ตื่น! เด็กไทยอ้วนเพิ่ม 1.3 ล้าน พบน้ำตาลคือภัยร้ายคุกคามเยาวชนภาคเหนือ

พบพิษภัยจากน้ำตาลคุกคามเยาวชนภาคเหนือ สาเหตุเกิดโรคทั้งในวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ด้วยพฤติกรรมการกินของขบเคี้ยวขนมหวาน ชวนร่วมพัฒนาอาหารขบเคี้ยวปลอดภัยก่อนเข้าสู่การเจ็บป่วยโรคไต มะเร็งตับอ่อน นิ่งในถุงน้ำดี กระทบสังคมด้านสุขภาพรุนแรง

เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพนำโดยมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) โรงเรียนที่เข้าโครงการรวมทั้งผู้ปกครองและเด็กในจังหวัดแพร่ พะเยา พิจิตร เชียงใหม่ จำนวน 100 คน ร่วมกันจัดเวทีเสวนาหาทางออกปรับพฤติกรรมเด็กภาคเหนือเพื่อบริโภค 4 จังหวัดดังกล่าว โดยมีนางสุภาภร ถิ่นวัฒนากุล เลขาธิการมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ที่โรงแรมแทนเจอรีนวิลล์ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 18-19 ตุลาคมนี้

นางสุภาภร ถิ่นวัฒนากุล เลขาธิการมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยพบโรคอ้วนในเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากเด็กไทยนิยมบริโภคความหวาน โดยเฉพาะบริโภค ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม ชาเขียว เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลมาก โดยในระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมาพบว่าเด็กไทยมีภาวะน้ำหนักตัวเกินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คาดว่ามีประมาณ 1.3 ล้านคนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จากข้อมูลปัญหาโรคอ้วน ของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เคยรายงานว่าปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีโรคอ้วนมีอยู่ 5 อย่างคือปัญหาหัวใจและหลอดเลือด, ปัญหาระบบหายใจ ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กปัญหานิ่วในถุงน้ำดี ปัญหาที่ให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคไตโรคมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น , ปัญหาการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน( INSULIN ) ที่นำมาสู่การเกิดโรคเบาหวานและการระบาดของโรคอ้วนเกิดจากการนิยม “บริโภคน้ำอัดลม เครื่องดื่มน้ำตาลสูง และอาหารที่มีไขมันปริมาณมาก”

นางสุภาวดี ทมภักดิ์ สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดแพร่ จากสถิติผู้ป่วยพบว่าปัญหาและผลกระทบ จากน้ำอัดลม เครื่องดื่มน้ำตาลสูงในท้องตลาดและมีอิทธิพลต่อเด็กสูง คือ ช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต เซลล์ กล้ามเนื้อ อวัยวะต่างๆ ต้องถูกทำลายและทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา วิธีการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อลดการสูญเสีย “ พลังของชาติ” ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง ครู สถานศึกษา จึงต้องร่วมกันสร้างค่าความนิยมที่เกิดประโยชน์และชี้ให้เห็นถึงโทษอันรุนแรงที่สามารถแก้ไขได้ก่อนที่ภัยเงียบจะคุกคามอย่างรุนแรงมากไปกว่านี้

Advertisement

นางสาริกา ปันสมใจ ผู้ปกครองนักเรียนจังหวัดพิจิตร การบริโภคขนมและเครื่องดื่มของบุตรหลานจะพบว่าผู้ปกครองมีส่วนอย่างมากเพราะเป็นคนซื้อมาให้ ดังนั้นอยากให้ผู้ปกครองทุกคนก่อนซื้อขนมและเครื่องดื่มขอให้มีการอ่านฉลาด ก่อนซื้อเพื่อให้ได้ขนมและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและเกลือที่ไม่ป้นอันตรายกับบุตรหลาน

นายสุริยนต์ อุนจะนำ ครูโรงเรียนบ้านไร่อ้อยจังหวัดพะเยา การทำให้เด็กมีความรู้เท่าทันในการเลือกซื้อการและการบริโภคขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มผสมน้ำตาล การให้ความรู้ควรควบคู่การปฏิบัติ มีแผนการสอนและแกนนำเด็กนักเรียนที่ขับเคลื่อนกิจกรรมในแต่ละสถานศึกษารวมทั้งการสร้างแกนนำเด็กรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนในแต่ละสถานศึกษาประกอบกับเป็นนโยบายของเขตการศึกษา

นางสาวนิภาพร กัญทะวงค์ ผู้ประกอบการร้านค้า จังหวัดเชียงใหม่ การทำให้ร้านค้าในชุมชนมีการจัดสภาพแวดล้อมในการจำหน่ายสินค้า ควรมีการให้ความรู้กับผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการเป็นกลไกเพื่อทำหน้าที่ติดตามสนับสนุน ทั้งในกลุ่มผู้ปกครองเด็กนักเรียน และร้านค้าในสถานศึกษาร้านค้าชุมชน ให้ความรู้และความเข้าใจในการเลือกและการบริโภคขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มผสมน้ำตาลที่ปลอดภัยและกำหนดเป็นข้อบัญญัติ ท้องถิ่นเพื่อให้มีร้านค้าปลอดภัยในชุมชน รวมทั้งรัฐและผู้ประกอบการขายส่ง ควรนำขนมเขียวมาจำหน่าย ให้มีความหลากหลายเพื่อสร้างการเลือกในการบริโภค

นางสาวพวงทอง ว่องไว มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า การปรับพฤติกรรมลดบริโภคขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่มผสมน้ำตาล เพื่อนำไปสู่การลดภาวะน้ำหนักเกินตัวและโรคอ้วน การดำเนินงานควรเน้นความร่วมมือการทำงานระหว่างเด็กนักเรียน ครูในโรงเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ที่เป็นกลุ่มแม่ค้าและร้านค้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นข้อเสนอต่อการขับเคลื่อนการทำงานประกอบไปด้วย กระทรวงศึกษาธิการ ควรสนับสนุนให้มีแผนการสอนที่เป็นนโยบายของเขตการศึกษา ผู้ปกระกอบการควรคิดสูตรขนมเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย สนับสนุนการใช้โลโก้ทางเลือกให้มีขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นได้อย่างชัดเจน ติดผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลน้อยแต่ สนับสนุนให้ท้องถิ่นให้มีข้อบัญญัติในการขับเคลื่อนในการบริโภคอาหารปลอดภัย มาตรการดังกล่าวถือเป็นการนำร่องเพื่อขยายผลไปสู่ภาคอื่นต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image