สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) จับมือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จัดโครง
การประกวดธุรกิจนวัตกรรม UAV STARTUP 2018 Pitching ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ GISTDA ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA จัดการแข่งขัน Pitching ครั้งที่ 1 ประกวดข้อเสนอโครงการ ของการประกวดธุรกิจนวัตกรรม UAV STARTUP 2018 โดยมีผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 20 ทีม ที่ผ่านการอบรมพัฒนาทักษะด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านการนำเสนอ ด้านเทคนิค รวมถึงการทำแผนธุรกิจ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมทั้งหมดนั้นมาปรับปรุงและพัฒนาโครงการของแต่ละทีม เพื่อขึ้นนำเสนอต่อคณะกรรมการและผู้ประกอบการที่มีความสนใจเข้าร่วมฟังการแข่งขัน เพื่อเฟ้นหาไอเดียธุรกิจใหม่ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมและเศรษฐกิจ การแข่งขัน Pitching ครั้งที่ 1 ประกวดข้อเสนอโครงการนี้ได้จัดขึ้นในวันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2561 เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ ห้อง BB201 โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์แจ้งวัฒนะ กทม.

การแข่งขันในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม จากหลากหลายสถาบัน ซึ่งทีมการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ 1.ทีมโครงการระบบตรวจการอัจฉริยะบนมือถือ 2.ทีมการพัฒนาต้นแบบอากาศยานไร้คนขับแบบแควดคอปเตอร์ระบบไร้ใบ 3.ทีมนวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของไม้ผลเพื่อการส่งออก 4.ทีมฝูงบินโดรน (Drone Swarm) สำหรับประยุกต์ใช้ในงานแสดงโชว์และงานด้านต่างๆ 5.ทีมโดรนปีกตรึงบินอัตโนมัติเพื่อการตรวจสอบโรคไร่อ้อย 6.ทีมภาพถ่ายความละเอียดเชิงพื้นที่สูงเพื่อใช้ในการอารักขาพืช 7.ทีมการประยุกต์ใช้ UAV ในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง 8.ทีมอากาศยานไร้คนขับสำหรับตรวจค่าดัชนีพรรณพืชแบบในเวลาจริง 9.ทีมอากาศยานไร้คนขับหว่านปุ๋ยชนิดเม็ดแบบสั่งตัดสําหรับการปลูกข้าว 10.ทีมระบบเปลี่ยนแบตเตอรี่อัตโนมัติพร้อมฟังก์ชั่นการตรวจสอบ Pre-flight and Post-flight และทีมการแข่งขันด้านสังคมได้แก่ 1.ทีมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสําหรับการสํารวจตรวจสอบและประเมินสภาพผิวถนน 2.ทีมโดรนกำจัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก 3.ทีมไอไลฟ์ ยูเอวี (iLife UAV) 4.ทีมศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมต้นแบบของระบบรักษาความปลอดภัยด้วยอากาศยานไร้นักบิน 5.ทีม Fire Fighting UAV 6.ทีม UAV-MED 7.ทีมโครงการอากาศยานไร้นักบินสำหรับผลิตกุ้งในระบบปิดโดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ 8.ทีมฝูงอากาศยานไร้นักบินระงับเหตุเพลิงไหม้ 9.ทีม โครงการอากาศยานไร้นักบินสำหรับพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 10.ทีม Drone AirQ Check

โดยการแข่งขันในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณวิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ ดร.เชาวลิต ศิลปทอง ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ให้เกียรติกล่าวแนะนำโครงการ UAV Startup ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ประกอบการในประเทศไทยให้มีการพัฒนาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการรุ่นใหม่ นอกจากจะได้รับความรู้อย่างเต็มที่แล้ว ยังเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างธุรกิจให้ก้าวหน้าและสร้างรายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อันจะช่วยผลักดันให้เกิดสังคมแห่งผู้ประกอบการ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และการแข่งขันรอบ Pitching ครั้งที่ 1 ในครั้งนี้จะมีผู้เข้ารอบด้านเศรษฐกิจ 5 ทีม และ ด้านสังคม 5 ทีม ซึ่งแต่ละทีมจะต้องไปแข่งต่อในรอบ Final Pitching เพื่อคัดสรรและหาบทสรุปทีมที่จะได้เป็นสุดยอดธุรกิจนวัตกรรม UAV Startup 2018

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image