ร้อนนี้ ชวนส่องนวัตกรรมความเย็นเพื่อสุขภาพ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่

 

ปีนี้ประเทศไทยอากาศร้อนระอุมาก โดยกรมอุตุนิยมวิทยาเผยว่าอุณหภูมิสูงสุดจะแตะ 43 องศาเลยทีเดียว และในช่วงอากาศร้อนอย่างนี้ เครื่องปรับอากาศจึงถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าคู่บ้านที่ไม่ว่าจะเป็นบ้านไหนก็ต้องมีไว้คลายร้อน โดยเฉพาะพฤติกรรมการคลายร้อนยอดฮิตนั่นก็คือ ยิ่งร้อนยิ่งเร่งแอร์ ให้ลมแอร์เป่าโดนตัว แต่ปัญหาที่มาพร้อมลมแรงจากเครื่องปรับอากาศ ที่ไม่ควรมองข้ามนั้นมีมากมาย วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ     จากผู้เชี่ยวชาญ มาให้ความรู้เกี่ยวกับอาการที่มาพร้อมเครื่องปรับอากาศ มาให้ทุกคนได้เตรียมพร้อมรับมืออากาศที่ร้อนแบบทรหดของประเทศไทยกัน

ดร. ณิชมน สมันตรัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนเชอโรพาธิค ศาสตร์การแพทย์ที่เน้นการรักษาและดูแล ไปจนถึงการปรับวิถีชีวิตให้ห่างไกลโรค กล่าวว่า “การอาศัยอยู่ในประเทศอากาศร้อนอย่างประเทศไทย อีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทุกบ้านต้องมีคือเครื่องปรับอากาศโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ช่วงซัมเมอร์แบบนี้ โดยหลายคนมักชอบให้ลมของเครื่องปรับอากาศเป่ามาปะทะตัวโดยตรง แต่รู้หรือไม่ว่าลมที่ปะทะตัวโดยตรงนั้นสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่น้อยเลยทีเดียว”

ดร.ณิชมน สมันตรัฐ

“การโดนลมเย็นปะทะตัวโดยตรงจะทำให้หลอดเลือดหดตัวซึ่งนำมาสู่อาการปวดหัว นอกจากการปวดหัวทั่วไป การที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ส่งผลให้เกิดไมเกรนบ่อยและรุนแรงขึ้น[1] นอกจากนี้ ลมที่ปะทะผิวโดยตรงนั้นจะทำให้ผิวแห้งตึงและขาดน้ำได้ง่าย ส่งผลให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร เด็กๆ ที่มีผิวแห้งอาจจะทำให้เกิดอาการผื่นจากผิวหนังอักเสบ[2] อีกด้วย นอกจากผิวภายนอกจะแห้งแล้ว เยื่อบุภายในต่างๆ ก็แห้งตามไปด้วย โดยเฉพาะจมูกที่เราหายใจรับลมแรงๆ เข้าไปโดยตรง เมื่อแห้งแล้วก็มักจะเกิดอาการระคายเคืองและเลือดกำเดาไหลได้ง่าย[3] รวมไปถึงการนำไปสู่โรคจมูกอักเสบเรื้อรังได้ การโดนลมปะทะตัวโดยตรงจะทำให้อาการทรุดลงได้ อาจลองสังเกตอาการเจ็บคอ เสียงแหบหรือคออับเสบหลังจากตื่นนอน”

Advertisement

 

