วิเคราะห์อินไซต์การเงินของคนไทย ผ่านภาพยนตร์โฆษณา “เราเปลี่ยน คุณเปลี่ยน” ชวนคนไทยมาเปลี่ยนไปด้วยกันกับทีเอ็มบีธนชาต

ทีเอ็มบีธนชาต เดินหน้าตอกย้ำกระแสภาพยนตร์โฆษณา “เราเปลี่ยน คุณเปลี่ยน” เผยอินไซต์พฤติกรรมการใช้เงินของคนไทย พร้อมสะท้อนให้เห็นความจริงใจของธนาคารที่เริ่มต้นเปลี่ยนและชวนคนไทยร่วมเปลี่ยนชีวิตทางการเงินผ่านโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงเพื่อสร้างชีวิตทางการเงิน (Financial Well-being) ที่ดีขึ้นให้กับคนไทย ทั้งในวันนี้และอนาคต

หากพูดถึง “เงินเก็บออมไม่มี หนี้สินรุมเร้า” มันคือนิยามชีวิตทางการเงินของคนไทยส่วนใหญ่ เมื่อก่อนช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่นอกจากจะขาดวินัยเรื่องการเก็บออมแล้ว ยังมีพฤติกรรมการใช้เงินเกินตัว ติดกับดักเรื่องนิยามการมีชีวิตที่ดีของผู้คนในสังคม ทั้งกิน เที่ยว ช้อป ใช้จ่ายเงินเกินจำเป็น ทำให้ต้องกลายเป็นหนี้และต้องทำงานอย่างหนักตลอดชีวิตเพื่อไปใช้หนี้ นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนสำคัญ คือ ขาดทักษะทางการเงินและใช้ชีวิตขาดการวางแผนทางการเงินที่เหมาะสม ซึ่งปัญหายิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง หลายคนต้องใช้ชีวิตบนความเสี่ยงเพราะไม่มีเงินเก็บออม รายได้จากการทำงานน้อยลงหรือกลายเป็นคนว่างงาน

การออม” เป็นหนึ่งในวิธีสร้างความมั่นคงทางการเงินที่ดีที่สุด สามารถใช้เป็นหลักประกันยามฉุกเฉินและจำเป็นได้เป็นอย่างดี แม้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีแนวโน้มว่าคนไทยรู้จักเก็บออมเงินมากขึ้น แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจากการสำรวจพฤติกรรมการออมของครัวเรือนไทย ในไตรมาส 4/2563 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีครัวเรือนที่ออมเงินสูงถึงร้อยละ 74.1 ส่วนครัวเรือนที่ไม่มีเงินออมมีเพียงร้อยละ 25.9 ซึ่งอาจเกิดจากรายได้ที่ไม่พอกับรายจ่ายจึงทำให้ครัวเรือนไม่มีเงินเหลือสำหรับการเก็บออม อย่างไรก็ตามพบว่าร้อยละ 54.1 ของครัวเรือนที่มีการเก็บออม มียอดเงินที่ออมได้เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งยังถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบางเพราะอาจได้รับผลกระทบกับการดำรงชีพในอนาคตหากตกงานหรือขาดรายได้

Advertisement

หนึ่งในข้อเท็จจริงของชีวิตทางการเงินคนไทยส่วนใหญ่ก็คือ “เป็นหนี้สูง เป็นหนี้เร็ว และเป็นหนี้นานตลอดช่วงชีวิต” สะท้อนจากปริมาณภาระหนี้ครัวเรือนของไทยที่พุ่งสูงต่อเนื่องจนติดอันดับ 17 ของโลก สุ่มเสี่ยงที่จะปะทุเป็นปัญหากระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทย หากไม่มีการบริหารจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 หนี้ครัวเรือนของไทยมีการปรับตัวสูงมากขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจาก 80% ของจีดีพี ณ สิ้นปี 2562 เป็น 90.5% ของจีดีพี ณ ไตรมาส 1/2564 และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศระลอกสามที่ลุกลามยืดเยื้อมาจนถึงครึ่งหลังของปี 2564 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ  ttb analytics คาดการณ์ว่าระดับหนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นไปถึง 93.0% ณ สิ้นปี 2564

