ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการประกวดผลงานนวัตกรรมด้านวิทยาการวัสดุ (MatSciKU Awards) ประจำปี 2565

รองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าภาควิชาวัสดุศาสตร์ กล่าวรายงานการจัดงานประกวดผลงานนวัตกรรมด้านวิทยาการวัสดุ (MatSciKU Awards) ประจำปี 2565 ในหัวข้อ “วัสดุเพื่อการสร้างสังคมสีเขียว Materials for Green Society” ชิงถ้วยพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ณ อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 ซึ่งได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 100 คน และได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม, บริษัท เดอะฟิลล์คอนเนค จำกัด, บริษัท บางกอกพัฒนามอเตอร์ จำกัด, บริษัท แสงไทยผลิตยาง จำกัด, บริษัท หริกุล ซายเอนซ์ จำกัด และบริษัท เมทเล่อร์-โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด
การประกวดในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพรรณ เสราภิณ ที่ปรึกษาอาวุโส ฝ่ายพัฒนาคุณภาพงานวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), ดร.ชัญชณา ธนชยานนท์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ, รองศาสตราจารย์ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คุณรัตนปทุม พิลาแดง สถาบันพลาสติก, ดร.ชโย ตรังอดิศัยกุล รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคุณพิชัย วราฤทธิชัย ที่ปรึกษาสมาคมไทยคอมโพสิท

โดยการจัดประกวดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทผลงานการสร้างคลิปวิดีโอด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จำนวน 42 ทีม และประเภทผลงานการออกแบบโครงงานเชิงความคิดด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประกวดผลงาน จำนวน 15 ทีม โดยมีรายนามผู้ชนะการแข่งขันประเภทผลงานการสร้างคลิปวิดีโอด้านวัสดุศาสตร์ ดังนี้

1. รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน “วัสดุปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จากผักตบชวา” โดยนายธรรมปพน กมุทรัตน์, นางสาวชนิตา วิริยะพันธ์ และนางสาวธนัชชา คำภา ซึ่งมีอาจารย์จิรภรณ์ ยะคำแจ้ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากโรงเรียนโดมประดิษฐ์วิทยา จังหวัดอุบลราชธานี

2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ผลงาน “วัสดุผสมจากธรรมชาติเพื่อกันกระแทกและชะลอการสุกของผลไม้” โดยนางสาวพันธุ์เอื้อ สุกดำ, นางสาวณฐมน การพานิช และนางสาวนงนภัส เลียดรักษ์ ซึ่งมีอาจารย์ไมตรี สุดเรือง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากโรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง

Advertisement

3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ผลงาน “การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากวัสดุคอมโพสิตใยใบสับปะรด แป้งและไคโตซาน สำหรับบรรจุอาหาร” โดยนางสาวภูษิตา ใบไพศาล และนางสาวกัญชพร ทองคำ ซึ่งมีอาจารย์ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

4. รางวัลชมเชย จำนวน 6 รางวัล ได้แก่
– ผลงาน”ผลิตภัณฑ์หนังเทียม เพื่อใช้ทดแทนหนังสัตว์” โดยนางสาวศิรินธา แก้วสุข,
นายธนกฤษณ์ สุวรรณ และนายธนวัฒน์ นาเสียง ซึ่งมีอาจารย์ยุพดี ภักดีวานิช เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง จังหวัดพัทลุง
– ผลงาน “ฟิล์มคลุมดินต้านแบคทีเรีย Pectobacterium carotovorum subsp. carotovorum ในผักกาดเขียวปลีด้วยน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นชัน” โดยนางสาววันมีสุข เปาะทองคำ และนางสาวภัทรมน ศุลีดำรงวุฒิ ซึ่งมีอาจารย์กนกรัตน์ สิงห์นุ้ยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
– ผลงาน “ช้อนผักสวนครัว” โดยนางสาวชลธิชา คล้ายอมร, นายพูลศักดิ์ คำสอน และนางสาวศศิวิมล กะชา ซึ่งมีอาจารย์จิรภรณ์ ยะคำแจ้ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากโรงเรียนโดมประดิษฐ์วิทยา จังหวัดอุบลราชธานี
– ผลงาน “การใช้เปลือกส้มโอเป็นวัสดุกันกระแทก” โดยนางสาววราลักษณ์ สารินา, นางสาวอุไรพร โลนะจิตร และนางสาวสิริกร วิลานันท์ ซึ่งมีอาจารย์จิรภรณ์ ยะคำแจ้ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากโรงเรียนโดมประดิษฐ์วิทยา จังหวัดอุบลราชธานี
– ผลงาน “GREEN HELMET หมวกนิรภัยเพื่อการสร้างสังคมสีเขียว” โดยนางสาวณิชนันทน์ ลีนิล และนางสาวกมลชนก ดีบุกคำ ซึ่งมีอาจารย์ชนะพล วิชัยพานิช เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากโรงเรียนศรีบุณยานนท์ จังหวัดนนทบุรี
– ผลงาน “แผ่นฉนวนเก็บความเย็นจากเส้นใยธรรมชาติ” โดยนายศฤงคาร คะชง, นายวรพงศ์ ทองขุนคำ และนายจิรภัทร แก้วเอียด ซึ่งมีอาจารย์ปทุมรัตน์ พรอำนวยลาภ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากโรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง

