พช.ศรีสะเกษ นุ่งผ้าไทยใส่บาตร สร้างการรับรู้ผ้าทอแบรนด์ศรีสะเกษ ฉลองเดือนแห่งความรักด้วย ยอดจำหน่าย OTOP พุ่ง เช้าเดียวเกือบแสนบาท

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 06.30 น. นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัด นำหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนร่วมกิจกรรมโดยนุ่งผ้าไทย ใส่บาตร เพื่อส่งเสริมให้ส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน และส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง ประชาชนมีรายได้ จาการขายสินค้าชุมชน/สินค้า OTOP และสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอ ประธานชมรมพัฒนากร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จังหวัด/อำเภอ ร่วมกิจกรรมนุ่งผ้าไทยทำบุญใส่บาตร ทำความดี วิถีพอเพียง ณ ลานโคปุระ เกาะกลางน้ำห้วยน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษทุกคนได้ร่วมกันทำบุญ เสริมสร้างจริยธรรมข้าราชการ และที่สำคัญเป็นการสร้างการรับรู้ผ้าทอแบรนด์ศรีสะเกษ เป็นการอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน และสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สร้างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้เข้มแข็ง สมดั่งเป็น “ศรีสะเกษธานีผ้าศรี…แส่ว”

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผ้าทออัตลักษณ์ศรีสะเกษ “ผ้าทอเบญจศรี” ผ้าแบรนด์ศรีสะเกษ ภายใต้แนวคิด “ศรีสะเกษ ธานีผ้าศรี…แส่ว” ซึ่งเป็นวาระสำคัญของจังหวัด ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานของรัฐในการร่วมโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทย อันเป็นศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และให้ชาวโลกได้ชื่นชม

Advertisement

อีกทั้ง เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทย แก่ประชาชนทั่วประเทศ และยังสนับสนุน ส่งเสริม การสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้า มาสืบสาน รักษา ต่อยอด โดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่ที่เป็นที่รู้จัก 5 ชนิด ได้แก่ ดินปลูกทุเรียนภูเขา ดินทุ่งกุลาร้องไห้ เปลือกไม้มะดันป่า ใบลำดวน และผลมะเกลือ นำมาย้อมผ้าได้เป็นผ้าทอ 5 ชนิด ได้แก่ ผ้าศรีลาวา ผ้าศรีกุลา ผ้าศรีมะดัน ผ้าศรีลำดวน และผ้าศรีมะเกลือซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวศรีสะเกษ นำมาตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกาย โดยใช้การแส่วผ้าซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการต่อผ้าสองชิ้นเข้าด้วยกัน แส่วด้วยลายโบราณ เช่น ลายหางสิงห์ ลายตีนตะขาบ ลายขามดแดง ต่อมามีการพัฒนาลายแส่วประยุกต์เพิ่มประดับให้มีความสวยงาม เช่น ลายเชิงเทียน ลายดอกไม้ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าทอ เป็นการส่งเสริมให้ช่างทอช่างแส่ว และกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มีรายได้จากการย้อม ทอ แส่ว และแปรรูป จากผ้าแบรนด์ศรีสะเกษ เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้

และการจัดกิจกรรมนุ่งผ้าไทยใส่บาตร ทำความดีวิถีพอเพียง ที่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันอังคาร ซึ่งเริ่มดำเนินการจัดกิจกรรมครั้งแรกตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 นับว่าเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้ชาวจังหวัดศรีสะเกษได้สวมใส่ผ้าไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้ใช้และสวมใส่ผ้าไทยทุกวันอังคารและวันศุกร์ จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายอีกทางหนึ่ง และลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม

Advertisement

ภายในงานผู้ประกอบการ OTOP ได้ร่วมกันออกบูธจำหน่ายสินค้า OTOP และสินค้าชุมชน ในกิจกรรมนุ่งผ้าไทยใส่บาตรฯ สร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP ภายในงานฯ ประจำวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 มียอดจำหน่าย 96,510 บาท

ทั้งนี้ กิจกรรมนุ่งผ้าไทยใส่บาตร ทำความดีวิถีพอเพียง ที่ดำเนินการจัดกิจกรรม ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2564 มียอดจำหน่ายสะสม 3,559,460 บาท

“อะไรๆ ก็ดีที่ศรีสะเกษ”

#OTOPศรีสะเกษ #ผ้าทอแบรนด์ศรีสะเกษ #ศรีสะเกษธานีผ้าศรีแส่ว #อะไรอะไรก็ดที่ศรีสะเกษ #Cddsisaket

พัฒนาชุมชนศรีสะเกษ : นครแห่งความสุข

กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน : รายงานยอดจำหน่าย OTOP

กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงานข่าว

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image