เครือพริ้นซิเพิลเฮลท์แคร์จับมือพันธมิตร เปิดรพ.สนามบางนาตราด รับผู้ป่วยสค.นี้

จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบที่ 3 ที่ประสบปัญหาผู้ป่วยล้น จนเตียงในโรงพยาบาลทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ รับผู้ป่วยเต็มหมด ซึ่งภาครัฐก็ได้เร่งจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และได้พยายามขยายงานในการให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการดูแลรักษาได้เร็วขึ้น

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาปัญหาที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จึงได้จับมือกับภาคเอกชนและมูลนิธิ เพื่อก่อตั้งโครงการโรงพยาบาลสนาม ที่ได้มาตรฐานตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอีกหลายหน่วยงาน

ผู้ร่วมก่อตั้งโรงพยาบาลสนาม ได้แก่ โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์, MQDC, อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค, ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล  และมูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์, มูลนิธิพุทธรักษา

Advertisement

โดยแต่ละภาคีเครือข่ายได้ร่วมมือกันด้านการก่อสร้าง ด้านระบบปรับอากาศ การบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยขั้นสูงสุดของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดในศูนย์ และสภาพแวดล้อมโดยรวม และด้านการจัดส่งทีมแพทย์และพยาบาล เพื่อการดูแลรักษา และสาธารณสุขให้กับผู้ป่วย

ด้านมูลนิธิที่เข้ามาร่วมเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ได้แก่ มูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์ และมูลนิธิพุทธรักษา จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนต่อไป

โรงพยาบาลสนามดังกล่าว ตั้งอยู่ที่ซอยวัดปลัดเปรียง ถนนบางนาตราด กม.5 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยตัวโรงพยาบาลจะเป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ ติดระบบปรับอากาศ และระบบการระบายอากาศ ที่ปลอดภัยทั้งภายในโรงพยาบาล และภายนอก จำนวน 6 เต็นท์ผู้ป่วย รวม 450 เตียง โดยจะรับผู้ป่วยสีเขียว และสีเหลืองอ่อน และมีโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ รองรับสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเปลี่ยนเป็นหนักขึ้น โดยโรงพยาบาลได้ขยายห้องผู้ป่วย ICU เพิ่มเติม สำหรับผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสนาม

นพ.อธิวัฒน์ น้อยประสิทธิ์ Chief Performance Coach, Risk and Quality Officer บริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ  กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม “ถือเป็นครั้งแรกที่ภาคเอกชนโดยโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ในเครือบริษัทพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ได้ร่วมมือกับทาง MQDC, อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค, ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล  และมูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์, มูลนิธิพุทธรักษา  ได้ร่วมมือกัน โดยมีเทศบาลตำบลบางแก้ว และทางจังหวัดสมุทรปราการ ให้การสนับสนุนตามข้อกำหนดทางภาครัฐในการจัดตั้ง โรงพยาบาลสนาม แห่งนี้ขึ้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่หนึ่ง

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ตั้งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลสนาม เพียง 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไม่ถึง 10 นาที และเรามีการสนับสนุนบุคลากรการแพทย์จากโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ อีก 11 สาขาร่วมมือด้วย ทั้งด้านเครื่องมือและบุคลากรการแพทย์เพื่อรับมือสถานการณ์การระบาด โดยเราติดตามอาการของคนไข้ผ่านระบบ TeleHealth อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่โรงพยาบาลในปัจจุบันใกล้เต็มศักยภาพการรองรับ เช่นเดียวกับฮอสพิเทล (Hospitel) 3 แห่งอีกรวม 400 เตียงที่มีอัตราครองเตียงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ตลอดเวลา และยังมีการพักรักษาตัวโดยแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ตามเกณฑ์ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง(สีเขียว) อีกหลายร้อยคน

การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม โดยความร่วมมือภาคเอกชนเป็นแห่งแรก และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการช่วยชุมชนสังคมในและนอกพื้นที่แล้ว ยังเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และทำให้การตรวจค้นหาเชิงรุกของโรงพยาบาลเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ในการแยกผู้ป่วยไม่มีอาการ หรืออาการน้อยออกมารักษาที่โรงพยาบาลสนาม หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือทรุดลงจะดำเนินการรับตัวเข้ามารักษาในโรงพยาบาลทันที ซึ่งทางโรงพยาบาลได้มีการลงทุนขยายห้องผู้ป่วย ICU เพิ่มขึ้นอีก 60 ห้อง รวมเป็น 85 ห้อง ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการรองรับการขยายโรงพยาบาลสนามในกรณีที่ผู้ป่วยอาการทรุดลง และต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จะสามารถดูแลรักษาและรองรับผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที”

นายวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า “ในด้านการก่อสร้างลักษณะของอาคารเป็นโครงสร้างประกอบ เพื่อทำให้สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว  ภายในจะมีการเพิ่มความปลอดภัยด้านสุขภาพ ทั้งของผู้ป่วย และบุคลากรสนับสนุนในโรงพยาบาลสนาม     อาทิ ใช้สีแบ่งโซนการใช้งานอย่างชัดเจน   เช่น โซนแดง คือโซนผู้ป่วย โซนเขียว โซนปลอดภัย สำหรับกลุ่มบุคลากร ในช่วงพักผ่อน  พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากบริษัทก่อสร้างชั้นนำที่ได้มาตรฐาน จำนวน 8 บริษัทที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเรา อาทิ สี่พระยาก่อสร้าง วิศวภัทร์   เป็นต้น  การแบ่งพื้นที่ใช้สอยหลักเพื่อรองรับผู้ป่วยจำนวน   450 เตียง แบ่งเป็นผู้ป่วยชาย 225 ผู้ป่วยหญิง 225   เน้นรับผู้ป่วยสีเขียวเป็นหลัก  และได้แบ่งพื้นที่ ไว้รองรับสำหรับผู้ป่วยระดับสีเหลืองอ่อน  จำนวน  20 เตียง พร้อมทั้งอุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ระบบ oxygen ได้จัดเครื่องช่วยหายใจ  (Highflow)   ไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก และ มีอาการเชื้อลงปอด

รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จัดให้มีหุ่นยนต์ส่งของ “ปิ่นโต” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลต่างๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดนี้ จำนวน 12 ตัว ทำหน้าที่รับส่งยา อาหาร เครื่องดื่ม และพัสดุจำเป็นใดๆแก่ผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

นอกจากนี้ ยังได้นำระบบการสื่อสารทางไกล ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย “ไข่ต้ม Hospital”  ซึ่งเป็นระบบ telemedicine ที่พัฒนาโดยบริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น มาช่วยในการสื่อสารและติดตามอาการผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงของบุคคลากร ประหยัดการใช้อุปกรณ์ป้องกันและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่

ทาง MQDC ต้องขอขอบคุณโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ และผู้ร่วมก่อตั้งทุกภาคี รวมถึงทางภาครัฐ คือ เทศบาลตำบาลบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ให้โอกาสเราได้ร่วมทำโครงการนี้ครับ”

นายเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด กล่าวว่า “ถือเป็นโอกาสอันดีของกลุ่มบริษัทอีอีซี พนักงาน และครอบครัวทุกคน ที่ได้มีโอกาสร่วมกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามนี้ โดย อีอีซี ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการในการออกแบบสถานพยาบาลมากกว่า 40 ปี ได้จัดเตรียมโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ให้มีมาตรฐาน และป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อทางอากาศ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์อย่างดีที่สุด

ทั้งนี้ โถงผู้ป่วยจัดให้มีระบบปรับอากาศ ที่จ่ายลมเย็นที่เป็นอากาศที่ผ่านการกรองอากาศจากภายนอก 100% หรือ All fresh air โดยอากาศที่จ่ายให้ผู้ป่วยทุกคนมาจากภายนอกอาคารนำมาผ่านการกรองให้สะอาดและทำให้เย็น การจ่ายความเย็นจะจ่ายที่เตียงผู้ป่วยแต่ละเตียงโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมความสะอาดและทิศทางการไหลของอากาศจากปลายเตียงและถูกดูดออกด้วยพัดลมระบายอากาศที่หัวเตียง ดังนั้นอากาศที่ผู้ป่วยแต่ละเตียงได้รับจะไม่ใช่อากาศหมุนเวียนมาจากพื้นที่อื่นๆภายในอาคาร

