นักวิการ มน.จ่อเปิดเวทีสัมนาเมืองศรีเทพ เก็บข้อมูลเชิงวิชาการหนุนชุมชนยกเลิกหลุมเจาะน้ำมัน

อจ.ภาควิชาประวัติศาสตร์ มน.เตรียมเปิดเวทีสัมนาเมืองศรีเทพ หวังเก็บข้อมูลเชิงวิชาการหนุนชุมชนยกเลิกหลุมเจาะน้ำมันใกล้โบราณสถาน ชี้เส้นทางท่องเที่ยวมรดกโลกเชื่อมอาเซียน และต่อยอดธุรกิจชุมชน จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่าการขุดเจาะน้ำมัน ย้ำหากหลุมขุดเจาะเกิดขึ้นจะเป็นการล่มสลายในสิ่งที่วางแผนไว้ทั้งหมด

วันที่ 7 มีนาคม จากกรณีบริษัท อีโค่โอเรียนท์รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด มีโครงการขุดเจาะปิโตรเลียม(หลุม STN-2) ใกล้โบราณสถานเขาคงนอกเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ทำให้เกิดกระแสต่อต้านเป็นวงกว้าง ต่อมาบริษัทฯยินยอมชะลอโครงการ แต่กลุ่มเครือข่ายคัดค้านยืนกรานให้ยกเลิกหลุม STN-2 และพร้อมจะยกระดับการเรัยกร้องหากบริษัทฯ,กรมเชื้อเพลิง,กรมศิลปากรยังเพิกเฉย

ล่าสุด ผศ.ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก และอดีตผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน ให้สัมภาษณ์ว่า ในด้านของโบราณสถานของเมืองศรีเทพ เป็นการขุดค้นพบความสำคัญอาณาบริเวณภาคเหนือตอนล่างที่เชื่อมต่อกับอดีต ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนที่สุด และเห็นความสัมพันธ์ที่เชื่อโยงสัมพันธ์กันอย่างมหาศาล และในแง่การพัฒนาของชุมชนและองค์กรต่างๆที่จะพัฒนาไปสู่มรดกโลก เข้มข้นขึ้นเพื่อยกฐานะเข้าสู่มรดกโลก และขบวนการเชื่อมต่อพื้นที่มรดกโลกในมิติการท่องเที่ยวตั้งแต่ อยุธยา ศรีเทพ สุโขทัย พิษณุโลกและเข้าหลวงพระบาง อันดานัง ซึ่งเส้นทางท่องเที่ยวทั้งหมด ก็เลยคิดว่าเส้นทางการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น และมิติธุรกิจชุมชนเพื่อการสร้างสรรค์พัฒนาสินค้าโอท๊อป และสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวต่างๆ สามารถที่จะต่อยอดได้อีกมากมายและยังสร้างมูลค่าและเศรษฐกิจ ได้มากกว่าในแง่ที่จะคิดถึงเรื่องการขุดเจาะน้ำมัน

ผศ.ดร.วศินกล่าวว่า การขุดเจาะน้ำมันยังไม่ได้ผ่านขบวนการอะไรที่เป็นระบบที่ชัดเจน ดังนั้นในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในภาคเหนือตอนล่างภาคประวัติศาสตร์ จึงจะจัดสัมนาเมืองศรีเทพในวันที่ 10 มีนาคมนี้ ที่อาคาร 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ถึงแนวทาง ปัญหาอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น ศรีเทพประสบการณ์ของการพัฒนาโบราณสถาน ซึ่งที่ต่างประเทศการบูรณาการเพื่อเข้าสู่มรดกโลกทำกันอย่างไร ชุมชนต่อสู้ต่อต้านกันอย่างไร มิติการพ้ฒนาอย่างยั้งยืน และโบราณที่พัฒนาสู่มรดกโลกและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวมรดกโลก อยุธยา ศรีเทพ สุโขทัยจนถึงหลวงพระบาง ทิศทางจะเป็นอย่างไร และกิจกรรมท่องเที่ยวและสินค้าชุมชน อาทิ ทองคำดุล จะพัฒนาให้เป็นสินค้าโอท๊อปอย่างไร การพัฒนาลายผ้าทอ สินค้าหัตถกรรม อุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศรีเทพ เรามีกิจกรรมในเชิงลึก ที่จะสร้างมูลค่าหรือรักษาคุณค่าให้กับชุมชนรอบๆศรีเทพที่จะเกิดขึ้น จากการวิจัยหรือการสัมนา

Advertisement

“แต่หากมีการเปิดขุดเจาะน้ำมันสิ่งที่เราวางแผนไว้ก็จะล่มสลาย ปัญหาเรื่องมลพิษ มลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมก็จะตามมาหมด ทำให้ความเป็นมรดกโลกอาจจะตกหรือไปต่อไม่ได้ โอกาสที่จะยกฐานะชุมชนเพื่อเชิ่อมโยงการท่องเที่ยวก็ไม่ได้อีกเช่นกัน การขุดเจาะน้ำมันเป็นแนวทางการทำลายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งระบบ องค์ความรู้ต่างๆที่นักวิชาการจะระดมความคิดเห็นต่อเรื่องนี้เป็นอย่างไร ก็จะมีการรวบรวมเป็นเปเปอร์ เพื่อให้ชุมชนได้นำไปพูดคุยหรือต่อรองกับทางบริษัทและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป”ผศ.ดร.วศินกล่าวย้ำ

