เริ่มต้นวางแผนการเงินด้วยพันธบัตรรัฐบาล ลงทุนง่าย กำไรดีที่กรุงไทย

พันธบัตรรัฐบาลถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุกที่ได้รับความนิยมมากของคนในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ มีความมั่นคงสูง รวมถึงให้ผลตอบแทนในอัตราที่เหมาะสม ใครกำลังมองหาข้อมูลการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือกองทุนรวมที่เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนมากพอ วันนี้จะขอมาแนะนำข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พันธบัตรรัฐบาลคืออะไร?

พันธบัตรรัฐบาล คือ สัญญาทางการเงินที่รัฐบาลเป็นผู้ออกตราสารเพื่อระดมเงินทุนจากประชาชนและนักลงทุกที่สนใจ ซึ่งรัฐบาลจะนำเงินลงทุนที่ได้รับมาไปใช้ในการชำระหนี้หรือนำไปใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยปีละ 3% พร้อมเงินต้นเมื่อครบสัญญา แน่นอนว่าการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง แต่การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนั้นถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและไม่ต้องกังวลว่าจะสูญเสียเงินต้น ด้วยผู้ลงทุนเปรียบเสมือนเจ้าหนี้ รัฐบาลจึงมีหน้าที่จะต้องนำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาจ่ายคืนตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา

พันธบัตรรัฐบาลแบ่งออกเป็น 5 ประเภท

  1. ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) พันธบัตรรัฐบาลแบบระยะสั้น ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ทั้งพันธบัตรรัฐบาลแบบ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี รัฐบาลจะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนเป็นส่วนต่างของราคา
  2. พันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond) เป็นพันธบัตรรัฐบาลที่มีเงื่อนไขเอื้อต่อนักลงทุนที่เป็นประชาชน ด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ประชาชนมีการออมมากขึ้น
  3. พันธบัตรรัฐบาลแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed rate Government Bond) เป็นพันธบัตรรัฐบาลแบบระยะยาว ซึ่งอายุของพันธบัตรรัฐบาลประเภทนี้มีให้เลือกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สูงสุด 50 ปี รัฐบาลจ่ายผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยแบบคงที่ โดยจ่ายปีละ 2 ครั้ง ส่วนเงินต้นจะจ่ายให้เมื่อไถ่ถอน
  4. พันธบัตรรัฐบาลชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation-linked Bond) ไม่ระบุระยะเวลาของพันธบัตร แต่ระบุการจ่ายผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยทุก ๆ 6 เดือน ส่วนเงินต้นจะได้รับคืนเมื่อไถ่ถอน พร้อมกับชดเชยในส่วนของเงินเฟ้ออ้างอิงจากดัชนีเงินเฟ้อทั่วไป
  5. พันธบัตรรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating rate Bond) เป็นพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป รัฐบาลจ่ายผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย

ความแตกต่างของพันธบัตรรัฐบาลและกองทุนรวม

พันธบัตรรัฐบาลและกองทุนรวมมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน  ดังนี้

พันธบัตรรัฐบาล

จุดเด่นของพันธบัตรรัฐบาล

  • ความเสี่ยงต่ำ
  • ผลตอบแทนคงที่
  • ซื้อขายง่าย คล่องตัว

จุดด้อยของพันธบัตรรัฐบาล

  • ผลตอบแทนต่ำกว่าการลงทุนในทรัพย์สินอื่น ๆ

กองทุนรวม

จุดเด่นของกองทุนรวม

  • มีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ให้
  • ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน
  • กองทุนบางประเภทสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
  • ผลตอบแทนสูง

จุดด้อยของกองทุนรวม

  • การขายกองทุนต้องใช้เวลาประมาณ 3 – 5 วันทำการจึงจะได้รับเงินคืน
  • มีความเสี่ยงสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล
  • บางกองทุนมีค่าธรรมเนียมสูง

ดังนั้นหากคุณต้องการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำควรเลือกลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแต่ต้องยอมรับผลตอบแทนแบบคงที่ แต่หากต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ควรเลือกลงทุนด้วยการซื้อกองทุนรวมที่ดำเนินการโดยผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์สูง หรือเลือกกระจายความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการจัดสรรปันส่วนไปลงทุนทั้ง 2 ประเภทตามความเหมาะสม