ความดันอากาศของโรงพยาบาลได้ออกแบบให้มีความดันเป็นลบเพื่อป้องกันเชื้อไม่ให้แพร่กระจายไปพื้นที่โดยรอบ อากาศก่อนปล่อยออกภายนอกอาคารจะถูกกรองผ่าน HEPA filter ซึ่งมีประสิทธิภาพการกรอง 99.9% และฆ่าเชื้อด้วย UVGI และปล่อยออกที่ระดับสูงเหนือลมขึ้นไป

ทิศทางการไหลของอากาศและความดันอากาศแต่ละพื้นที่ได้ถูกออกแบบวางผังเพื่อแยกส่วนพื้นที่อากาศสะอาดและอากาศปนเปื้อนออกจากกัน ทั้งนี้เพื่อดูแลให้บุคลากรด่านหน้าของเรามีความปลอดภัยสูงสุดครับ”

นายเอกศิษฐ์ เฉลิมรัฐวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายผลิตและฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ทีแอนด์บีฯ และบริษัทในเครือ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในครั้งนี้

ด้วยจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ทำให้จำนวนเตียงในโรงพยาบาลมีไม่เพียงพอต่อการรองรับ การสร้างโรงพยาบาลสนามจึงเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้

อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาพยายาลของประชาชนและสนับสนุนการดำเนินการขยายโรงพยาบาลสนามซึ่งทางภาครัฐกำลังเร่งจัดตั้ง โดยเครือข่ายพันธมิตรที่ร่วมกันปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้อย่าง โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์, MQDC, อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค, มูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์, มูลนิธิอริยวรารมย์ และมูลนิธิพุทธรักษา ต่างร่วมมือกันในการทำให้งานนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการระดมทุน ดำเนินงานจัดสร้างและตั้งระบบต่างๆ และอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด

โรงพยาบาลสนามแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนแสงแห่งความหวังซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของภาคเอกชน ที่อาสาเป็นอีกแรงหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนคนไทย และแบ่งเบาภาระหน้าที่ของทางภาครัฐ เพื่อให้ประเทศไทยฝ่าวิกฤตของผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปด้วยกันให้ได้ทุกภาคส่วน”

โรงพยาบาลสนาม จะเปิดรับผู้ป่วยในเดือนสิงหาคมนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และการดำเนินการ สำหรับช่องทางการติดต่อจะแจ้งให้ทราบทางสื่อต่อไป

นายกเทศมนตรีเมืองบางแก้ว นายณัฐพงศ์ แตงสุวรรณ พร้อมทั้งผู้บริหารจากภาคีเครื่อข่าย ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลสนาม เยี่ยมชมความคืบหน้าของโครงการ

นายกเทศมนตรีเมืองบางแก้ว นายณัฐพงศ์ แตงสุวรรณ พร้อมทั้งผู้บริหารจากภาคีเครื่อข่าย ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลสนาม เยี่ยมชมความคืบหน้าของโครงการ

เกี่ยวกับ กลุ่มพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด (PRINC)

 บริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัดในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC ผู้ดำเนินธุรกิจการจัดการโรงพยาบาลที่มีเครือข่ายโรงพยาบาลที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2559 ภายใต้ปรัชญา  “เพื่อช่วยเหลือ คน ชุมชน และสังคม คือ หัวใจที่สำคัญที่สุด สำหรับเรา” เครือรพ.พริ้นซ์ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนกว่า 11 แห่งทั่วประเทศและคลินิกชุมชนอบอุ่น 13 แห่งในกรุงเทพฯ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทีมแพทย์และทีมสนับสนุนที่มีศักยภาพ รวมถึงคณะผู้บริหารที่มีศักยภาพและมากด้วยประสบการณ์

เรามุ่งมั่นพัฒนาระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วยพันธมิตรทางธุรกิจและเราเป็นผู้นำด้านทักษะการบริหารจัดการโรงพยาบาล และดูแลเกี่ยวกับระบบซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้ในการบริหารจัดการงานโรงพยาบาล ตอบโจทย์ด้านการดูแลสุขภาพได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนพร้อมตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อจริยธรรม สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ

