ชาวปากแจ่มห้วยยอด ตรัง บุกศาลากลาง ร้องพ่อเมืองเลิกเขตแหล่งหินอุตสาหกรรม

ชาวบ้านปากแจ่มห้วยยอด ตรังบุกศาลากลาง ร้องผู้ว่าฯเลิกเขตแหล่งหินอุตสาหกรรม เขตแหล่งแร่เขาควนเหมียง หลังนายทุนยื่นขอสัมปทานระเบิดหินผุดโรงโม่หินกลาง

เมื่อเวันที่ 18 มกราคม ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดตรัง มีชาวบ้านจากพื้นที่หมู่ 1,3 ต.ปากแจ่ม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง รวมทั้งผู้สูงอายุและเด็ก กว่า 100 คน นำโดย นายสวาท แจ้งไข อายุ 62 ปี บ้านเลขที่ 19 หมู่ 3 ต.ปากแจ่ม นางละมุล โชติรัตน์ อายุ 72 ปี เดินทางมาร้องขอความเป็นธรรมจาก นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ให้ยกเลิกเขตแหล่งหินอุตสาหกรรม/เขตแหล่งแร่เขาควนเหมียง หรือเขาถ้ำแรด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 1,3 ตำบลปากแจ่ม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ด้วยการเขียนข้อความประกาศจุดยืนไม่เอาโรงโม่หิน อาทิ ได้โปรดช่วยพวกเราด้วย พวกเราไม่ไม่อยากตายมลพิษ” “เรารักษ์ป่า รักษ์เขา รักษ์ธรรมชาติ” “ธรรมชาติให้คุณค่ากับชีวิต หยุดคิดหยุดทำลาย” เป็นต้นทั้งนี้หลังจากที่พื้นที่ดังกล่าวมีเอกชนเข้าไปขออนุญาตประทานบัตรระเบิดหินเพื่อปะกอบธุรกิจโรงโม่หิน

ทั้งนี้ชาวบ้านซึ่งรวมตัวกันภายใต้ “กลุ่มรักษ์เขาถ้ำแรด” ได้ออกเอกสารด้วยการยื่นข้อเสนอให้จังหวัดและหน่วยงานรับผิดชอบแก้ไข 2 เรื่องคือ ไม่ให้มีการสัมปทานระเบิดหินเขาควนเหมียงหรือถ้ำแรดไม่ว่ากรณีใดๆ และ ให้มีการยกเลิกกำหนดเขตพื้นที่แหล่งแร่หรือแหล่งหินเขาควนเหมียงหรือเทือกเขาถ้ำแรด

นายสวาท กล่าวว่า กลุ่มรักษ์เขาแรด ในพื้นที่ตำบลปากแจ่มและตำบลใกล้เคียงคัดค้านเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น เพราะเห็นว่าการกำหนดให้เป็นแหล่งหินอุตสาหกรรมไม่เคยสอบถามความเห็นชาวบ้านดำเนินการด้วยความไม่โปร่งใส ประการสำคัญพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นภูเขาที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติล้อมรอบด้วยชุมชน มีบ้านเรือน สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ หากอนุญาตให้มีการระเบิดหินจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทั้งบ้านเรือน เด็ก ผู้หญิง คนชรา สัตว์เลี้ยง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของเทือกเขาน้ำพราย เขาเหมียง รวมทั้งเขาบรรทัดตั้งเชื่อมต่อกัน เหมาะส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

Advertisement

“จึงร้องมายังผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ช่วยแก้ไขความทุกข์ความเดือดร้อน ชาวบ้านไม่อยากเห็นการทำลายธรรมชาติ การทำลายความสงบสุขของชุมชน เพียงเห็นแก่นายทุน ที่ไม่ได้เป็นคนพื้นที่ ไม่มีบ้านอยู่ที่นี่ แต่ทิ้งปัญหามลพิษ ความเสี่ยงอันตรายกับชาวบ้านตำบลปากแจ่ม และตำบลใกล้เคียง” นาจสวาท กล่าว

ต่อมา นายลือชัย นายไพบูลย์ โอมาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ลงมาพบชาวบ้านเพื่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ และกล่าวว่า การที่จะอนุญาตให้มีการสัมปทานระเบิดหินมีหลายขั้นตอน การรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนก็มีความสำคัญมาก ตนจะลงมาดูรายละเอียดทั้งหมด เมื่อพี่น้องประชาชนไม่เอาก็คือไม่เอาจะอนุญาตไม่ได้ถึงแม้จะมีการประกาศเป็นแหล่งหินในการทำเหมืองไว้ก็ตาม แต่ว่าเมื่อมีการประชาชมแล้วเกิดผลกระทบก็มีแนวทางในการปฎิบัติอยู่แล้ว

“เรื่องนี้ผมขอให้พ่อแม่พี่น้องสบายใจ คือทุกสิ่งทุกอย่างสิ่งที่เรียกร้องจะได้รับความคุ้มครอง ส่วนการที่จะยกเลิกแหล่งแร่หินหรือไม่นั้นผมขอไปดูรายละเอียดก่อนผมตอบไม่ได้ว่ามีการประกาศมาตั้งแต่เมื่อไหร่ กระบวนการในการยกเลิกมีหลักเกณฑ์อย่างไรเนื่องจากเป็นข้อกฎหมาย ส่วนที่พ่อแม่พี่น้องมาขอปกป้องสิทธิผจะดูแลให้ทั้งหมด ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนไหนผมยังไม่ทราบเพราะเพิ่งรับทราบแต่มีอยู่ 8 ขั้นตอน จะขอรายละเอียดก่อน” นายลือชัย กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image