มกอช.เสริมเขี้ยวเล็บ โรงคัดบรรจุฯ พื้นที่แปลงใหญ่ทั่วประเทศ

มกอช.รุกขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด เร่งถ่ายทอดองค์ความรู้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ผู้ผลิและผู้รวบรวมผักและผลไม้สดในพื้นที่แปลงใหญ่ทั่วประเทศ หวังยกระดับโรงคัดบรรจุเข้าสู่มาตรฐาน” มกษ 9035 เพิ่มขีดความสามารถด้านแข่งขันผักและผลไม้สดของไทยในตลาดโลก

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า ปัจจุบันการแข่งขันสินค้าผักและผลไม้สดทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้น ประกอบปัจจัยภายในประเทศที่มักจะประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาดส่งผลให้ราคาตกต่ำเป็นประจำทุกปี มกอช.จึงได้เร่งขับเคลื่อนการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรในพื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ภายใต้แผนการพัฒนาการเกษตร 5ปี (2560-2564) พุ่งเป้าเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรได้มาตรฐานรองรับความต้องการของตลาดทั้งภายในและตลาดโลก

ล่าสุด มกอช.ได้มอบป้ายโครงการพัฒนาโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด ภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสําหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด (มกษ.9035) ในพื้นที่แปลงใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยให้แก่ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดอาหารปลอดภัย กรีนมาร์เก็ต พิษณุโลก จำกัด จ.พิษณุโลก ซึ่งสินค้าจากโรงคัดฯที่ผ่านการรับรองสามารถตามสอบได้ด้วยเทคโนโลยีการใช้สมาร์ทโฟนสแกนเครื่องหมาย “คิวอาร์ เทรซ”(QR Trace) และเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศให้การยอมรับ

Advertisement

ในอนาคต มกอช.มีแผนที่จะผลักดันสินค้าภายใต้ระบบดังกล่าวเข้าสู่ตลาด ดีจีทีฟาร์มดอทคอม หรือ www.dgtfarm.com เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและขยายทางเลือกในการจำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยของเกษตรกร และให้ผู้บริโภคสามารถเข้ามาเลือกซื้อสินค้าหรือช้อปปิ้งสินค้าเกษตรและอาหารได้โดยตรง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมามกอช.ได้ให้การสนับสนุนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ผู้ผลิตหรือผู้รวบรวมผักและผลไม้สดและเอกชนกว่า 100รายจากจังหวัดต่างๆที่เป็นแหล่งผลิตผักและผลไม้ที่สำคัญ ในการเพื่อเร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการผลิตพืชผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP มาตรฐาน GMP การตามสอบด้วย QR Code และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสุ่มตรวจสารพิษด้วย test kit เป็นต้น

Advertisement

สำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และนำไปวางแผนและควบคุมดูแลการผลิตพืชผักและผลไม้ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยมากขึ้น สอดคล้องตามมาตรฐาน มกษ. ซึ่งในอนาคตหากเกษตรกรและผู้ประการผ่านการรับรองมาตรฐานดังกล่าวมากขึ้น จะช่วยทำให้ลดความเสี่ยงจากปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดและราคาตกต่ำ ที่สำคัญจะผลักดันให้ผักและผลไทยเป็นที่ยอมรับของของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น โดยผักและผลไม้สดในเป้าหมายได้แก่ มะม่วง มังคุด ทุเรียน ส้มโอ ฝรั่ง ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี เป็นต้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image