สืบค้นข้อมูลบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัดในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.princhealth.com

เกี่ยวกับ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC)

บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) ดำเนินธุรกิจการพัฒนา ลงทุน และจัดการอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย บ้าน คอนโดมิเนียม และโครงการมิกซ์ยูสชั้นนำระดับสากล พร้อมดำเนินธุรกิจภายใต้คำมั่นสัญญา ‘For All Well-Being’

MQDC พัฒนาที่อยู่อาศัยและโครงการมิกซ์ยูสภายใต้แบรนด์ “แมกโนเลียส์” (Magnolias) “วิสซ์ดอม” (Whizdom) ดิ แอสเพน ทรี (The Aspen Tree) มัลเบอร์รี่ โกรฟ (Mulberry Grove) และ “เดอะ ฟอเรสเทียส์” (The Forestias) เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้อยู่อาศัยและสร้างการใช้ชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

MQDC ได้ให้การรับประกัน 30 ปีในโครงการอสังหาริมทรัพย์ทุกโครงการเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการก่อสร้างที่ดีเยี่ยม

การประยุกต์ปรัชญา ‘นวัตกรรมแห่งความยั่งยืน’ MQDC มุ่งมั่นที่จะนำพาภาคธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปสู่ความยั่งยืน ดังนั้น MQDC ได้ให้การสนับสนุนงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยได้จัดตั้งศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)  ซึ่งเป็นศูนย์การวิจัยแห่งแรกของเอเชียที่มุ่งเน้นด้านการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกสรรพสิ่งบนโลก

MQDC ดำเนินงานพร้อมกับการคำนึงถึงสิ่งมีชีวิตบนโลก มากกว่านั้นยังมีเป้าหมายในการพัฒนาความยั่งยืนเพื่อสังคมโดยรวม ข้อมูลเพิ่มเติม www.mqdc.com

เกี่ยวกับบริษัทอีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด

บริษัทอีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด กอตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2519 โดยกลุ่มวิศวกรไทยที่มองเห็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนของบริษัทวิศวกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจของประเทศ บริษัทได้เติบโตพร้อมกับผลงานมากมายด้านการพัฒนาเมือง, อาคารต่างๆ, การพัฒนาอุตสาหกรรม, การผลิตไฟฟ้า, การผลิตพลังงานร่วม, ระบบขนส่งสาธารณะ, โรงพยาบาล, ศูนย์ข้อมูล เป็นต้น กลุ่มบริษัทประกอบด้วย  EEC Engineering Network Company limited, EEC Lincolne Scott Company Limited, Green Companion Company Limited และ EEC Academy โดยมีพนักงานประมาณ 250 คน ผลงานประกอบด้วย อาคารระฟ้า, หอชมเมือง, อาคารเขียว, ศูนย์การค้าขนาดใหญ่, สำนักงานขนาดใหญ่, โรงพยาบาลขนาดใหญ่, โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่, เมืองอัจฉริยะ เป็นต้น

บริษัทอีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีพลังงาน, สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านอัคคีภัย รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ กลุ่มบริษัทมีบทบาทสำคัญด้านอาคารเขียว, เมืองอัจฉริยะ, และการพัฒนาแบบยั่งยืน ด้วยการเสนอคำตอบเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเหล่านี้บนพื้นฐานของความเข้าใจ โดยการร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันอาคารเขียวไทยและกระทรวงพลังงาน พร้อมทั้งบุคคลากรที่ผ่านการรับรอง TREES APs และ LEED Aps

นอกจากนี้ยังเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และจัดหลักสูตรอบรมด้านวิชาชีพตลอดทั้งปีผ่าน EEC Academy กลุ่มบริษัทได้สร้างอาคารที่ทำการของตนเองที่ได้รับการรับรองเป็นอาคารเขียว 2 หลัง คือ อาคาร“EEC Academy 1 และ EEC Academy 2” เพื่อเป็นตัวอย่างและสถานที่เรียนรู้สำหรับนักวิชาการและผู้สนใจ

