็กไทยซึ่งมีมูลค่ากว่า 73,000 ล้านบาท กำลังจะกลายเป็นอุตสาหกรรมดาวร่วงที่มีแนวโน้มว่าจะผลิตลดลงเรื่อยๆ ส่งผลให้สมาคมผู้ประกอบการ 7 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการค้าผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี, สมาคมผู้ผลิตท่อโลหะแปรรูปเหล็กแผ่น, สมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน, สมาคมผู้ผลิตเหล็กยาวด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า, สมาคมเหล็กแผ่นนรีดเย็นไทย, สมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย และสมาคมโลหะไทย

โดยได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาล พิจารณากำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศ เพื่อเพิ่มการใช้เหล็กจากผู้ผลิตไทยในโครงการก่อสร้างภาครัฐในประเภทงานที่ไม่ใช่สินค้าเกรดพิเศษที่สามารถใช้สินค้าไทยผลิตได้ เช่น โครงสร้างสถานีราง หรือองค์ประกอบอื่นๆ

อยู่อย่างไร? เมื่อทุนจีนสยายปีกคลุม CLMV

ส่องแนวโน้มการลงทุนประเทศ CLMV

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ
คลิกหรือสายด่วน 1333

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image