ADVERTISMENT

วิธีซื้อพันธบัตรรัฐบาล

เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลเป็นที่ต้องการของตลาด ผู้ลงทุนจึงควรติดตามข่าวการเสนอขายพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรก (การซื้อขายพันธบัตรระหว่างรัฐบาลกับนักลงทุนโดยตรง) จากทางธนาคารพาณิชย์ โดยบุคคลทั่วไปจะสามารถซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้ในราคาเริ่มต้นหน่วยละ 1 – 1,000 บาท

สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลกับธนาคารกรุงไทยสามารถซื้อผ่านทางแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ที่รองรับทั้งระบบ iOS และ Android หรือซื้อจากแอปฯ เป๋าตังผ่านบริการวอลเล็ต สบม. โดยเริ่มต้นที่ 100 หน่วย หน่วยละ 1 บาทเท่านั้น สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลระหว่างนักลงทุนกับนักลงทุน) สามารถติดต่อซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลที่แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT ได้เช่นกัน โดยผ่านบริการ Money Connect ซึ่งบริการนี้สามารถทำรายการด้วยตัวเองได้แบบ Real Time ตลอด 24 ชั่วโมง และที่สำคัญไม่เสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล รวมถึงในกรณีที่คุณขายคืนพันธบัตรรัฐบาลจะได้รับเงินทันที

ADVERTISMENT

พันธบัตรรัฐบาลเปิดขายช่วงไหนบ้าง?

ในปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมากระทรวงการคลังเปิดจองพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 11 – 19 มีนาคม 2567 และเปิดจองพันธบัตรออมทรัพย์ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2567 จำหน่ายให้กับบุคคลธรรมดา โดยแบ่งพันธบัตรออมทรัพย์ออกเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 3.0% ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 3.4% ต่อปี และในวันที่ 26 – 27 สิงหาคม 2567 จำหน่ายให้กับนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 3.0% ต่อปี โดยสามารถติดต่อเพื่อจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้ทั้งทางเคาน์เตอร์ธนาคารพาณิชย์และทางแอปพลิเคชันของธนาคาร

สำหรับในปี พ.ศ. 2568 มีการคาดการณ์ว่าจะเปิดให้จองพันธบัตรรัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปี ใครที่กำลังรอจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลควรติดตามข่าวจากธนาคารพาณิชย์อยู่เสมอเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรก

คุณสมบัติผู้จองซื้อพันธบัตรรัฐบาล

สำหรับผู้ที่สามารถจองซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคคลธรรมดาทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่หากอายุยังไม่ครบ 20 ปี จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนจึงจะสามารถซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้ รวมถึงจะต้องถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น และกลุ่มนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ สถานศึกษา และโรงพยาบาลของรัฐ

การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมีความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่และนักลงทุนมืออาชีพที่มองหาความมั่นคงและผลตอบแทนที่แน่นอน ช่วยให้นักลงทุนบริหารเงินต้นได้อย่างเบาใจ และนอกจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแล้ว สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่มเติมแต่ไม่มีเวลาจัดการการลงทุนด้วยตัวเอง สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง และต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้น การลงทุนด้วยการซื้อกองทุนรวมถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากมีกองทุนให้เลือกลงทุนหลากหลาย สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะกับสไตล์การลงทุนของตัวเองและเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีระดับความเสี่ยงที่รับไหวได้ ที่สำคัญยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมืออาชีพมาบริหารจัดการกองทุนให้เกิดผลกำไรอีกด้วย

หากสนใจลงทุนกับพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลได้ ที่นี่ และยังสามารถเข้าไปดูทางเลือกการลงทุนในกองทุนรวมต่าง ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากกรุงไทยได้ที่ https://krungthai.com/th/content/personal/investment/mutual-funds

ที่มาข้อมูล

  • https://www.setinvestnow.com/th/mutualfund/types-of-mutual-funds
  • https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1755
  • https://krungthai.com/th/corporate/fx-derivatives-and-investment-banking/fx-derivatives/413
  • https://krungthai.com/th/content/personal/investment/mutual-funds
  • https://krungthai.com/th/personal/detail/594
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image