พลัง “บวร” อุบลราชธานี นำโดย พระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย

เมตตาจัดเวทีนำร่องขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ด้วยความเมตตาพระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ และที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.บุญฟ้า ลิ้มวัธนา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังอ้อ (ยอดสังข์วิทยา) นางวริชา เสาทอง พัฒนาการอำเภอเขื่องใน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ตลอดจนข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และวิทยากรจากศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ร่วมจัดเวทีสำรวจและประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ เพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในพื้นที่ตำบลหัวดอน และตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพื้นที่รวมกว่า 2,000 ไร่ และถือเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายในแผนการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดอุบลราชธานี

โดยการจัดเวทีประชุมหารือฯ ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนที่สนใจในเขตพื้นที่ตำบลหัวดอน และตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน หลายร้อยครัวเรือน โอกาสนี้ พระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เมตตากล่าวถึงแนวทางในการเข้าร่วมโครงการฯ ว่า เป็นการขยายผลโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งรัฐบาลได้มีแนวทางการขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่มีบทบาทสำคัญในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชนตามแนวทางของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ จึงได้เสนอการขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ โดยภาครัฐจะได้สนับสนุนการจ้างงาน โครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์พื้นฐาน อำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ที่จำเป็น ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่างๆในพื้นที่ ภาควิชาการในพื้นที่ร่วมพัฒนาและยกระดับทรัพยากรมนุษย์ ต่อยอดด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมที่เหมาะสม โดยมีภาคเอกชนร่วมสนับสนุนการบริหารงานโครงการ วางแผน พัฒนาและต่อยอดผลผลิตต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากความสมบูรณ์ของการพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพในกรพัฒนา พื้นที่ประสบปัญหาภัยพิบัติซ้ำซาก และใช้โอกาสจากภาคแรงงานที่มีทักษะและศักยภาพที่ประสบกับปัญหาการเลิกจ้างจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่กลับไปยังบ้านเกิดเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการให้ความรู้ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงหรือทฤษฎีใหม่ ควบคู่กับการศึกษาถึงรากเหงาภูมิปัญญาดั้งเดิม และเพิ่มพูนด้วยชุดความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาของพื้นที่และภูมิสังคม เพื่อพัฒนาหรือยกระดับเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ เพื่อขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเสริมสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ภายในปี 2030

Advertisement

ในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานี นั้น ถือว่ามีความพร้อมในการดำเนินงานและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ โดยได้มีการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินงานเมื่อวันที่ 9 และ 17 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณรอบๆ ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ได้แก่ ตำบลหัวดอน ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน, วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม, ดอนป่าติ้ว บ้านโนนมะเขือ ตำบลกาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น, ตำบลหนองบัวฮี อำเภอพิบูลมังสาหาร และในพื้นที่อำเภอต่างๆ ที่มีความพร้อม และกำลังอยู่ระหว่างการประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ และภาคีเครือข่ายในจังหวัดฯ ซึ่งถือเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย ที่สนใจและให้ความสำคัญ ในการขับเคลื่อนโครงการฯ ดังกล่าวหรือเป็นการนำร่องการดำเนินงานและต้นแบบในการขับเคลื่อนนโยบายและโครงการสำคัญต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

Advertisement

นอกจากนั้น พระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ยังได้กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการณ ของทุกจังหวัดและทุกหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย นั้นจะสามารถพิจารณากำหนดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมร่วมกับภาคประชาชนและภาคเอกชนในพื้นที่ ที่สามารถส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ช่วยการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือทฤษฎีใหม่ หลัก “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ) “บรม” (บ้าน โรงเรียน/ราชการ มัสยิด) “ครบ” (คริสต์ โรงเรียน/ราชการ บ้าน) รวมถึงแนวพระราชดำริต่าง ๆ การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) การพัฒนาและการรังสรรค์นวัตกรรมในรูปแบบใหม่ Policy Sandbox ภายใต้การปฏิรูประบบราชการ และแนวทางการพัฒนาโดยใช้ศาสตร์อื่น ๆ เพื่อมาเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ในพื้นที่ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ความเข้าใจและเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินข้าร่วมโครงการภายใต้เงื่อนไขสำคัญที่พื้นที่ที่เข้าร่วมนั้น ต้องพัฒนาให้สามารถประโยชน์สุขร่วมกันตามนโยบายของรัฐบาลในการขจัดปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นพื้นที่มีความพร้อมในการดำเนินงานได้ทันที และต้องได้รับการยินยอมให้ใช้พื้นที่และจดทะเบียนการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยขอให้ทางจังหวัดจัดส่งข้อมูลพื้นที่มายังกระทรวงมหาดไทย ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 นี้

ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดขั้นตอนประกอบด้วย 1)กำหนดพื้นที่เป้าหมาย/พื้นที่ปฏิบัติการ 2) พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เป้าหมาย/พื้นที่ปฏิบัติการ 3) บ่มเพาะพัฒนาบุคลากร 7 ภาคี คือ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคสื่อมวลชน และเร่งสร้างผู้ประกอบการใหม่ 4) สร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก 5) ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงประจักษ์ผ่านการฝึกปฏิบัติร่วมในรูปแบบจิตอาสาพัฒนาและจิตอาสาภัยพิบัติ 6)ต่อยอดผลผลิตเพื่อพัฒนาธุรกิจร่วมกับภาคเอกชน ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) 7) จัดทำแพลตฟอร์มขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 8) สร้างนวัตกรรมจากฐานการวิจัยเพื่อพัฒนาตลาดและธุรกิจในพื้นที่ และ 9) สร้างการรับรู้และจดจำ และการสื่อสารสังคมเชิงรุก การขับเคลื่อนในพื้นที่จะแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ระดับครัวเรือน ระดับชุมชน/ตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ผ่านแนวทางระบบเกษตรสองขา “พอเพียง แบ่งปัน แข่งขันได้” โดยใช้รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินการ ผ่านกลไกการมีส่วนร่วมและภาคีการพัฒนาจากทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามบริบทของพื้นที่ที่กำหนดร่วมกัน และส่งผลต่อการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มพื้นที่จัดเก็บคาร์บอนและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม เป็นการนำการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกต่อไป

#WorldSoilDay

#GlobalSoilPartnership

#UNFAO

#กรมการพัฒนาชุมชน

#CDD

#SEPtoSDGs

#SDGforAll@Kmitl

#WorldSoilDayCDD

อุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี : งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี…ภาพข่าว/รายงาน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image