ชาวกรุงเก่าจ่อพบนายกฯ ไม่พอใจกรมศิลป์ฯบูรณะเพนียดคล้องช้าง

กรณีกลุ่มชาวบ้าน จ.พระนครศรีอยุธยา เรียกร้องให้กรมศิลปากรทบทวนและยกเลิกการบูรณะเพนียดคล้องช้าง ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่เพนียดคล้องช้าง ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา กลุ่มชาวบ้านใน ต.สวนพริก ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบเพนียดคล้องช้าง รวมถึงชาว จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รวมตัวกันพร้อมกับถือแผ่นป้าย มีข้อความเรียกร้อง อาทิ “วอนกรมศิลปากร แก้แบบทัศนอุจาด บาปกรรม” “โบราณสถานทำไว้ดี ทำไมมาเปลี่ยนแบบคิดได้ไง” “ชาวสวนพริก ไม่เอาหัวเสาตะลุง” ต่อมา น.ส.สุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยนักวิชาการ เจ้าหน้าที่เดินทางมาพบกับกลุ่มชาวบ้านเพื่อทำความเข้าใจ

 

Advertisement

น.ส.สุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า การที่ชาวบ้านได้ออดมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านเรื่องการบูรณะเพนียดคล้องช้าง ตัดเอาหัวเสาตะลุงออก นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ชาวบ้านมีความตื่นตัวรักหวงแหน ทรัพย์สมบัติของชาติโบราณสถานของชาติ การที่กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะเพนียดคล้องช้าง กรมศิลปากรยึดถือตามหลักฐานสืบค้นทางประวัติศาสตร์ ซึ่งพบว่าเดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพนียดคล้องช้างจะอยู่ใกล้กับพระราชวังจันทรเกษม ต่อมาในรัชกาลที่ 3 มีการรื้อฟื้นการประกอบพิธีคล้องช้าง ย้ายมาที่บริเวณ ต.สวนพริก ต่อเนื่องมาในช่วงรัชกาลที่ 4 จึงเริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามมาและมีหลักฐานปรากฎเป็นภาพถ่ายซึ่งถ่ายโดยชาวต่างชาติ พบว่าบริเวณล้อมนอกของเพนียดคล้องช้าง พบว่าเสาตะลุงไม่หัว มีลักษณะเหมือนกันเสาไม้มาปักเอาไว้ตามลักษระที่มีการบูรณะ ส่วนภายในเชิงเทิน ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีการคล้องช้างของพระมหากษัต หัวของเสาตะลุงจะมีลักษณะหัวมนตามภาพที่เราเคยเห็นกัน หลังจากนั้นการประกอบพิธีคล้องช้างไม่มีการประกอบขึ้นอีก จนในช่วงปี 2500 มีการบูรณะเพนียดคล้องช้างขึ้นเพื่อ ประกอบพิธีคล้องช้าง โดยในหลงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงเชิญกษัตริย์เดนมารค์ และราชินี มาทรงทอดพระเนตรการคล้องช้าง หลังจากนั้น มีการบูรณะเพนียดคล้องช้างอีก 2 ครั้งในปี 2530 และในปี 2550 จนมาถึงปี 2561 จึงมีการบูรณะอีกครั้ง กรมศิลปากรจึงได้ค้นคว้าประวัติศาสตร์โดยยึดถือเอาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ย้อนกลับไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่มีการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ชาวบ้านต่างไม่พอใจส่งเสียงรับไม่ได้การการที่จะต้องตัดเอาหัวเสาตะลุงที่ชาวบ้านพบเห็นมาหลายสิบปี

Advertisement

นายนพพร ขันธนิกร อายุ 35 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ชาวบ้านเวลาที่จะทำบุญที่เพนียดคล้องช้างต้องทำหนังสือขอนุยาติไปที่กรมศิลปากร แต่กรมศิลปากรเข้ามาบูรณะเพนียดคล้องช้าง ซึ่งถือว่าเป็นสมบัติของชาติเป็นของคนไทย ทำไมไม่มาสอบถามชาวบ้านทำประชาคมมาทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ระหว่างการก่อสร้างมีการปิดล้อมรั้วชาวบ้านไม่เห็นว่ามีการทำอย่างไรบ้างกับโบราณสถานของชาติ จนพอเอารั้วออกพบว่าเสาตะลุงที่ตนเองเห็นมาตั้งแต่จำความได้ คนเฒ่าคนแก่ก็เห็นมาว่าเสาตะลุงนั้นมีลักษณะเป็นหัวทรงมน กลับมาถูกตัดจนเหมือนตอไม้ไม่สวยงามแบบเดิม จะมาอ้างเอาภาพถ่ายในสมัยรัชกาล3-4 มาบอกชาวบ้านชาวบ้านไม่รู้หรอกเพราะเกิดไม่ทันทำไมไม่มาทำความเข้าใจกับชาวบ้าน จะจึงอยากให้กรมศิลปากร ทำการบูรณะเสาตะลุงให้กลับมาเหมือนเดิมหากมาทำการตัดเอาหัวเสาตะลุงออก เรียกว่าการทำลายมากกว่าการบูรณะ

จากนั้นกลุ่มตัวแทนชาวบ้านได้ยื่นหนังสือให้กับนางจิระพันธ์ พิมพ์พันธุ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ช่วยติดตามทวงถามคัดค้านการบูรณะเพนียดคล้องช้าง ไม่ให้มีการตัดเอาหัวเสาตะลุงออก หากไม่เป็นที่พอใจจะเดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรี

นางจิระพันธ์ กล่าวว่า ในส่วนของตนเอง ไม่เห็นด้วยเช่นกันที่มีการตัดเอาหัวเสาตะลุงออก เพราะมองดุแล้วไม่สวยงาม ไม่เป็นไปตามรูปแบบเดิมที่ชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยวได้เห็นได้บันทึกภาพไปทั่วโลกถึงความสวยงาม อยุธยาได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์กรยูเนสโก้ ตนจึงดำเนินการสอบถามไปยังอธิดีกรมศิลปากรเพื่อขอให้ยกเลิกการบูรณะด้วยวิธีการตัดเอาหัวเสาตะลุงออก

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image