โควิด-19 กระตุ้นบริษัทในเอเชียเล็งเห็นความสำคัญ ของการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล

**การปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล คือสิ่งจำเป็น ไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป**

**ธุรกิจในเอเชียเชื่อว่าการรู้จักผู้จัดหาให้กับซัพพลายเออร์ของพวกเขาถือเป็นข้อดี**

ผลการสำรวจล่าสุดของธนาคารเอชเอสบีซีในหัวข้อ HSBC Navigator: Building Back Better ซึ่งสอบถามความเห็นขององค์กรธุรกิจกว่า 1,400 แห่งในเอเชีย เปิดเผยว่า โควิด-19 ทำให้บริษัทต่างๆ ทั่วเอเชียต้องปรับตัวเพื่อความยืดหยุ่นทางธุรกิจอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล (Digitisation)

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกผลักดันให้ธุรกิจต้องทบทวนวิธีการเพิ่มความโปร่งใส (Transparency) และความสามารถด้านการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ให้กับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของพวกเขา วิกฤตการณ์โควิด-19 เผยให้เห็นจุดอ่อนของห่วงโซ่อุปทาน และองค์กรธุรกิจหลายแห่งกำลังปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการสต็อกสินค้าจากเดิมที่ใช้กลยุทธ์การผลิตแบบทันเวลา หรือ Just in Time ไปสู่กลยุทธ์ Just in Case หรือการจัดเก็บและกักตุนสินค้าเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

Advertisement

การระบาดใหญ่ครั้งนี้ทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยที่เลวร้ายที่สุดที่นับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ Great Depression ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา ทีมงานของ Navigator ได้พูดคุยกับองค์กรธุรกิจกว่า 1,400 รายจาก 7 ประเทศเศรษฐกิจหลักในเอเชีย การสำรวจพบว่า บริษัทในเอเชียรู้สึกเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทในเอเชียระบุว่าพวกเขามีการเตรียมความพร้อมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีความพร้อมมากกว่าบริษัทในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งการเตรียมความพร้อมที่ดีกว่านี้จะช่วยให้บริษัทในเอเชียสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงเมื่อวิกฤติด้านสาธารณสุขครั้งนี้คลี่คลายลง

นายสจ๊วต เทต ผู้อำนวยการบริหาร ธุรกิจพาณิชย์ธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า “ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจในเอเชียต่างตระหนักถึงประโยชน์ของการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป ในอดีตที่ผ่านมา บางบริษัทยังลังเลที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ จนกระทั่งโควิด-19 ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการปฏิรูปกระบวนต่างๆ สู่ระบบดิจิทัลสามารถสร้างความยืดหยุ่นและช่วยป้องกันแรงกระทบจากปัจจัยภายนอกได้”

Advertisement

 ก้าวสู่ดิจิทัล

เมื่อพูดถึงรูปแบบการทำงานในอนาคต องค์กรธุรกิจในเอเชียมีความเชื่อมั่นมากกว่าองค์กรธุรกิจในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกว่าการปฏิรูปกระบวนการทำธุรกรรมทางการค้าและการชำระเงินสู่ระบบดิจิทัลจะกลายเป็นมาตรฐานทั่วไปของการดำเนินธุรกิจในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งในส่วนนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีเองก็ได้เป็นผู้นำในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น บล็อกเชน (Blockchain) และ เอพีไอ (API) ในการปฏิรูปกระบวนการทำธุรกรรมทางการค้าและการชำระเงินสู่ระบบดิจิทัล

ลำดับความสำคัญการพัฒนาในอีก 1-2 ปีข้างหน้า

การทบทวนเรื่องห่วงโซ่อุปทาน

นอกเหนือจากการเน้นย้ำถึงประโยชน์ของการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัลแล้ว โควิด-19 ยังแสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานขององค์กรธุรกิจอีกด้วย จากผลสำรวจพบว่า 54% ขององค์กรธุรกิจในเอเชียกล่าวว่าพวกเขาจะเพิ่มความโปร่งใสและความสามารถด้านการตรวจสอบย้อนกลับให้กับห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา ในขณะที่กว่า 1 ใน 3 ขององค์กรธุรกิจในเอเชียกล่าวว่าพวกเขาจะดำเนินการตรวจสอบคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะสามารถเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต

นายเทต ให้ความคิดเห็นว่า “ในขณะที่ธนาคารต่างๆ อาจบอกคุณว่าการรู้จักลูกค้าและลูกค้าของลูกค้าของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญ การสำรวจล่าสุดของเราบอกเราว่า บริษัทต่างๆ เริ่มเข้าใจถึงความสำคัญของการรู้จักซัพพลายเออร์ รวมถึงผู้จัดหาให้กับซัพพลายเออร์ของพวกเขา”

ความยืดหยุ่น และอุปสรรคต่อความยืดหยุ่น

เมื่อให้อธิบายถึงองค์กรธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น บริษัทในเอเชียกล่าวว่าคุณลักษณะ 3 อันดับแรกที่องค์กรธุรกิจต้องมี ได้แก่ ความคล่องตัว (agile) การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (customer-centric) และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ส่วนในแง่ของอุปสรรคสำคัญต่อความยืดหยุ่น บริษัทในเอเชียได้กล่าวถึงปัจจัยทางการเงิน เช่น การมีกระแสเงินสดที่เพียงพอ และการจัดการต้นทุนของเงินทุนหมุนเวียน

นายเทต กล่าวสรุปว่า “โควิด-19 ถือเป็นวิกฤตการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันได้ตั้งตัวในรอบศตวรรษสำหรับหลายบริษัททั่วเอเชีย ความยืดหยุ่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความอยู่รอด หากบริษัทต้องการที่จะอยู่รอดและเจริญเติบโต บริษัทจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับรูปแบบการทำงานให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น หรือการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทาน”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image