อีกสองประเด็นสำคัญของพฤติกรรมทางการเงินคนไทยก็คือ ประเด็นแรก ขาดความคุ้มครองที่พอเพียง ซึ่งความรู้สึกลึก ๆ แล้ว ทุกคนมีความกังวลในชีวิต 3 ด้านหลัก คือ 1. กลัวเจ็บ เพราะมีความกังวลเรื่องสุขภาพ รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลที่ต้องเสียไป 2. กลัวจน อยากมีเงินใช้เพียงพอตามไลฟ์สไตล์ที่ต้องการเมื่อไม่ได้ทำงานหรือเมื่อเกษียณ และ 3. กลัวตายแล้วครอบครัวลำบาก อยากมีเงินไว้ดูแลคนข้างหลัง ไม่ทิ้งภาระหนี้สินไว้ให้เมื่อต้องจากไป ซึ่งจากข้อมูลแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 4 (พ.ศ.2564-2568) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่าค่ารักษาพยาบาลของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 7% ในขณะที่คนไทยพึ่งพาประกันสุขภาพจากภาครัฐเป็นส่วนใหญ่แต่อย่างไรก็ตามจากตัวเลขของ คปภ. ปี 2563 พบว่าจากจำนวนประชากรไทย 100 คน พบว่ามีการถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตเพียง 39 ฉบับเท่านั้น ส่วนประเด็นที่สอง ขาดการลงทุนเพื่ออนาคต เพราะคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการลงทุน ทำให้ปิดโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุน หรือการลงทุนที่ผิดพลาดเพราะขาดความรู้และประสบการณ์

สภาพสังคมไทยที่แวดล้อมด้วยคนมีหนี้และไม่มีเงินออม บ่งชี้ว่าคนไทยมีภูมิคุ้มกันทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นถึงเวลาที่ต้องตระหนักและลุกขึ้นมาจริงจังกับการเก็บออม ด้วยการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ที่สำคัญต้อง “เปลี่ยน” พฤติกรรมชีวิตทางการเงิน พร้อมเพิ่มทักษะและวางแผนบริหารจัดการเงินอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น (Financial Well-being)

ทีเอ็มบีธนชาตชวนคนไทยมาเปลี่ยนไปด้วยกัน ตอกย้ำปรัชญา “Make REAL Change เปลี่ยน…เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น” ผ่านภาพยนตร์โฆษณา “เราเปลี่ยน คุณเปลี่ยน” พร้อมแนะนำ 5 โซลูชันทางการเงินที่จะช่วยให้คนไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น พร้อมฝ่าอุปสรรคและเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งในวันนี้และอนาคต ดังนี้ 1) ttb debt consolidation โซลูชันรวบหนี้ เพื่อลดภาระดอกเบี้ย 2) ttb cash2care โซลูชันที่ให้ดอกเบี้ยถูกลง เมื่อกู้ไปใช้ในสิ่งที่จำเป็น จากนั้นเปลี่ยนมาเก็บออมให้ได้ประโยชน์สูงสุดด้วย 3) ttb no fixed บัญชีเพื่อออม ที่ให้ดอกสูงเหมือนฝากประจำ แต่ถอนได้เหมือนออมทรัพย์ 4) ttb smart port โซลูชันพอร์ตลงทุน ที่ใคร ๆ ก็ลงทุนได้อย่างสบายใจเพราะเริ่มลงทุนเท่าไรก็ได้ พร้อมดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 5) ttb all free บัญชีฟรีค่าธรรมเนียม พร้อมมอบประกันอุบัติเหตุฟรีทั้งค่ารักษาและความคุ้มครองชีวิต ซึ่งถือเป็นความคุ้มครองพื้นฐานที่ทุกคนควรมี

ทีเอ็มบีธนชาตจึงขอชวนคนไทยมาร่วม “เปลี่ยน” พฤติกรรมทางการเงิน โดยเริ่มจากการมีความรู้และทักษะความเข้าใจทางการเงินที่ครอบคลุม เลือกออมให้ถูกวิธี เลือกกู้ยืมให้ถูกจุดประสงค์ เลือกลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้ และเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมและพอดี เพื่อให้มีชีวิตทางการเงิน (Financial Well-being) ที่ดีขึ้น ทั้งในวันนี้และอนาคต

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image