‘มจพ.’ โชว์เจ๋ง! พัฒนายานใต้น้ำไร้คนขับ (UUV) มอบให้การประปานครหลวง

วันที่ 30 ตุลาคม 2563 เวลา 10.30 น. ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นตัวแทนในพิธีส่งมอบ “ยานใต้น้ำไร้คนขับ (UUV)” แก่ การประปานครหลวง โดยมี คุณสุทิสา นาคเสน ผู้เชี่ยวชาญการประปานครหลวงระดับ 10 การประปานครหลวง เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องประชุม ชั้น 9 สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มจพ.)

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ สุชาติ เซี่ยงฉิน

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า “โครงการวิจัยและพัฒนายานใต้น้ำไร้คนขับ (UUV) เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยนักวิจัยของ มจพ. เองได้นำองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงส่งเสริมศักยภาพของบุคลากร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงแก่นักศึกษาในอนาคต ซึ่งเป็นนโยบายหลักของ มจพ. และหวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของวงการเทคโนโลยี นวัตกรรม และอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย

พิธีส่งมอบยานใต้น้ำไร้คนขับ (UUV) แก่การประปานครหลวงมจพ. มีบุคลากรที่มีความสามารถอีกหลากหลายสาขาวิชา ที่พร้อมจะนำองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดให้นักศึกษามาช่วยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดแก่ทุกหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง นักศึกษา และท้ายที่สุดคือประชาชนที่จะได้รับผลประโยชน์ต่อไปในวงกว้าง”

คุณสุทิสา นาคเสน

คุณสุทิสา นาคเสน ผู้เชี่ยวชาญการประปานครหลวงระดับ 10 การประปานครหลวง กล่าวถึงความร่วมมือกับ มจพ. ครั้งนี้ว่า “ปัจจุบันเกิดการสูญเสียน้ำประปาประมาณ 30% ของน้ำประปาที่ผลิตได้ นับเป็นมูลค่าสูงมาก การสูญเสียนี้เกิดจากการรั่วของท่อส่งน้ำประปา ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ การตรวจหาตำแหน่งรอยรั่วเพื่อการซ่อมแซม จะสามารถลดการสูญเสียของน้ำประปาได้ ทั้งนี้ การประปานครหลวงจึงผสานความร่วมมือกับ มจพ. ในการพัฒนายานใต้น้ำไร้คนขับ (UUV) เพื่อตรวจหาการรั่วของท่อน้ำ ซึ่งโดยปกติแล้วหากท่ออยู่บนพื้นดิน สามารถใช้วิธีตรวจสอบแบบพินิจ (Visual Inspection) ได้ ซึ่งเป็นวิธีตรวจสอบพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แต่ท่อน้ำประปาส่วนใหญ่ถูกฝังอยู่ใต้พื้นดิน ทำให้การตรวจสอบพินิจจากด้านนอกท่อไม่สามารถทำได้

Advertisement

โดยปกติการสำรวจท่อประปาประธานต้องได้รับการสนับสนุนจากนักประดาน้ำในการปฏิบัติการสำรวจรอยแตกของท่อ และด้วยขนาดของท่อประปาประธานที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 60 – 120 เซนติเมตร ทำให้การปฏิบัติการสำรวจรอยรั่วของท่อประปาประธานเป็นไปได้อย่างยากลำบาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบพัฒนายานใต้น้ำ เพื่อตรวจสอบแบบพินิจจากด้านในของท่อในการหาจุดรั่วของท่อส่งน้ำประปา และระบุตำแหน่งที่จะทำการซ่อมท่อได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ”ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รามิล เกศวรกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รามิล เกศวรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยครั้งนี้ว่า “งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ออกแบบและสร้างยานใต้น้ำที่สามารถตรวจสอบและระบุตำแหน่งการแตกรั่วของท่อประปาประธาน โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางหุ่นยนต์มาใช้ในการตรวจสอบ และประเมินความเสียหายภายในท่อหรือในบริเวณที่การสำรวจยากจะเข้าถึง โดยต้องคำนึงถึงขนาดของยานใต้น้ำไร้คนขับให้สามารถนำเข้า-ออกจากระบบท่อ และสามารถใช้งานตรวจสอบท่อประปา ขนาดทางเข้าเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป ขณะลงสำรวจและใช้งานในท่อแอร์วาล์ว   (Air Valve) ต้องดำเนินการในสภาวะการส่งจ่ายน้ำ และแรงดันที่ทางการประปานครหลวงดำเนินการอยู่ โดยไม่กระทบกับการส่งจ่ายน้ำแต่อย่างใด เพื่อให้ประชาชนยังสามารถใช้น้ำประปาได้อย่างสะดวกต่อไปชุดควบคุมภาคพื้นดิน (Ground Controller)

ยานใต้น้ำไร้คนขับ (UUV)

วิธีการควบคุมยานใต้น้ำไร้คนขับ (UUV) เพื่อตรวจสอบการแตกรั่วของท่อประปาประธาน จะทำการควบคุมผ่านชุดควบคุมภาคพื้นดิน ส่วนการควบคุมยานใต้น้ำจะควบคุมผ่านเซ็นเซอร์ที่อยู่บริเวณรอบยานใต้น้ำ โดยเซ็นเซอร์ทุกตำแหน่งมีหน้าที่ควบคุมเสถียรภาพของยานใต้น้ำให้อยู่กลางท่อประปาประธานในระหว่างการปฏิบัติงาน มีกล้องสำหรับบันทึกภาพและไฟ LED ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของยานใต้น้ำ เพื่อให้ความสว่างขณะปฏิบัติการสำรวจท่อประปาประธานมีสายเคเบิลอยู่บริเวณด้านท้ายของยานใต้น้ำ เพื่อควบคุมและสั่งการจากชุดควบคุมภาคพื้นดิน ที่แสดงผลของภาพที่ได้จากกล้องที่ติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของตัวยานใต้น้ำ รวมถึงควบคุมระดับและทิศทางการเคลื่อนที่ของยานใต้น้ำได้ผ่านชุดควบคุมภาคพื้นดิน”พิธีส่งมอบยานใต้น้ำไร้คนขับ (UUV) แก่การประปานครหลวง

Advertisement

 

             

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image