ROI คืออะไรและมีวิธีการคำนวณอย่างไร
เมื่อเราก้าวเข้าสู่ตลาดการเงิน เราจำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ Return on Investment (ROI) หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน โดยใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนเพื่อเลือกลงทุน ซึ่งจะพิจารณาว่าการลงทุนนั้นคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ ดูว่าเราจะทำกำไรจากการลงทุนดังกล่าวได้รวดเร็วเพียงใด พูดอีกอย่างก็คือ การวัดค่าจะช่วยในการเปรียบเทียบผลกำไรหรือขาดทุนกับมูลค่าตั้งต้นของสินทรัพย์ที่เราลง ทุน
เทรดเดอร์จำเป็นต้องคำนวณหาค่า ROI เพราะช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบการลงทุนต่างๆช่วยบ่งบอกความน่าสนใจของตัวเลือกการลงทุนแต่ละประเภท เพื่อการตัดสินใจในการลงทุนที่ถูกต้อง โดยพิจารณาจากค่า ROI ที่สูงที่สุดนั่นเอง จริงๆ แล้วการลงทุนทุกประเภทที่ใช้เงินทุนสามารถวัดค่า ROI ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการลงทุนในตลาดการเงินเท่านั้น
วิธีการคำนวณ ROI เพื่อประเมินค่าผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคตมีสูตรดังนี้
Return on Investment หรือ ROI = (กำไรสุทธิ / เงินลงทุน) x 100%และกำไรสุทธิ = รายรับ – เงินลงทุน
ปกติแล้วผลลัพธ์จะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์หรืออัตราส่วน ไม่ใช่ผลรวมทั้งหมด นักลงทุนจึงสามารถคาดการณ์ผลตอบแทนที่จะตามมาได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
การทำความเข้าใจผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) และการนำไปใช้
คุณอาจสงสัยว่า ROI มีวิธีใช้อย่างไร นักลงทุนทั่วไปอาจใช้ ROI เพื่อประเมินพอร์ทการลงทุนของตน หรืออาจนำไปใช้เพื่อประเมินค่าใช้จ่ายเกือบทุกประเภทก็ได้ เจ้าของธุรกิจสามารถใช้ ROI เพื่อคำนวณผลตอบแทนจากต้นทุนการโฆษณา เช่น หากจ่ายค่าโฆษณาไป 50,000 บาทและสร้างยอดขายได้ 750,000 บาท เจ้าของธุรกิจจะได้รับ ROI 1,400% จากค่าใช้จ่ายในการโฆษณา
เราลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง สมมติว่าเราลงทุน 1,000 ดอลลาร์ในบริษัทอาหารแมวในปี 2019 และขายหุ้นเป็นเงินทั้งหมด 1,200 ดอลลาร์ในอีกหนึ่งปีต่อมา วิธีการคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนนี้ ให้หารกำไรสุทธิ (1,200 – 1,000 ดอลลาร์ = 200 ดอลลาร์) ด้วยต้นทุนการลงทุน (1,000 ดอลลาร์) ดังนั้น ROI ที่ได้คือ 200 ดอลลาร์/1,000 ดอลลาร์ หรือ 20% เมื่อเราเข้าใจวิธีการคำนวณแล้ว เราก็สามารถนำไปใช้คำนวณการลงทุนอื่นๆ ได้
ROI ที่ดีควรเป็นอย่างไร
ตามมุมมองดั้งเดิม ROI ประจำปีที่ประมาณ 7% หรือมากกว่าถือเป็นเปอร์เซ็นต์ ROI ที่ดีสำหรับการลงทุนในหุ้น เช่นเดียวกับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีของ S&P 500 ซึ่งคิดเป็นอัตราเงินเฟ้อ และเนื่องจากเป็นค่าเฉลี่ย บางปีผลตอบแทนที่ได้รับอาจสูงขึ้น หรือบางปีอาจจะต่ำลง แต่โดยรวมแล้ว ผลการดำเนินงานจะอยู่ในระดับนี้
อย่างไรก็ตาม การกำหนด ROI ที่เหมาะสมสำหรับกลยุทธ์การลงทุนจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่สามารถวัดจากเกณฑ์มาตรฐานแบบง่ายๆ เท่านั้น ดัชนี S&P 500 อาจไม่เหมาะกับระดับความเสี่ยงที่คุณรับได้ หรือประเภทสินทรัพย์ที่คุณลงทุนไม่ว่าคุณจะสนใจการลงทุนประเภทใด การศึกษาค้นคว้าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และต้องเลือกเทรดกับแพลตฟอร์มการซื้อขายที่เชื่อถือได้ ใช้งานง่าย และได้รับความนิยมมากที่สุดอย่าง MetaTrader 4 โหลด mt4 ลงคอมเลย
ประโยชน์และข้อจำกัดของ ROI
ผลตอบแทนจากการลงทุนถือเป็นแนวคิดที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
ROI มีประโยชน์อะไรบ้าง
- ง่ายต่อการคำนวณ เพราะใช้ตัวเลขจำนวนไม่มากในการคำนวณ ซึ่งพบได้ในงบการเงินหรืองบดุล
- ใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบ เนื่องจากมีการใช้อย่างแพร่หลายและคำนวณได้ง่าย จึงสามารถเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนระหว่างองค์กรได้มากขึ้น
