เกษตรพะเยา ประเมินแล้งทำไร่ข้าวโพดเสียหายกว่าหมื่นไร่ รวมมูลค่าทะลุ 50 ล้าน

วันที่ 27 เมษายน เมื่อเวลา 09.30 น. นายอุดมศักดิ์ คำมูล เกษตร จ.พะเยา กล่าวว่าได้มีเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดในพื้นที่พะเยา 68 ตำบล 9  อำเภอ มาลงทะเบียนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในช่วงฤดูหน้าแล้งในปีการผลิต 2558/59 รวม 33,890 ไร่ ผลผลิตกว่า 24,000 ตัน ตันละ 5,000 บาท มูลค่ากว่า 120 ล้าน แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกเป็นเช่น อ.เมืองพะเยา 1,355 ไร่ จุน 352 ไร่ ปง 7,564 ไร่ เชียงม่วน 13,400 ไร่ ภูซาง 2,958 ไร่ และ อ.เชียงคำ 8,265 ไร่ แต่ไม่มีเกษตรกรปลูกข้าวโพด 3 อำเภอคือ อ.ดอกคำใต้, แม่ใจ, ภูกามยาว จากการที่ไม่ปลูกข้าวโพดเพราะแหล่งน้ำธรรมชาติไม่เพียงพอ ล่าสุดได้มีเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดมาลงทะเบียนประสบพิบัติภัยด้านภัยหนาวในปี 59/60 เช่น อ.ปง 3,004 ไร่ อ.เชียงม่วน 200 ไร่ อ.ภูซาง 484 ไร่ และ อ.เชียงคำ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเสียหาย 1,500 ไร่ ภาพรวมความเสียหาข้าวโพด ที่ประสบภัยแล้งแห้งตายทั้งจังหวัดกว่า 10,000 ไร่ ไร่ละ 900-1,000 กก. กก.ละ 5-6 บาท และคิดเป็นเงินมูลค่าไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท คาดการณ์ว่าในปีนี้ผลผลิตข้าวโพดจะลดลงไม่น้อยกว่า 50%

นายสวัสดิ์ กะรัตน์ เกษตร อ.เชียงคำ จ.พะเยา กล่าวอีกว่าในพื้นที่เชียงคำ 10 ตำบล มีเกษตรปลูกข้าวโพดในฤดูแล้งปีการผลิต 2558/59 รวม 8,265 ไร่ ผลผลิตไม่น้อยกว่า 8,000 ตัน มูลค่านับ 40 ล้านบาท ล่าสุดพื้นที่ปลูกข้าวโพดของเกษตรกร โดนภัยแล้งเสียหายนับ 1,500 ไร่ และเกษตรกรปลูกมาก 3-4 ตำบลคือ ต.ทุ่งผาสุข, ร่มเย็น, เจดีย์คำ, แม่ลาว และ ต.ฝายกวาง แต่ละปีที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับเงินจากการขายข้าวโพดไม่น้อยกว่า 50-60 ล้านบาท แต่ปีนี้พื้นที่ปลูกข้าวโพดประสบภัยแล้งประกอบกับทางการ หรือรัฐบาล คสช.ห้ามสูบน้ำจากห้วยหนองคลอง-บึง ไปใช้ส่วนตัว ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนไปตามๆ กันที่เรียกกันว่าโดน 3 เด้ง

201604271031154-20091113100932

ด้านนายบุญ วงศ์ราษฎร์ เกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดหมู่ 4 ต.ฝายกวาง อ.เชียงคำ-พะเยา เปิดเผยว่า ประกอบอาชีพเกษตรกรรมครบวงจรทุกรูปแบบนับ 20 ปี ทั้งทำนา, ทำไร่-ทำสวน ฯลฯ การที่ประสบภัยแล้งแต่ละปีผ่านมาถือว่าไม่เท่าไรรับได้ แต่ปีนี้ค่อนข้างจะรุนแรงในรอบ 59 ปี เพราะแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งขอดเหลือไม่ถึง 20% ประกอบกับทางผู้นำชุมชนประกาศเสียงตามสาย ที่ห้ามสูบน้ำธรรมชาติไปใช้ส่วนตัวทุกกรณี ทำให้ชาวไร่ข้าวโพดทุกข์หนักไปอีก แต่ละคนในหมู่บ้านต่างไปยืนมองข้าวโพดที่เหี่ยวแห้งด้วยความเสียดาย ที่เป็นรายได้ของชาวบ้านปีละครั้ง ที่จะได้เงินจากการขายผลผลิตทางการเกษตรแต่ละชนิด ที่เป็นอาชีพหลักของประชาชน  และราคาข้าวโพดในปีนี้เริ่มต้นที่ราคา กก.ละ 4.80-5 บาท  ต่างกว่าทุกปีที่ผ่านมา กก.ละ 5-6 บาท

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image