“ทูตอียู” เยือนเชียงราย สร้างความเชื่อมั่น “ไทย-ยุโรป” พร้อมชื่นชมไทยรับมือ โควิด-19

เมื่อวันที่  17-18 สิงหาคม 2563 ฯพณฯ เปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจําประเทศไทยพร้อมด้วย นางโอลก้า ตาปิโอลา (ภรรยา) ได้เดินทางมาเยือนจังหวัดเชียงรายอย่างเป็นทางการ เพื่อรับทราบข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบันของจังหวัดเชียงรายและภาคเหนือของประเทศไทย รวมถึงติดตามความคืบหน้าของ “โครงการฟื้นฟูความเสียหายจากการระบาดของ โควิด-19”

โครงการนี้ ถือได้ว่าเป็นโครงการระดับประเทศ ที่ทำงานภายใต้การดูแลของทีมยุโรป เกี่ยวกับการรับมือและฟื้นฟูความเสียหายจากการระบาดของ โควิด-19 ด้วยงบประมาณ 2.6 ล้านยูโร หรือราว 90 ล้านบาท โดยดูแลใน 3 ด้านหลัก คือ การให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ครัวเรือน การฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคม และการสร้างความสามารถในการยืดหยุ่นของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตของโควิด -19 ดำเนินงานโดยมูลนิธิแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย ร่วมมือกับมูลนิธิชุมชนไท มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (HOMENET) และมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) ซึ่งปัจจุบันครอบคลุม 38 จังหวัดของประเทศไทย

เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ยังได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ของจังหวัดเชียงราย อาทิ เยี่ยมชมสถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง, เยี่ยมชมไร่กาแฟและแมคคาเดเมีย ไซต์ที่ 1 ของบริษัทนวุติ, เยี่ยมชมศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานฝีมือดอยตุง และเข้าร่วมรับฟังโครงการรับมือและฟื้นฟูผลกระทบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของอุตสาหกรรมชาและกาแฟ ที่สร้างผลกระทบในทางบวกแก่การพัฒนาภาคเศรษฐกิจและสังคมในภาคเหนือของประเทศไทย ณ โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดําริเปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตฯ ได้กล่าวในที่ประชุมเกี่ยวกับการรับมือและฟื้นฟูผลกระทบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า “การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักแก่ผู้คนนับล้านทั่วโลก และยังเป็นวิกฤตการณ์ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างอย่างไม่มีใครคาดคิด โครงการรับมือและฟื้นฟูผลกระทบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยของสหภาพยุโรปนั้นมีเป้าหมายที่จะช่วยฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน การฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคม และการสร้างความสามารถในการยืดหยุ่นของชุมชน โดยเรามุ่งหวังให้ชุมชนเหล่านี้สามารถกลับมาพึ่งพาตนเองได้อย่างรวดเร็วที่สุด และมีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต”

นอกจากนี้ เอกอัครราชทูต เปียร์ก้า ตาปิโอลา ยังได้กล่าวชื่นชมประเทศไทยว่า ในการป้องกัน โควิด-19 ประเทศไทยทำในส่วนนี้ได้มีมาก ซึ่งถ้าดูยอดผู้ติดเชื้อในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยแทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย ในขณะที่การรับมือของทั่วโลกนั้นตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนรักษา ทำให้ส่งผลกระทบต่อทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ โดยสิ่งที่รัฐบาลแต่ละประเทศต้องทำ คือ การเร่งสร้างสมดุลให้คนปลอดภัยในชีวิตและมีอาชีพการงานทำที่ดีได้ ภายใต้ 3 แนวทาง คือ การตอบสนองเฉพาะหน้า การสร้างระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง และสามารถประคับประคองเศรษฐกิจให้เดินต่อไปได้

Advertisement

“การท่องเที่ยว ถือได้ว่าเป็นรายได้หลักของประเทศไทยมากถึง 18 % ปัจจุบันคนเดินทางน้อยลงมากเนื่องจากการปิดประเทศ ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดังนั้นเราจึงต้องเร่งหาทางแก้ปัญหานี้โดยด่วน เพราะภาคการท่องเที่ยวถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสร้างรายหลักได้ให้กับชุมชน ในการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำตลาดออนไลน์ต่างๆ ให้กับชุมชน ซึ่งโครงการให้เราก็หวังว่าความช่วยเหลือนี้จะสามารถเข้าถึงกลุ่มแรงงานนอกระบบได้ประมาณ 2,000 กว่าคน และขอให้ทุกคนที่อยู่ในโครงการรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของ เพื่อนำไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจให้กับเทศบาลอื่นๆ ให้หันมาทำงานในแนวทางเดียวกัน ซึ่งจะสามารถเข้าถึงแรงงานนอกระบบเพิ่มได้มากกว่า 17,000 คน โดยครึ่งหนึ่งเป็นผู้หญิง”เอกอัครราชทูต กล่าวทิ้งท้าย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image