- วัดความสามารถในการทำกำไร ROI เกี่ยวข้องกับรายได้สุทธิสำหรับการลงทุนในหน่วยธุรกิจเฉพาะ จึงสามารถวัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทหรือทีมงานได้ดียิ่งขึ้น
ROI มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
ROI เป็นหนึ่งในอัตราส่วนการลงทุนและความสามารถในการทำกำไรที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน แต่อาจมีข้อเสียอยู่บ้าง ดังนี้
- ไม่สามารถนำปัจจัยทางเวลามาพิจารณาในสมการ หากดูจากภาพรวมแล้ว ค่า ROI ที่สูงกว่าอาจดูเหมือนเป็นการลงทุนที่ดีกว่า แต่ไม่เสมอไป เช่น การลงทุนที่ต้องใช้เวลาถึง 10 ปีและมีค่า ROI ที่สูงกว่านั้นเทียบไม่ได้เลยกับอีกการลงทุนที่ใช้เวลาเพียงหนึ่งปีแม้จะมีค่า ROI ต่ำกว่าเล็กน้อย หรืออธิบายอีกมุมได้ว่า การลงทุน A กับ B มี ROI เท่ากันที่ 50% แต่การลงทุน A จะจบลงภายในสามปี ขณะที่การลงทุน B ต้องใช้เวลาห้าปีเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเท่ากัน เห็นได้ว่า ROI ที่เท่ากันในการลงทุนทั้งสองแสดงภาพรวมที่ไม่ชัดเจน แต่เมื่อเพิ่มปัจจัยด้านเวลาแล้ว นักลงทุนจะเห็นตัวเลือกที่ดีกว่าได้ง่ายขึ้น
- การคำนวณ ROI อาจแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ เนื่องจากมีสมการที่แตกต่างกันในการคำนวณ ROI และทุกธุรกิจไม่ได้ใช้สมการเดียวกัน ทำให้การเปรียบเทียบระหว่างการลงทุนไม่สอดคล้องกัน
- ผู้จัดการอาจเลือกการลงทุนที่ตัวเลข ROI สูงกว่า การลงทุนบางอย่างที่ ROI ต่ำอาจยังเพิ่มมูลค่าของธุรกิจได้ แต่การเลือกที่ไม่ถูกต้องอาจนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ตัวเลือกสำหรับ ROI
ตัวเลือกอื่นสำหรับ ROI มีอะไรบ้าง
มีการวัดผลแบบอื่นที่คล้ายคลึงกันกับ ROI ที่ธุรกิจใช้ในการคำนวณในลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังนี้
- Annualized ROI คือ ROI แบบเฉลี่ยต่อปี ROI รูปแบบนี้จะพิจารณาระยะเวลาที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียลงทุน ตัวอย่างการคำนวณผลตอบแทนรายปีคือ ROI รายปี= ((มูลค่าสุดท้ายของการลงทุน – มูลค่าเริ่มต้นของการลงทุน) / มูลค่าเริ่มต้นของการลงทุน) x 100 ในทำนองเดียวกัน อัตราผลการปฏิบัติงานรายปีสามารถคำนวณได้โดยใช้ ((P + G) / P) ^ (1 / n)-1 โดย P เท่ากับการลงทุนเริ่มต้น (Initial Investment) G เท่ากับกำไรหรือขาดทุน (Gain หรือ Loss) และ n เท่ากับจำนวนปีที่ลงทุน
- Social Return on Investment (SROI) คือ ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน โดย SROI อิงตามผลลัพธ์และพิจารณาผลกระทบในวงกว้างของมูลค่าทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยแปลผลลัพธ์เหล่านี้เป็นค่าเงินที่จับต้องได้ การคำนวณ คือ SROI = มูลค่าปัจจุบันสุทธิของกำไร / มูลค่าปัจจุบันสุทธิของการลงทุน
- Marketing Statistics ROI คือ การวัดผลสถิติการตลาด ซึ่งจะช่วยกำหนดประสิทธิภาพของกลยุทธ์แคมเปญการตลาดหรือโปรแกรมการตลาด การคำนวณพื้นฐานคือ (การเติบโตของยอดขาย – ต้นทุนการตลาด) / ต้นทุนการตลาด
- Social Media Statistics ROI การวัดผลสถิติโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะช่วยกำหนดประสิทธิภาพของแคมเปญโซเชียลมีเดีย และสามารถรวมจำนวนการดูหรือไลค์ที่สร้างขึ้นได้ วิธีการคำนวณเพื่อประเมินเวลา เงิน และทรัพยากรที่เข้าสู่ Social Media Statistics ROI ตามรายได้คือ (มูลค่า / การลงทุนทั้งหมด) x 100
อย่าลืมว่า ROI นั้นจะดีหรือไม่ดีก็เป็นเพียงตัวเลขที่คำนวณได้จากจำนวนที่เราใส่เข้าไปในสมการ และ ROI ไม่สามารถขจัดหรือลดความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนได้ เมื่อเราใช้ ROI ช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในอนาคต เรายังต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่การคาดการณ์กำไรสุทธิอาจแสดงออกมาสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป เช่นเดียวกับการลงทุนทุกประเภท ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้รับประกันความสำเร็จในอนาคต โปรดใช้ความระมัดระวังในการลงทุน