อุณหภูมิร่างกาย เปรียบเสมือนตัวชี้วัดสุขภาพที่สำคัญ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวัดอุณหภูมิร่างกายบ่อย ๆ เพราะอุณหภูมิที่ผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการเจ็บป่วยในร่างกายได้ บทความนี้จึงจะพารู้จักกับอุณหภูมิร่างกาย รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิร่างกาย มาดูไปพร้อมกันว่า อุณหภูมิร่างกายที่ปกติและผิดปกติ อยู่ที่ประมาณเท่าไรกันแน่?
อุณหภูมิร่างกายคืออะไร?
อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature) คือ ระดับสมดุลของการผลิตความร้อน และการสูญเสียความร้อนในร่างกายมนุษย์ ซึ่งจะถูกควบคุมด้วยสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypotalamus) โดยจะควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ เพื่อให้อุณหภูมิของร่างกายอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
อุณหภูมิร่างกายของแต่ละช่วงวัย
อุณหภูมิร่างกายของแต่ละช่วงวัย อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้
- วัยทารก และเด็กเล็ก อุณหภูมิร่างกายปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 6-37.2 องศาเซลเซียส
- วัยผู้ใหญ่ อุณหภูมิร่างกายปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 1-37.2 องศาเซลเซียส
- วัยสูงอายุ ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป อุณหภูมิร่างกายปกติเฉลี่ยไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส
ปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิร่างกาย
- เพศ เพศหญิงจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้รวดเร็วกว่าเพศชาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีประจำเดือน อุณหภูมิร่างกายอาจเพิ่มขึ้นประมาณ 3-0.5 องศาเซลเซียส
- อายุ ผู้สูงอายุจะมีอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าคนวัยอื่น ๆ
- บุหรี่ ควันบุหรี่และการเผาไหม้ของบุหรี่ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
- แอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว อุณหภูมิบริเวณผิวหนังจึงเพิ่มขึ้น
- ช่วงเวลาที่วัด ในช่วง 00 – 17.00 น. อุณหภูมิร่างกายมักจะสูงสุด และจะค่อย ๆ ลดลงจนต่ำสุดในเวลา 23.00 – 01.00 น.
อุณหภูมิเท่าไรที่บอกว่าร่างกาย “ไม่ปกติ”
อุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เพราะบ่งบอกถึงภาวะไข้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- 5-38.4 องศาเซลเซียส หมายถึง มีไข้ต่ำ
- 5-39.4 องศาเซลเซียส หมายถึง มีไข้สูง
- 40 องศาเซลเซียส ขึ้นไป หมายถึง มีไข้สูงมาก
นอกจากนี้อุณหภูมิร่างกายที่ต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส ก็ถือว่าผิดปกติเช่นเดียวกัน เรียกกันว่า ภาวะตัวเย็น (Hypothermia) ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การสัมผัสอากาศเย็นจัด สวมใส่เสื้อผ้าที่หนาไม่มากพอ การใช้ยาบางชนิด หรือมีโรคประจำตัว เป็นต้น กรณีที่อุณหภูมิร่างกายต่ำมาก และมีอาการผิดปกติร่วมด้วย เช่น ตัวสั่น สับสน และผิวหนังเย็นและซีด ควรไปพบแพทย์ทันที
ตำแหน่งที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยว่า ถ้าอยากรู้อุณหภูมิร่างกายของตัวเอง ควรวัดตำแหน่งไหน ตามปกติแล้ว แพทย์จะวัดอุณหภูมิใน 4 จุดสำคัญของร่างกาย ได้แก่ หน้าผาก ใต้ลิ้น รักแร้ และทวารหนัก ซึ่งแต่ละจุดก็จะมีอุณหภูมิแตกต่างกัน และเหมาะกับเครื่องวัดอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ดังนี้
- หน้าผาก ควรใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด โดยอุณหภูมิปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 4-37.4 องศาเซลเซียส
- ใต้ลิ้น ควรใช้ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล โดยอุณหภูมิปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 5-37.5 องศาเซลเซียส
- รักแร้ ควรใช้ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล โดยอุณหภูมิปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 7-37.3 องศาเซลเซียส
- ทวารหนัก (มีความแม่นยำสูงกว่าการวัดตำแหน่งอื่น ๆ) ควรใช้ปรอทวัดไข้สำหรับสอดเข้าทางทวารหนัก โดยอุณหภูมิปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 6-38.0 องศาเซลเซียส
สรุปบทความ
อุณหภูมิของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ช่วงเวลาที่วัด รวมถึงปัจจัยรอบตัวซึ่งล้วนส่งผลทำให้ค่าอุณหภูมิเปลี่ยนไปได้ เมื่อใดก็ตามที่พบว่าตนเองมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกายปกติ และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหัว อาเจียน หนาวสั่น หรือตัวร้อนสูง ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับคำปรึกษา วินิจฉัยอาการ และเข้ารักษาต่อไป
สำหรับใครที่อยากได้เครื่องมือวัดอุณหภูมิมาไว้ใช้ ขอแนะนำให้เลือกซื้อจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ อย่าง OMRON ก็เป็นอีกแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพที่น่าสนใจ โดย OMRON ได้ออกแบบเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายมาให้ใช้งานง่าย หยิบจับสะดวก มีให้เลือก 3 แบบ ทั้งเครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก เครื่องวัดอุณหภูมิทางหู และเครื่องวัดอุณหภูมิแบบแท่ง หรือปรอทวัดไข้ เลือกซื้อให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ต้องการวัดได้เลย หากสนใจสามารถสั่งซื้อได้ผ่าน Shopee, Lazada หรือร้านขายยาชั้นนำ