5. รางวัล Popular vote สำหรับคลิปวีดีโอที่มียอดไลค์สูงสุด ผลงาน “โครงงานการสร้างฉนวนกันความร้อนจากเส้นใยใบสับปะรดและซองขนมขบเคี้ยว” โดยนายณดล วิไลรัตน์, นางสาวณัฐนรี การเก่ง และนางสาวนันท์ชนัท ยศปินตา จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง

สำหรับรายนามผู้ชนะการแข่งขันประเภทผลงานการออกแบบโครงงานเชิงความคิดด้านวัสดุศาสตร์ ดังนี้

Advertisement

1. รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน “การผลิตกระถางเพาะชำย่อยสลายได้จากเศษวัสดุเหลือทิ้งที่ผ่านกระบวนการสีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประกอบด้วยเปลือกข้าวโพดและซังข้าวโพด” โดยนายศราวุธ เตจ๊ะ ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระ พันอินทร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ผลงาน “การพัฒนากาวชีวภาพรูปแบบใหม่สำหรับแผ่นไม้อัดจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราโดยใช้กาวพอลิยูรีเทนจากน้ำมันเมล็ดยางพารา” โดยนางสาวอาทิตยา ช่วยบำรุง และนายคณิตสรณ์ ศรีชัย ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง และรองศาสตราจารย์ ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ผลงาน “กระถางชีวมวลจากฟางข้าวควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยยูเรีย” โดยนางสาวสายฝน ห่อทรัพย์, นางสาวณัฐริกา นพเคราะห์ และนางสาวชลดา คำแพงศรี ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ ประเสริฐศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวุฒิ วัดจัง, ดร.ศันศนีย์ ศรีจันทร์ และอาจารย์ปราณี นุ้ยหนู เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

4. รางวัลชมเชย จำนวน 8 รางวัล ได้แก่
– ผลงาน “ไฮโดรเจลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับใช้งานเป็นวัสดุกักเก็บน้ำในดินเพื่อประยุกต์ในการทำนาในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ” โดยนายณรงค์เดช ดาผา, นายธนากร รูปสี และนายอมรศักดิ์ สืบสิน ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวุฒิ วัดจัง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
– ผลงาน “การพัฒนาผลิตภัณฑ์โฟมยางธรรมชาติเพื่อดูดซับน้ำมันและโลหะหนัก” โดยนางสาวฐิติวรรณ อินทะ และนางสาวมัญชุสา ชินเวช ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ แสนบุญเรือง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– ผลงาน “การพัฒนาแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันจากซิลค์ไฟโบรอินเคลือบไซโคลเด็กทรินสำหรับดักจับมลพิษในอากาศ” โดยนางสาวภาภิมล หม่องยุ้น ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมพิศ วังวงษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาจากสาขาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
– ผลงาน “วัสดุปิดแผลจากไฮโดรเจลกัญชง” โดยนายณัฐภูมิ ดาวไธสง, นางสาวจิดาภา เลื่อมสำราญและนางสาวอมรรัตน์ โรจน์ทินกร ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เล็กพิทยา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– ผลงาน “นวัตกรรมเครื่องกรองอากาศจากวัสดุแก้วพรุนเคลือบไทเทเนียมไดออกไซด์ร่วมกับถ่านไม้ไผ่เพื่อประยุกต์ใช้กับเครื่องกรองมลพิษทางกาศโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการควบคุมระบบ” โดยนางสาวพัชรมัย หัวใจเพชร และนางสาวซากุระโกะ มาซุดะ ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จาก สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– ผลงาน “สารเคลือบผิวไคโตซาน/ไคติน นาโนไฟเบอร์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้” โดยนางสาวฐิติมา วงษ์จำปี ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญญพร บุญมหิทธิสุทธิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภโชค ตันพิชัย และนางสาววรพร คิ้วเจริญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ผลงาน “เป้าจราจรอัจฉริยะจากน้ำยางพาราผสมผงขี้เลื่อยไม้ยางพารา” โดยนางสาวกิ่งกาญจน์ พิลาธรรม, นางสาวจิราภา สมเสนาะ และนางสาวชไมพร สุริยา ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ ประเสริฐศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักเกียรติ จิตคติ และนายศิวรักษ์ จันโท เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จากภาควิชาเคมีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
– ผลงาน “นวัตกรรมยางล้อมหัศจรรย์ที่มีคุณสมบัติการซ่อมแซมตัวเองโดยใช้อันตรกิริยาแบบนอน- โควาเลนต์” โดยนางสาวปิยะนุช พรมขาวทอง และนางสาวอริยา จุลบุตร ซึ่งมีนายขวัญชัย บวกสันเทียะเป็นที่ปรึกษา จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากการจัดประกวดผลงานนวัตกรรมด้านวิทยาการวัสดุในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียน นิสิต/นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการวิจัย คิดค้น สร้างสรรค์ แสดงผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้งานและต่อยอดได้ในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนประเทศชาติให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาที่สามารถต่อยอดสู่กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image