อธิบดีพช. ปลื้ม จ.บึงกาฬ โชว์ผลงานการออกแบบลายผ้า “ไทบูชา ชาวประชาบึงกาฬ”

วันที่ 6 ตุลาคม 2564 นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานแบบลายผ้า “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” โดยพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าได้ทุกสี ทุกเทคนิค พัฒนาต่อยอดไปสู่เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตามวิถีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น เพื่อสร้างรายได้กลับสู่ชุมชน เพื่อเป็นการจุดประกายความคิดในการพัฒนาลวดลายผ้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าของจังหวัดบึงกาฬ เกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นที่มีความร่วมสมัย สร้างความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ จังหวัดบึงกาฬ จึงขับเคลื่อนโครงการประกวดออกแบบลายผ้าพระราชทาน “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ระหว่างวันที่ 4 – 31 สิงหาคม 2564 ซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จำนวน 5 ลาย โดยผู้ชนะเลิศ ได้แก่ นายอิทธิกร อินทร์แสง ผู้ออกแบบลาย “ไทบูชา ชาวประชาบึงกาฬ” โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความเชื่อ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวบึงกาฬ โดยการผสมผสานกับลายขอพระราชทาน ออกแบบผ้าเป็นลายไทบูชา ชาวประชาบึงกาฬ

ตัว S 8 ตัว หมายถึง ความร่ำรวย เลข 8 เป็นเลขมงคลอันดับ 1 ของจีน และยังเป็นเครื่องหมาย infinity ที่แปลว่า ไม่มีที่สิ้นสุด คนจีนจึงเชื่อว่า เลข 8 มีความหมายว่า รวยไม่มีที่สิ้นสุด

Advertisement

ขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ์ คือ พานพุ่มตอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรมและบูชาพระรัตนตรัยในวันอุโบสถ หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการนำไปบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

การประกวดออกแบบลายผ้าพระราชทาน “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” จึงเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย แสดงออกถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นบนผืนผ้าให้มีเอกลักษณ์และความทันสมัย เพื่อฟื้นฟูมรดกวงการผ้าไทยอย่างแท้จริง

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image