ซีพีเอฟลดการใช้ปลาป่นในสูตรอาหารสัตว์น้ำ ส่งเสริมความยั่งยืนการใช้ทรัพยากรทางทะเล

 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มุ่งมั่นส่งเสริมความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรทางทะเลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  เดินหน้าความร่วมมือกับองค์กรและสมาคมต่างๆ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล   คาดในอีก 3 ปีข้างหน้าลดสัดส่วนการใช้ปลาป่นในสูตรอาหารสัตว์น้ำเหลือไม่เกิน 5 % 

น.สพ.สุจินต์  ธรรมศาสตร์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฎิบัติการ สายธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ มีเป้าหมายดำเนินงานเรื่องการใช้ทรัพยากรจากทะเลชัดเจน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะลดการใช้ทรัพยากรทางทะเลด้วยการปรับปรุงพันธุ์สัตว์  ลดการใช้น้ำทะเลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ   ทำให้การผลิตอาหารกุ้ง สามารถลดสัดส่วนการใช้ปลาป่นจากเดิมที่  35 % เหลือเพียง7% ในปัจจุบัน และในอีก 3 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเหลือเพียง 5 % เท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนที่เรายังสนับสนุนอุตสาหกรรมประมงที่ถูกกฎหมาย

“บริษัทฯมีแนวทางชัดเจนในการปกป้อง อนุรักษ์ เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล โดยให้ความสำคัญการพัฒนานวัตกรรมสูตรอาหารกุ้ง เพื่อลดการใช้ปลาป่นซึ่งได้มาจากทรัพยากรทางทะเล รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์จากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมาเป็นกุ้งขาวแวนนาไม ทำให้ลดสัดส่วนการใช้ปลาป่นในสูตรอาหารสัตว์ลงจาก 35% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เหลือ 7% ในปัจจุบัน” น.สพ.สุจินต์ กล่าว

Advertisement

น.สพ. สุจินต์ กล่าวย้ำว่า ภายใต้วิสัยทัศน์ของซีพีเอฟสู่การเป็นครัวของโลก (Kitchen of the world) ธุรกิจสัตว์น้ำของบริษัททั้งอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และอาหารแปรรูป-สำเร็จรูป ทำให้บริษัทไปเกี่ยวข้องกับทะเล เช่น ปลาป่นและการใช้น้ำทะเลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้บริษัทตระหนักดีและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน

นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังมีโครงการ ‘ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน’ โดยร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์การมหาชน) และเครือข่ายภาคประชาสังคม ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่  เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศของประเทศทั้งทางทะเลและทางบกอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ ยังได้ร่วมมือกับ 8 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย  สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย  สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ประกาศเจตนารมย์สนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน  หรือ Fishery Improvement Plan –FIP ใน 2 ฝั่งทะเลของไทย คือ ฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย ซึ่งคาดว่าประมาณปลายปี 2560 นี้ จะมีการประกาศหลักเกณฑ์เพื่อที่จะนำมาสู่การปฏิบัติ  ซึ่งเชื่อว่าโปรแกรมดังกล่าวจะช่วยฟื้นฟูทะเลให้กลับมามีสภาพอุดมสมบูรณ์

Advertisement

อนึ่ง  บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเพาะเลี้ยงและผลิตอาหารกุ้ง  โดยรับซื้อปลาป่นสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารกุ้งซึ่งใช้สำหรับเลี้ยงกุ้งของฟาร์มของบริษัท  โดยทั่วไปวัตถุดิบในการผลิตปลาป่นมาจาก 1. ผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ (By-Product) เช่น โรงงานซูริมิ โรงานผลิตทูน่ากระป๋อง โรงงานผลิตลูกชิ้นปลา 2.ผลพลอยได้จากการทำประมง (By-Catch) ซึ่งปัจจุบันมีมาตรฐานสากลด้านความยั่งยืนและทวนสอบย้อนกลับของปลาป่นที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล (International Fishmeal and Fish Oil Organization ’s Responsible Supply Chain of Custody หรือ IFFO RS COC ซึ่งรับรองโดยองค์กรปลาป่นสากล (IFFO)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image