ผศ.ดร.วศินกล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการต่อสู้เชิงข้อมูลใครชัดเจนกว่ากัน ในฐานะมหาวิทยาลัยฯก็ต้องเตรียมข้อมูลเชิงวิชาการไว้สนับสนุนชุมชน ตอนนี้เป็นเรื่องแปลกทั้งในเชิงสถาบันการศึกษาและกลุ่มเอ็นจีโอต่างๆ ค่อนข้างเงียบต่อประเด็นเรื่องนี้ ฉะนั้นในฐานะเป็นนักวิชาการและคลุกคลีกับประวัติศาสตร์เมืองศรีเทพมาอย่างยาวนาน รวมทั้งความเป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักในภาคเหนือตอนล่าง ต้องบริการชุมชนและให้ความรู้ด้านวิชาการ และองค์ความรู้สนับสนุนชุมชน จึงต้องลุกขึ้นมาจับเรื่องนี้อย่างจริงจัง

“ปัจจุบันเรามีแต่ข้อมูลว่าโบราณสถานแห่งนี้มีความสำคัญแต่แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และทิศทางการพัฒนา ยังไม่มีข้อมูลเลยว่าจะทำอะไรกับโบราณสถานแห่งนี้ ในมิติการท่องเที่ยวและมิติการพัฒนาและมิติการเชื่อมโยงกับอาเซียน ฉะนั้นองค์ความรู้จากการสัมนาและงานวิจัยที่จะเกิดขึ่นใรอนาคตก็จะสามารถตอบโจทย์และคำถาม รวมทั้งข้อมูลทางวิชาการในข้อนี้ทั้งหมด เพื่อเอาไปรองรับว่ามีแนวทางพัฒนาอยู่รอบๆ ไม่ใช่พื้นที่โล่งโจ้งไม่มีอะไรเลย”ผศ.ดร.วศินกล่าว

Advertisement

อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรกล่าวอีกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการขุดเจาะปิโตรเลี่ยม ใกล เมืองโบราณศรีเทพมาโดยตลอด โดยมีข้อมูลทั้งเชิงลึกและไม่ลึก โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดตัวว่าจะจัดสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็มีน้องๆที่เป็นนักวิศวกรรม ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมัน ต่างก็ให้ข้อมูลและเป็นข้อสังเกตไว้เป็นองค์ความรู้

ส่วนคำถามที่ว่าโอกาสที่หลุมขุดเจาะจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ผศ.ดร.วศิน กล่าวว่า เอาแค่เป็นแค่โบราณสถานปกติก็ยังยากเลย ท่ามกลางกลิ่นควันของการขุดเจาะต่างๆที่อยู่ใกล้โบราณสถานและยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนยังเป็นไม่ได้เลย ยังไม่ต้องคิดไปถึงความเป็นมรดกโลก เชื่อว่าข้อเท็จจริงในการให้ข้อมูลที่ลึกซึ้ง น่าจะเป็นพลังสำคัญในการ ขับเคลื่อนต่อต้าน หลุมขุดเจาะน้ำมันใกล้บริเวณสถานเมืองศรีเทพให้หยุดหรือยกเลิกไป

“วันนี้ถึงเร่งทำในเชิงวิชาการ ในส่วนของกลุ่มพลังมวลชนก็ต้องต่อสู้ในเรื่องข้อมูลที่ชัดเจน และมั่นใจว่าขบวนการของการขุดเจาะน้ำมันใกล้โบราณสถานเมืองศรีเทพไม่น่าจะเกิดขึ้น หากพลังมวลชนและพลังสังคมจับมือกันเหนียวแน่นแบบนี้ นอกจากนี้ยังคาดหวังว่าเวทีสัมนาในเชิงวิชาการในลักษณะนี้จะทยอยเกิดขึ้นทั้งในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ หรือในสถาบันการศึกษาหลักทั่วทุกภาคของประเทศไทย”

ด้าน นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ โพสต์บนเฟสบุ๊กส่วนตัวที่ใช้ชื่อ “วิศัลย์ โฆษิตานนท์” โดยระบุว่า “4 ปัจจัยที่ทางบริษัทฯ จะต้องไปตกลงขอขยายขอบเขตหรือขอเลื่อนบริเวณ STN-2 ร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ คือ 1.แรงสั่นสะเทือนในในการเจาะหลุม จะไม่สั่นมาถึงเขาคลังนอกและโบราณสถานอื่น ๆ อย่างแน่นอน แม้จะเป็นการเจาะหลุมในช่วงแรกก็ตาม 2.การคมนาคมขนส่งน้ำมันดิบ จะต้องไม่ใช้เส้นทางเดียวกันกับการเดินทางเข้าสู่เข้าคลังนอกและโบราณสถานอื่นๆ 3. จะต้องเป็นบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นกันเลยระหว่างหลุมขุดเจาะกับเขาคลังนอกและโบราณสถานอื่นๆ และ 4.จะต้องเป็นบริเวณที่ไม่มีมลพิษทุกๆชนิด ออกมากระทบกระเทือนกับเขาคลังนอกและโบราณสถานอื่นๆ”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image