เป๊ปซี่โค ยกระดับเกษตรกรเน้นปฏิรูปเกษตรกรจัดหาวัตุดิบหลัก 100%

เป๊ปซี่โค เตรียมกระจายแนวทางการทำการเกษตรเชิงปฏิรูปกว่า 17 ล้านไร่ทั่วโลก ในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือ ในปี พ.ศ. 2573 มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นต์อย่างน้อย 3 ล้านตัน ยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรและคนในชุมชนกว่า 250,000 คน และจัดหาวัตถุดิบหลัก 100% จากแหล่งที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและยั่งยืน

เรมอน ลากัวร์ตา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานบริษัทเป๊ปซี่โค กล่าวว่า “บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาที่ท้าทายในระบบอาหารสมัยใหม่ นับแต่ความเปลี่ยนแปลทางสภาพภูมิอากาศรวมถึงการขาดแคลนทรัพยากร อีกทั้งความเลื่อมล้ำทางด้านรายได้ โดยในวาระเกษตรกรรมเชิงบวก เป๊ปซี่โคเน้นความสำคัญในด้านการลงทุน นวัตกรรมและความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับพันธมิตรทางการเกษตรของเรา เพื่อช่วยลดผลกระทบทั่วโลก และการทำงานร่วมกัน ตั้งเป้าสามารถช่วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการจัดการด้านการขาดแคลนทรัพยากร พร้อมมองโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับผู้คนจำนวนมากขึ้น”

Advertisement

วาระเกษตรกรรมเชิงบวกของเป๊ปซี่โคมุ่งเน้นจุดมุ่งหมายเพื่อหาแหล่งพืชและวัตถุดิบในลักษณะที่เร่งการปฏิรูปการเกษตรและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเกษตรกรรมโดย:

การขยายการยอมรับแนวทางการทำการปฏิรูปเกษตรในกว่า 17 ล้านไร่ทั่วโลก – หรือเท่ากับที่ดินทั้งหมดที่ใช้ในการปลูกพืชและวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อย 3 ล้านตันภายในปี พ.ศ. 2573 กว่าทศวรรษที่ผ่านมา เป๊ปซี่โคได้พัฒนาโครงการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน โดยยังคงร่วมมือกับเกษตรกรกว่า 60 ประเทศ โดยนำแนวปฏิบัติด้านการเกษตรกรรมเชิงปฏิรูปไปใช้ สร้างความยืดหยุ่นและฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา เป๊ปซี่โคได้ทำงานร่วมกันกับเกษตรกร ปลูกพืชคลุมดินบนพื้นที่กว่า 210,050 ไร่ และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มลดลงถึง 38% แระยังกักเก็บคาร์บอนในดิน[1] บริษัทฯ

[1] สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเป๊ปซี่โคนั้น บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามกรอบ GHG Protocol ซึ่งการกักเก็บใด ๆ จะแยกออกจากขอบเขตการปล่อยทั้งสามแบบ

Advertisement

เตรียมขยายโครงการเกษตรเชิงปฏิรูปไปยังพื้นที่เพาะปลูกในสหรัฐฯมากกว่า 1,265,000 ไร่ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2564 และจะยังคงขยายเครือข่ายฟาร์มสาธิตไปทั่วโลก เพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันได้

  • พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนมากกว่า 250,000 คนในห่วงโซ่อุปของการเกษตรและชุมชน รวมถึงศักยภาพในเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้หญิงทั่วโลก ตั้งเป้าร่วมกับการทำงานกับชุมชนเกษตรกรรมที่เปราะบางเพื่อเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก รวมถึงเกษตรกรรายย่อยและคนงานในฟาร์ม ผู้หญิงและเกษตรกรชนกลุ่มน้อย
  • จัดหาวัตถุดิบหลัก 100% อย่างยั่งยืน ไม่ได้หมายถึงพืชที่มาจากแหล่งโดยตรง (มันฝรั่ง ข้าวโพดทั้งเมล็ด ข้าวโอ๊ต และส้ม) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงพืชหลักจากบุคคลที่สาม เช่น น้ำมันพืชและธัญพืช เป๊ปซี่โคจัดหาพืชผลใน 60 ประเทศและสนับสนุนงานในห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรกว่า 100,000 ตำแหน่ง

