หลักสูตร พคบ.15 ลงพื้นที่ศุลกากรการท่าเรือแหลมฉบัง ดูภารกิจนำเข้าส่ง-ออก จัดเก็บภาษีอากร

หลักสูตร พคบ.15 ลงพื้นที่ศุลกากรการท่าเรือแหลมฉบัง ดูภารกิจนำเข้าส่ง-ออก จัดเก็บภาษีอากร ป้องกันลักลอบและหลีกเลี่ยงศุลการกร ‘รอง ผอ.ทสภ.’ ประทับใจหลักสูตร พคบ.ได้ความรู้แต่ละแขนง ขณะที่ ‘ผอ.กลุ่มกฎหมาย’ชมภารกิจของศุลกากร เก็บรายได้พัฒนาปท.

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่จ.ชลบุรี พ.อ.ต่อสกุล สัณหจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกิจการมวลชนและสารนิเทศ(ผช.ผอ.สมท.กอ.รมน.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ได้นำผู้อบรมหลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายความมั่นคงระดับผู้บริหาร (พคบ.) รุ่นที่ 15 ประจำปี 2567 ที่ประกอบด้วย ระดับผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสื่อมวลชน ลงพื้นที่ศึกษาดูการทำงานของสำนักงานศุลกากรการท่าเรือแหลมฉบัง


โดยผู้อบรบ พคบ.15 ได้รับฟังการบรรยายสรุปภารกิจ วิธีการ และขั้นตอนการทำงานของศุลกากร ทำให้ทราบระบบการทำงานทั้งการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ในการบริหารจัดการในท่าเรือแหลมฉบัง จากนายวาริส วิสารทานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเทคนิคการตรวจสอบสินค้า รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานศุลการกรท่าเรือแหลมฉบัง ระบุว่า ปัจจุบันกรมศุลลากร มีด่านทั้งหมด 46 แห่งทั่วประเทศ และมีศุลากรภาคอีก 5 แห่ง มีหน้าที่ ในด้านพิธีศุลการกรสำหรับนำเข้าส่ง-ออก ถ่ายลำและผ่านแดน จัดเก็บภาษีอากร อำนวยความสะดวกในการปล่อยวินค้าเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ป้องกันและปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงศุลการกร และการกำกับคลังสินค้าทัณฑ์บนและปลอดอากร

ADVERTISMENT

นายวาริส กล่าวว่า ท่าเรือแหลมฉบัง แบ่งเป็น 2 เฟส สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้ารวม 11 ล้านตู้ต่อปี รองรับรถยนต์ที่ขนส่งทางเรือได้ 12 ล้านคันต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างเฟส 3 เพิ่มเติมอีก 4 ท่า ซึ่งหากแล้วเสร็จจะสามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้อีก4 ล้านตู้ ส่งผลให้ท่าเรือแหลมฉบังจะสามารถรองรับได้ 18 ล้านตู้ต่อปี และรองรับรถยนต์ ได้อีก 1 ล้านคัน เป็น 13 ล้านคันต่อปี นอกจากนี้จะมีการเพิ่มการเชื่อมต่อทางรางรถไฟ ในเฟสนี้ด้วย


ด้านนายนิติ วิทยาเต็ม ผู้เข้าอบรม พคบ.15 ในฐานะรองอธิบดีกรมศุลกากร ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เรื่องการนำเข้า ส่งออก กรมศุลกากร ไม่ได้ทำแค่เพียงหน่วยงานเดียว เราถือกฎหมายหลายฉบับและถือแทนหน่วยงานต่างๆจำนวนมาก หากผู้นำเข้าแสดงเอกสารได้ครบถ้วน และไม่ใช่สินค้าเฉพาะหรือเฝ้าระวังพิเศษ เราต้องปล่อยให้นำเข้าสินค้าก่อน เพราะถ้ากักไว้จะเกิดความเสียหาย เช่น สินค้าเกษตร และปศุสัตว์ แต่เราจะมีหน่วยตรวจสอบย้อนหลัง

ADVERTISMENT

 

จากนั้น ผู้อบรบ พคบ.15 ชการทำงานของห้อง Control room และ ห้องวิเคราะห์ภาพเอกซเรย์ สถานีตรวจรังสี คลังสินค้าวัตถุอันตราย บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโพโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)

ขณะที่ นายนเรศร์ อนันตโท รองผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัย(ปฏิบัติการ) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผู้เข้าอบรม พคบ.15 กล่าวว่า พคบ.15 เป็นหลักสูตร ที่รวมคนที่มีศักยภาพของแต่ละหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน เข้ามาพัฒนาเครือข่ายความสัมพันธ์ ทำจิตอาสาเพื่อส่วนรวม เป็นหลักสูตรที่ดี ได้ความรู้เพิ่มเติมในแต่ละแขนงที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน เช่น กรมศุลกากร ที่บางเรื่องเป็นความลับ เราก็ได้มารับรู้ ในเรื่องพวกนี้ หากไม่มั่นใจในหลักสูตร หน่วยงานก็คงไม่กล้าเปิดเผย

“ยังประทับใจทีมงานหลักสูตร ที่ให้ความสำคัญกับเครือข่าย เป็นองค์ความรู้ที่แปลกใหม่ อย่างเอกชนบางหน่วยไม่สามารถเข้ามาได้เลย ที่สำคัญยังทำให้การประสานความร่วมมือง่ายขึ้นมากกว่าปกติ ถือเป็นการเปิดประสบการณ์จากงานนั่งโต๊ะ มาสู่การปฏิบัติ” รอง ผอ.ฝ่ายรักษาความปลอดภัย(ปฏิบัติการ) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กล่าว

 

ด้าน นายกิตติวัฒน์ สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมาย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ได้รับความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านต่างๆ เช่น ด้านความมั่นคง การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต และการนำระบบเทคโนโลยีและอิเล็คทรอนิกมาใช้ในการบริหารภาครัฐ ที่สำคัญ มีเครือข่ายในระดับผู้บริหาร ที่มีการผสมผสานจากคนหลายหลายรุ่น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่สามารถ นำไปต่อยอด ในการดำเนินงานของสำนักงาน เพื่อประสานประโยชน์ ให้เกิดกับประชาชนตามบทบาทและภารกิจของสำนักงาน ส่วนการมาดูงานที่กรมศุลกากรวันนี้ ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทภารกิจของศุลกากรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และการจัดเก็บรายได้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการนำมาใช้พัฒนาประเทศ พิธีศุลกากร การส่งเสริมการค้าภายในและภายนอก การตรวจสอบสินค้าที่ผิดกฎหมาย ที่บ่อนทำลายเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นต้น

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image