องค์การอนามัยโลกและสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาสนับสนุน HbA1c ให้เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน

Archivnummer: 176963

องค์การอนามัยโลกและสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาสนับสนุน HbA1c (ฮีโมโกลบินเอวันซี) ให้เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน[i] [ii]

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานไม่ต้องงดอาหารด้วย HbA1c ลดความหงุดหงิดจากความหิว และสะท้อนถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของผู้ป่วย  ช่วยให้ตรวจพบผู้ที่เป็นเบาหวานโดยไม่มีอาการ และให้การรักษาก่อนอาการลุกลามอีกด้วย

กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2559 –  จากสถิติล่าสุดของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ ในปี 2558 ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวาน 415 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 642 ล้านคนในปี 2583  ในทุก 6 วินาทีมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน[iii]

วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี องค์การอนามัยโลกและสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ กำหนดให้เป็นวันเบาหวานโลก ธีมในปี 2559 คือ Eyes on Diabetes[iv] ซึ่งมุ่งให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองเบาหวาน โดยพบว่า 1 ใน 2[v] ของผู้ป่วยโรคเบาหวานยังไม่เคยรับการตรวจวินิจฉัย  ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกัน หรือชะลอโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง อาทิ เส้นเลือดในสมองแตก ตาบอด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไตวาย

Advertisement

 

ถ้าไม่เคยมีอาการบ่งชี้โรคเบาหวาน หรือไม่แน่ใจ จะเสียเวลาไปตรวจดีหรือไม่

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นเพราะการเสียสมดุลของการใช้น้ำตาลในเลือด ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี ส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน โดยสามารถพบได้ในทุกวัย สัญญาณเตือนของโรคเบาหวานที่สังเกตได้คือ

Advertisement
  • ปัสสาวะเยอะและบ่อย
  • กระหายน้ำมาก
  • น้ำหนักลด
  • อ่อนเพลีย
  • สายตาพร่ามัว

หากพบอาการอย่างหนึ่งอย่างใด ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีแสดงอาการเหล่านี้เพียงเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการเลย ดังนั้น จึงควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวานด้วยวิธีที่มีความแม่นยำซ้ำทุก 1-3 ปี[vi]

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกและสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาสนับสนุน การตรวจค่าน้ำตาลสะสม หรือ ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c)  ให้เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานได้[vii] [viii]

การตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) สามารถตรวจได้ในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หากได้ค่า HbA1c มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5% ถือว่าเป็นเบาหวาน[ix] ซึ่งวิธีนี้มีความสะดวกมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องงดอาหารก่อนตรวจ จากเดิมที่ต้องงดอาหารประมาณ 8-12 ชั่วโมงก่อนตรวจเลือด การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ และการควบคุมอย่างมีวินัยจะช่วยให้การอยู่อย่างเป็นสุขกับเบาหวานไม่ใช่เรื่องยาก

ตรวจสุขภาพทีไรผลตรวจก็ดีทุกที ยังควรจะไปตรวจจริงหรือ

โดยทั่วไปผู้ที่จะเข้ารับบริการตรวจสุขภาพ ซึ่งรวมไปถึงผู้ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน บ่อยครั้งจะควบคุมอาหาร ดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายก่อนเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อให้ได้ผลการตรวจสุขภาพที่ดี ทำให้ผลตรวจไม่สะท้อนถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของผู้ป่วย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่ ความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน หรือเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี ผู้มีภาวะเสี่ยงควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน และหากตรวจพบความเสี่ยง แล้วสามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงควบคุมน้ำหนักอย่างมีวินัย ก็จะช่วยป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

การตรวจค่าน้ำตาลสะสม หรือ ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) สามารถวินิจฉัยเบาหวานได้เร็ว สะดวก ไม่ต้องงดอาหารก่อนตรวจ ลดความหงุดหงิดจากความหิวและอาการวิงเวียนจากการอดอาหาร ซึ่งภาวะเครียดหรือเจ็บป่วยส่งผลให้ค่าน้ำตาลในเลือดแปรปรวนได้  การตรวจ HbA1c สามารถแสดงค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดในช่วง 8-12 สัปดาห์ที่ผ่านมา และไม่มีผลกระทบจากความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือดแต่ละวัน รวมถึงทราบพฤติกรรมแท้จริงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน   แพทย์จึงสามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อหยุดเบาหวาน และป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนอันเป็นสาเหตุที่ทำให้พิการและเสียชีวิตได้

เปรียบเทียบการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วย HbA1c กับวิธีดั้งเดิม

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่สนใจ สามารถเลือกรับการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วยการตรวจค่าน้ำตาลสะสม หรือ ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) ตรวจเลือดไม่งดอาหาร ได้ที่โรงพยาบาลชั้นนำทั่วไป

 

เกี่ยวกับ Roche

โรชมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โรชเป็นบริษัทชั้นนำด้านสุขภาพที่มุ่งเน้นด้านการศึกษาวิจัยโดยมีการผสมผสานจุดแข็งทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ยา และด้านการตรวจวินิจฉัยเข้าด้วยกัน โรชเป็นบริษัทไบโอเทคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นผู้คิดค้นยาที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการรักษาโรคมะเร็ง ภูมิคุ้มกันวิทยา โรคติดเชื้อ จักษุวิทยา และระบบประสาท โรชยังเป็นผู้นำของโลกในการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยโรคมะเร็งจากชิ้นเนื้อ ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกในการจัดการโรคเบาหวาน กลยุทธ์การรักษาเฉพาะบุคคล (Personalised Healthcare) โรชมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตยาและเครื่องมือวินิจฉัยที่สามารถสร้างความแตกต่างในการพัฒนาสุขภาพ คุณภาพชีวิตและความอยู่รอดของผู้ป่วย โรชก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2439 และได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลกมากว่า 1 ศตวรรษ โดยผลิตภัณฑ์ยาที่โรชคิดค้นขึ้นจำนวน 29 รายการ ได้บรรจุอยู่ในรายการยา Model Lists of Essential Medicines ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านโรคมาลาเรีย และยารักษามะเร็ง ใน พ.ศ. 2558 โรชมีพนักงานทั่วโลกกว่า 91,700คน และลงทุนมากกว่า 9.3 พันล้านฟรังก์สวิสเพื่อการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะ โรชมียอดขายของกลุ่มบริษัทเป็นจำนวนเงินกว่า 48.1 พันล้านฟรังก์สวิส สำหรับบริษัท Genentech ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทโรช (Roche Group) ที่ทางโรชถือหุ้นทั้งหมด นอกจากนั้น โรชยังถือหุ้นใหญ่ในบริษัท Chugai Pharmaceutical ประเทศญี่ปุ่น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม:www.roche.co.th

เครื่องหมายการค้าทั้งหมดที่ใช้หรือกล่าวถึงในเอกสารข่าวชุดนี้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
***

[i] http://www.who.int/diabetes/publications/report-hba1c_2011.pdf

[ii] http://www.ngsp.org/ADA.asp

[iii] http://www.idf.org/about-diabetes/facts-figures

[iv] http://www.idf.org/news/world-diabetes-day-2016

[v] http://www.idf.org/wdd-index/test2prevent.php

[vi] แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2014) โดยสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

[vii] http://www.who.int/diabetes/publications/report-hba1c_2011.pdf

[viii] http://www.ngsp.org/ADA.asp

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image