หญิงแอร์มรว.จันทรลัดดา ยุคล คุณแม่คนเก่งมากความสามารถ เป็นที่รู้กันดีว่าคุณหญิงแอร์ใส่ใจเรื่องสุขภาพมาก “กล่าวว่า สุขภาพของลูกชาย น้องพลาย น้องพร้อม น้องพจน์ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งกลางคืนเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับเด็กวัยกำลังโต เพราะร่างกายจะเจริญเติบโตเต็มที่ในช่วงเวลาที่นอนหลับสนิท จึงอยากให้ลูกๆ นอนหลับสบายตลอดคืน เพื่อมีพัฒนาการเจริญเติบโตที่ดีและตื่นมาสดชื่นพร้อมรับวันใหม่ ซึ่งประเทศไทยมีอากาศร้อนมาก ทุกคนในบ้านนอนห้องแอร์กันหมด แต่ปัญหาหลักคือเมื่อก่อนลูกๆ จะตื่นนอนมาแล้วรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวหรือบางครั้งก็ตื่นมากลางดึก เพราะลมจากเครื่องปรับอากาศเป่าลมแอร์ลงมาโดนโดยตรงตลอดเวลาและทำให้เย็นเกินไป หรือแม้กระทั่งตัวแอร์เองที่ตื่นมาแล้วปวดหัว รู้สึกไม่สดชื่น  คงจะดีมากถ้ามีตัวช่วยที่ทำให้นอนหลับสนิทได้สบายตลอดคืน”

Advertisement

ด้านสองหนุ่มคุณพ่อมือใหม่ของวงการ มิกบรมวุฒิและชายชาติโยดม เปิดใจว่า “หน้าร้อนนี้อากาศร้อนจัดมาก เป็นห่วงลูก น้องปริมและน้องตฤณ กลัวน้องจะร้อนแล้วอึดอัด ไม่สบายตัว  ดังนั้นคือแก้ปัญหาไปเลยว่าให้อยู่ห้องแอร์ แต่น้องทั้งคู่ยังเด็กมากๆ ถ้าให้อยู่ห้องแอร์ตลอดก็กังวลว่าลูกจะไม่สบาย เพราะลมแอร์มักจะเย็นและแรงเกินไปสำหรับเด็กอ่อน จึงต้องหาแอร์ที่มีเทคโนโลยีที่เย็น สบาย แต่ไม่มีลมแรง” สองพี่น้องเผยว่า “งานนี้โจทย์ยากมากที่จะหาแอร์ที่ใช่ เปิดปุ๊ปเย็นปั๊ปและไม่มีลมเป่าโดนตัวลูก”

เสาวณีย์ สิราริยกุล

ซัมซุงนำเอาปัญหาที่เกิดจากเครื่องปรับอากาศ มาคิดค้นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนสมัยใหม่ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพ เสาวณีย์ สิราริยกุล ผู้อำนวยการธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน กล่าวว่า “เทคโนโลยี Wind-Free™ ในเครื่องปรับอากาศ ซัมซุง อินเวอร์เตอร์ ที่มีเทคโนโลยี วินด์ฟรี (Samsung Inverter Wind-Free™) กับแนวคิดแอร์ที่ดีต่อสุขภาพ นวัตกรรมที่พัฒนาจากการรับฟังเสียงผู้บริโภค คงอุณหภูมิความเย็นในห้องโดยที่ไม่มีลมกระทบตัว และช่วยให้ผู้ใช้สัมผัสอากาศที่เย็นสบายอย่างที่สุด ทั้งยังดีต่อสุขภาพเพราะไม่มีกระแสลมแรงปะทะตัว ช่วยลดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากเครื่องปรับอากาศ  นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ 8-Pole ที่ช่วยประหยัดไฟได้มากขึ้น เพราะให้การทำงานของมอเตอร์หมุนได้ราบรื่น สม่ำเสมอ ให้ความเร็วรอบสูงสุดในเวลาที่สั้นที่สุด จึงช่วยลดการใช้พลังงานได้ดีขึ้น”

เรื่องที่หลายคนมองข้าม อาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม รู้แบบนี้แล้ว ใส่ใจต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวเราให้มากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนของคุณและคนที่คุณรัก ด้วยการเลือกนวัตกรรมที่ใส่ใจสุขภาพกันเถอะ

# # #

[1] Curr Pain Headache Rep. Author manuscript; available in PMC 2014 Oct 1. Migraine and triggers.

[2] Allergol Immunopathol (Madr). 2014 Nov-Dec;42(6):539-43. doi: 10.1016/j.aller.2014.06.003. Epub 2014 Sep 6. Can early skin care normalise dry skin and possibly prevent atopic eczema? A pilot study in young infants.

[3] Ochsner J. 2010 Fall; 10(3): 176–178. Epistaxis: A Common Problem.

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image