ทางการค้าสำหรับหน่วยงานกำกับการแข่งขันในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก” (Workshop on Advocacy Strategies for Competition Authorities in Asia-Pacific)
สำนักงาน กขค. ร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) และ ศูนย์นโยบาย OECD แห่งประเทศเกาหลี (OECD/Korea Policy Center: KPC) ดำเนินการจัดประชุมระหว่างประเทศ ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสภาพแวดล้อมการแข่งขันทางการค้าสำหรับหน่วยงานกำกับการแข่งขันในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” (Workshop on Advocacy Strategies for Competition Authorities in Asia-Pacific) ระหว่างวันที่ 25 – 27 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร
การจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันทางการค้าระหว่างหน่วยงานกำกับการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งการปรับยุทธศาสตร์การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันอันทำให้เกิดการแข่งขันที่เสรีเป็นธรรมให้เหมาะสมกับการฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อไป
โดยงานนี้ได้รับเกียรติจาก นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Making Competition Policy a Policy Mainstay” ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของนโยบายการแข่งขันต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชีย-แปชิฟิก ต่างต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และการเกิด Digital Transformation และได้รับเกียรติจาก Mr.Ruben Maximiano, Senior Competition Expert, OECD ร่วมปาฐกถาในหัวข้อ “The Importance of Competition Advocacy for Our Economies” ที่จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันทางการค้าที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
รูปแบบการประชุมเป็นแบบผสมผสาน (Hybrid) และผ่านระบบออนไลน์ ประกอบด้วย การบรรยาย การเรียนรู้กรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงาน โดยกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า และบุคลากรสำนักงาน กขค. รวมไปถึง ผู้แทนหน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า
ในการจัดประชุมทั้ง 3 วัน ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของต่างประเทศ ร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันของประเทศไทย ซึ่งเป็นบุคลากรของสำนักงาน กขค. โดยเนื้อหาจะมุ่งเน้นไปในการแสดงถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ได้จากการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันทางการค้า โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
- การส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม
- การสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพในบริบทประเทศไทย
- การส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสมอภาค
- การประมินสภาพการแข่งขันในตลาด
- การศึกษาโครงสร้างตลาดเพื่อใช้สำหรับแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขัน
- การส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันในสภาวะวิกฤติ COVID-19
นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อทำแบบฝึกจำลอง (Hypothetical Exercise) โดยร่วมกันวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case study) ตลาดสินค้าและบริการที่เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ในองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า โดยแต่ละกลุ่มจะมีบทบาทหน้าที่ในการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อวางแผนตรวจสอบความผิดปกติและความไม่เป็นธรรมในตลาดสินค้าและบริการดังกล่าว รวมไปถึงการร่วมกันวางแผนโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันทางการค้า (Advocacy program) เพื่อสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม โดยจะต้องวางแผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งนำเสนอแผนดังกล่าว
การประชุมในครั้งนี้จะเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ในประเด็นเรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันทางการค้าให้กับหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย พร้อมทั้งเป็นการสร้างความร่วมมือกับองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของต่างประเทศที่แข็งแกร่งมีประสบการณ์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแข่งขันทางการค้าของไทยให้ทัดเทียมต่างประเทศ สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ตามมาตรฐานสากล