“ดิจิทัล เปลี่ยนแปลงประเทศไทย” รมว.ดีอีเอส พุทธิพงษ์เดินหน้า ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 คลี่คลาย

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ท่ามวิกฤติสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 กระทรวงได้ใช้ ดิจิทัลเข้ามาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจัดทำข้อมูลประชาชนเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (People Data for Economy and Society : PDES) โครงการพัฒนา cloud platform เพื่อรองรับ New Normal หลังสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โครงการฝึกอบรมสร้างทักษะด้านดิจิทัล โครงการ Unified Communication Platform โครงการสนับสนุนค่าจัดส่งสินค้าอุปโภคบริโภค และค่าจัดส่ง/จัดซื้อสินค้าที่จำหน่ายในแพลตฟอร์มของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เช่น HYPERLINK

“มีการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยโครงการขยายจุดให้บริการ Free Wi-Fi ในชุมชนเมืองทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์ของโรคโควิด-19 โครงการ “บวร4.0” เพื่อการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้แก่ศาสนสถานในการเป็นศูนย์กลางพัฒนาความเท่าทันในการใช้ดิจิทัล และโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Village Economic Growth)” นายพุทธิพงษ์กล่าว

รมว.ดีอีเอส ยังกล่าวว่า ยังเร่งผลักดันความคืบหน้าการควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เพื่อรับมือการแข่งขันในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตั้งเป้าหมายให้เป็นบริษัทที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารขนาดใหญ่และครอบคลุมทั่วประเทศ  ช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงโครงข่ายการสื่อสารได้ในราคาที่เหมาะสม ตามที่ ครม.มีมติ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ให้ควบรวมให้เสร็จภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ลงมติ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การส่งเอกสารแจ้งลูกหนี้ต่างประเทศล่าช้าจึงจะดำเนินการขอมติ ครม.ในการขยายการควบรวมให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2564 และโครงการที่สนับสนุนนโยบายการพัฒนาสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลไทยแลนด์ ด้วยการเร่งพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service : GDCC) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ (Cloud Infrastructure) เริ่มให้บริการแล้ว มีหน่วยงานส่งคำขอใช้บริการเข้ามา 472 หน่วยงาน 1,570 ระบบ (ประมาณ 24,118 VM) ซึ่งตามแผนได้มีการกำหนดให้บริการหน่วยประมวลผลรวม 32,000 vCPU ภายในปี 2563 ช่วยประหยัดงบประมาณทางด้านไอทีของภาครัฐได้ 30-70% ขณะเดียวกันข้อมูลที่สำคัญของประเทศจะถูกจัดเก็บอยู่ภายในประเทศไทยและสามารถเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐให้กลายเป็นบิ๊ก ดาต้า ภาครัฐเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการให้บริการประชาชนได้

“ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลด้านกฎหมาย ปัจจุบันได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมายลูก โดยมีการรับฟังความเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนหลายภาคส่วน เพื่อสร้างความโปร่งใสในการดำเนินการและให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง อีกทั้งยกระดับประสิทธิภาพการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล”นายพุทธิพงษ์กล่าว

Advertisement

นายพุทธิพงษ์ ยังกล่าวว่า ได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ โดยดำเนินการคืบหน้าไปแล้วในหลายเรื่องและอยู่ระหว่างการเสนอรายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อพิจารณานำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อมีคำสั่งแต่งตั้ง อีกทั้งอยู่ระหว่างการเสนอ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเรื่องหลักเกณฑ์การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติต่อคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเพื่อลงนามและประกาศใช้ต่อไป

“และด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของ ตนเองเร่งผลักดันให้ 2 รัฐวิสาหกิจ “ทีโอที” และ “กสท โทรคมนาคม” ประมูล 5G เพราะต้องการให้รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ให้บริการแก่สังคมกับประชาชนได้เข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ โดยกระทรวงดีอีเอส ได้จัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย เพื่อมีแนวทางมาตรการและกลไกในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G สู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างเต็มที่ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก“ นายพุทธิพงษ์กล่าวทิ้งท้าย

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image