ณ สิ้นปี พ.ศ. 2563 เป๊ปซี่โคได้จัดหาพืชที่มาจากแหล่งโดยตรงได้ถึง 100% จาก 28 ประเทศ และในทั่วโลก เกือบ 87% ของพืชผลที่ได้มาจากโครงการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนของเป๊ปซี่โค ตัวอย่างเช่น ส้ม 100% ของแบรนด์ Tropicana ใช้ มาจากผู้ปลูกในรัฐฟลอริดาที่มีแหล่งที่มาอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับ 100% ของมันฝรั่งและข้าวโอ๊ตสำหรับ Lay’s และ Quaker ในอเมริกาเหนือตามลำดับ

เป๊ปซี่โคพร้อมสนับสนุนกำหนดมาตรฐานรวมถึงการวัดผลการเกษตรแบบปฏิรูปทั่วทั้งอุตสาหกรรม วัดความก้าวหน้าในกรณีที่ไม่ได้มาตรฐานจากการติดตามจากขนาดของพื้นที่และผู้คนที่มีส่วนร่วม จนเมื่อเวลาผ่านไปผลกระทบที่มีต่อผลลัพธ์หลัก 5 ประการ อาทิ การสร้างสุขภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน การแยกและลดการปล่อยคาร์บอน เสริมสร้างความสมบูรณ์ของลุ่มน้ำและการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกร PepsiCo ทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำและองค์กรอื่นๆ เช่น World Wildlife Fund (WWF) ในการเปิดตัวแนวคิด Food Innovation Hubs เพื่อพัฒนาระบบอาหารในท้องถิ่นที่ครอบคลุม ที่มีประสิทธิภาพยั่งยืนและมีคุณค่าทางโภชนาการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของระบบการทำการเกษตรแบบปฏิรูปและยืดหยุ่น

“ตลอดระยะเวลามากกว่า 25 ปี เป๊ปซี่โคเริ่มต้นทำจากธุรกิจและส่งเสริมเกษตรกรไทยทำการเพาะปลูกมันฝรั่ง ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบเลย์ โดยรับซื้อการปลูกมันฝรั่งผ่านระบบเกษตรพันธสัญญา โดยมีทีมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ได้เข้าไปให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการเพาะปลูก เช่น การป้องกันโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การวางแผนการใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม ลดการใช้เชื้อเพลิง และ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ” สุดิปโต โมซุมดา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอาหารอินโดจีน บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าว “บริษัทฯ ให้ความสำคัญระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยยึดตามนโยบายของบริษัท ‘ผลงานดี สำนึกดี’ และหนึ่งในพันธกิจนั้นคือการปรับปรุงบำรุงดิน ที่เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ เรามีผู้เชี่ยวชาญการเกษตรที่ทำการวิเคราะห์ดิน มากกว่า 90% ของผู้ที่เพาะปลูก ปัจจุบันเกษตรกรได้ปรับนำเทคโนโลยีและพัฒนาความรู้ในการเกษตรมาใช้ ลดการใช้และดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้เกษตรกรมีความสำเร็จมากยิ่งขึ้น มีผลผลิตและรายได้ที่สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอันเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาชีพในระยะยาว” วาระเกษตรกรรมเชิงบวกเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะเพิ่ม เป้าหมายด้านสภาพอากาศตามหลักวิทยาศาสตร์เป็นสองเท่า โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสมบูรณ์ในห่วงโซ่คุณค่าให้ได้มากกว่า 40% ภายในปี พ.ศ. 2573 เช่นเดียวกับการให้คำมั่นที่จะบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2583

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image