เกี่ยวกับ บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด

ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล คือ Home of Happy ที่ที่ความคิดสร้างสรรค์และความสุขมาบรรจบกัน นำทัพเหล่านักเล่าเรื่อง และครีเอทีฟมากมายโดย ดร. ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งในการคัดสรรคอนเทนต์ ที่โดดเด่นและมีความสร้างสรรค์จากแหล่งต่างๆ ด้วยเครือข่ายพันธมิตรที่กว้างขวางทั้งภายในประเทศไทยและประเทศจีน  สมทบด้วยกลุ่มนักครีเอทีฟจากทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งยังมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักในการสร้างคลื่นแห่งความสุข ให้กระจายไปทั่วโลก ด้วยการลงทุนในเนื้อหาที่เหมาะสำหรับครอบครัวพร้อมกับเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ ในขณะเดียวกัน ก็สนับสนุนโครงการซึ่งจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อม  เยาวชน  และมวลมนุษยชาติ

เกี่ยวกับมูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์

มูลนิธิธนินท์ เทวี เจียรวนนท์ จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรการกุศล โดยจดทะเบียนที่ฮ่องกงในปี ค.ศ.2015 และที่ประเทศไทยในปี ค.ศ.2018 เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่ขาดโอกาสและกลุ่มเปราะบางในสังคมให้สามารถเข้าถึงการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ โดยทำงานร่วมกับพันธมิตรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทั้งระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก อาทิเช่น การให้การสนับสนุนกองทุนโลก (The Global Fund) เพื่อเสริมศักยภาพของเครือข่ายสาธารณสุขในประเทศไทยในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อมาลาเรียดื้อยา ซึ่งจะกระทบต่อสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ห่างไกล เช่น แนวตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมาร์ ไทย-กัมพูชา และพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย การทำงานร่วมกับโรงพยาบาลอุ้มผาง ในการขยายการบริการสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกลให้ครอบคลุมตามสภาพความจำเป็นในแต่ละพื้นที่

เกี่ยวกับมูลนิธิอริยวรารมย์

มูลนิธิอริยวรารมย์ ก่อตั้งโดย ดร. ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ (ดร. แตน) ประธานกรรมการมูลนิธิ และประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล โดยจุดประสงค์หลักในการดำเนินการของมูลนิธิฯ คือ มอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน ช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ป่วย คนชรา บรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อหรือภัยพิบัติ สนับสนุนการดำเนินงานของบุคลากรทางการแพทย์และด้านสาธารณสุข ช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภค-บริโภคหรือสิ่งจำเป็นแด่พระภิกษุสงฆ์ ช่วยเหลือสัตว์ที่ขาดแคลนอาหาร และดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

เกี่ยวกับมูลนิธิพุทธรักษา

มูลนิธิพุทธรักษาก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ผู้ซึ่งก่อตั้งกลุ่มบริษัทดีทีจีโอ เพื่อทำงานช่วยเหลือสังคมตามดำริของคุณธนินท์ และคุณหญิงเทวี เจียวรวนนท์ ให้ดำเนินกิจการที่ไม่ได้มุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเพียงด้านเดียว แต่ให้ธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมที่ดีด้วย โดยมูลนิธิฯ มีความมุ่งมั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของเด็กและเยาวชนผ่านการมอบโอกาสทางการศึกษาที่ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน พร้อมทั้งบ่มเพาะความมีเมตตาโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น ทั้งนี้มูลนิธิพุทธรักษาได้จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธรณกุศล ลำดับที่ 691 ในปี พ.ศ. 2552 และได้ขยายการช่วยเหลือไปทั่วประเทศ เด็กที่รับทุนการศึกษาตรงของมูลนิธิฯ รวมไปถึงเด็กที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาผ่านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยหลักสูตรและโครงการต่างๆในโรงเรียนเครือข่าย และชุมชน กว่า 20,000 คน ให้ได้รับการศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสนับสนุนให้นักเรียนทุนจัดตั้งสมาคมพี่น้องพุทธรักษาขึ้น เพื่อสืบสานเจตนารมณ์ในการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันโอกาสผ่านกิจกรรมทางสังคมของนักเรียนทุนมูลนิธิพุทธรักษาทั้งอดีตและปัจจุบัน

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image