ขานรับนโยบาย “บิ๊กตู่” สร้าง “รร.ประชารัฐ จว. ชายแดนใต้” จ่อเปิดสอนปีการศึกษา 2561 ลดเหลื่อมล้ำ-พัฒนาคนยั่งยืน

“โครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้และอาชีวศึกษาประชารัฐ” เป็นโครงการที่รัฐบาลมอบเป็นของขวัญให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนประจำเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อย

ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี หรือผู้ที่ลงทะเบียนอยู่ในบัญชีของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือเป็นครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมไปถึงนักเรียนที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีผู้อุปการะ โดยนักเรียนกลุ่ม

ดังกล่าวจะได้รับการดูแลทั้งเรื่องของที่พักนอน ความปลอดภัย อาหารครบ 3 มื้อ อุปกรณ์ที่ใช้พัก-ใช้ประกอบอาหาร ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆ ตามความจำเป็นพื้นฐานของวัยเรียน

จากสรุปการประชุมการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ “โรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้”  ประจำปีการศึกษา 2561 เมื่อ 26 เมษายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี พล.อ สุรเชษฐ์ ชัยวงค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้ เน้นย้ำให้เกิดการดำเนินการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งผ่านความเห็นชอบโครงการและงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้ทุกโรงเรียนมีความพร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่จะรองรับนักเรียนเข้าสู่โครงการโรงเรียนประชารัฐ จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามเป้าหมายการเปิด ภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา2561 นี้

Advertisement

การประชุมรอบนี้เพื่อตรวจสอบความพร้อมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความพร้อมอย่างแท้จริง ไม่ว่าในเรื่องของการเตรียมที่พัก การเตรียมงานต่างๆ เตรียมครู เพราะว่าโครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นความตั้งใจพิเศษของท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ผู้ที่ลงทะเบียนอยู่ในบัญชีของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเองก็ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดำเนินการในเรื่องนี้ ให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้  ซึ่งโครงการดังกล่าว จะสามารถช่วยให้ เด็กนักเรียนในชุมชนที่ขาดโอกาส ได้รับโอกาสทั้งการดูแลชีวิตและมีการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างตรงเป้าหมาย และจัดการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้  รมช.ศึกษาธิการ กล่าว

Advertisement

ด้าน นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ)  กล่าวถึงรายละเอียด เพิ่มเติมว่า สำหรับโรงเรียนประชารัฐฯ ในหนึ่งอำเภอนั้น จะมีโรงเรียนประถมศึกษา 1 โรงเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 37 อำเภอ ในจังหวัดปัตตานี, ยะลา, นราธิวาสและสงขลา 4 อำเภอ (จะนะ, นาทวี, เทพา, สะบ้าย้อย) รวม 64 โรงเรียน และมีวิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาอีก 1 วิทยาลัยในจังหวัด ซึ่งแต่ละโรงเรียนได้เตรียมคณะผู้บริหารและครูมืออาชีพไว้คอยดูแล ทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิต และส่งเสริมให้ฝึกอาชีพตามแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2561 ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมถึง 64 โรง และ มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ 4,206 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม 3,830 คน และเป็นนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธ 376 คน

“โรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นโรงเรียนประจำที่ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยในจังหวัดชายแดนใต้ ได้เข้าถึงสวัสดิการของรัฐ หากแต่ยังสร้างความเท่าเทียมด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับคนในพื้นที่เหล่านี้ อีกด้วย

น.ส.ศิริประภา ชำนาญธุรกิจ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนเทพา อ.เทพา จ.สงขลา หนึ่งในนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ “ดีใจมากๆ ที่จะมีโอกาสได้เรียนต่อเพราะฐานะทางบ้านยากจน มีชีวิตที่ค่อนข้างลำบาก แม่ต้องกรีดยางและเก็บผักไปขายที่ตลาด ซึ่งมีรายได้ในแต่ละวันไม่แน่นอนเฉลี่ยแล้วไม่เกิน 100 บาทต่อวัน ไม่เพียงพอเลยสำหรับเลี้ยงคนในครอบครัว 5 คน ซึ่งตนคงไม่มีโอกาสได้เรียนจนจบ ม.6 และเรียนต่อสูงๆ พอมีโครงการโรงเรียนประชารัฐและตนสามารถสมัครเข้าเรียนได้ ก็รู้สึกดีใจมาก ที่จะได้มีโอกาสเรียนให้สูงมีอาชีพเพื่อที่จะดูแลตัวเองและครอบครัวได้”

ด.ช.วันชะหมัด แวมูหิด นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนชุมชนบ้านกรือเซะ อ.เมือง จ.ปัตตานี อีกหนึ่งในนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ “ผมดีใจมากที่ได้เข้าโครงการโรงเรียนประชารัฐเนื่องจากพ่อแม่ผมมีลูก 12 คน ผมเป็นคนที่ 10 พ่อผมต้องทำงานคนเดียวมีรายได้วันละ 100 – 200 บาท

บางวันก็ไม่มีเลยถ้าไม่มีโครงการประชารัฐผมคงไม่ได้เรียนต่อ เพราะที่บ้านไม่มีเงินให้ผมไปโรงเรียน แต่โครงการประชารัฐทำให้ผมมีโอกาสเรียนต่อ มีอาหารกินครบทุกมื้อ ช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ผมและผมก็ดีใจมากๆ ครับ”

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image