สาทิตย์ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดให้เช่ารีสอร์ตบุกรุกพื้นที่ ส.ป.ก.อุทยานฯ-ที่ดินของรัฐ

อดีตรัฐมนตรี สาทิตย์ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิด รัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ ให้เช่ารีสอร์ท์บุกรุกพื้นที่ ส.ป.ก. อุทยานฯ และที่ดินของรัฐ เพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่ดินเพื่อคนจน แต่ที่สุดกลับเป็นของนายทุน ขณะที่โครงการโฉนดชุม ที่เริ่มตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ มีประโยชน์ที่ดินทำกินให้คนจน กลับไม่คืบ รัฐบาล คสช.ที่ผ่านมา ไม่ได้หยิบโครงการนี้มาพิจารณา

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง อดีตรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ริเริ่มโครงการโฉนดชุมชน กล่าวว่า นโยบายโฉนดชุมชนที่รัฐบาลแถลงต่อในที่สภาผู้แทนราษฎร เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ตนมองว่ายังไม่มีแนวทางที่พูดถึงโฉนดชุมชนชัดเจน แต่ว่าได้มีแนวทางที่เขียนเอาไว้เรื่องคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ซึ่งมีกฎหมายที่ออกมารองรับแล้วในยุคของ คสช.บริหารอยู่ แต่ปัญหาของตัวกฎหมายคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ มีการเขียนบางเรื่องที่คล้ายๆ โฉนดชุมชน คือใช้คำว่าการใช้กรรมสิทธิ์ร่วม เพียงแต่กรรมสิทธิ์ร่วมที่ให้ เมื่อรัฐให้ที่ดินกับชุมชนไปแล้วมันยังไปไม่ถึงขั้นสิทธิชุมชนที่จะจัดการบริหารที่ดินนั้น คือยังผูกไว้ให้เป็นที่ดินของรัฐ ในยุค คสช.มีการเอากฎหมายนี้ให้ที่ดินชุมชนไปบริหารจัดการกันเอง 1 ที่ แต่ชื่อเจ้าของที่ดินยังเป็นชื่อของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งจะเป็นปัญหาว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในที่ดินแบบนี้ยังไม่ได้เป็นรูปแบบที่ดินโฉนดชุมชนเต็มๆ จะขอออกไฟฟ้า ขอทะเบียนบ้านยังต้องไปขออนุญาตผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน ซึ่งอันนี้ไม่ถูกต้องต่อแนวคิดสิทธิชุมชน ซึ่งเรื่องนี้ตนจะหาทางนัดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องในคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติเพื่อสอบถามแนวความคิดท่านดูว่าท่านจะมีแนวทางในเรื่องนี้อย่างไร สภากรรมจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการสามัญในสัปดาห์หน้าตนตั้งใจที่จะไปอยู่ในคณะกรรมาธิการที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งก็คิดว่าจะยื่นญัตติในเรื่องนี้และจะเชิญทางคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมาพูดคุย ตนคิดว่าตัวคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติจะเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมรวมถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องของที่ดินทำกินให้กับพี่น้องประชาชนซึ่งมีปัญหามายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นป่าทับที่ บุกรุกที่ป่า อยู่ในที่สาธารณะ ออกเอกสารสิทธิไม่ได้ หรืออยู่ในที่ของรัฐแต่ไม่สามารถที่จะเอาออกได้ก็ต้องพยายามให้สิทธิเขาในการทำกิน ซึ่งจะนำไปสู่แนวคิดเรื่องโฉนดชุมชนได้ในที่สุด สำหรับการออกโฉนดชุมชนตนมองว่าเป็นการแก้ปัญหาได้มาก ในยุครัฐบาลประชาธิปัตย์พี่น้องเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยได้มาพบ แล้วนำเสนอโฉนดชุมชน เมื่อ ปี 52-53 ร่วมกับชาวบ้านทำนโยบายโฉนดชุมชนขึ้นมาแล้วออกระเบียบสำนักนายกมาเป็นตัวดำเนินการก่อน ซึ่งได้ให้โฉนดใบแรกของประเทศไทยคือ บ้านคลองโยง จ.นครปฐม ซึ่งปัจจุบันประชาชนยังครอบครองไม่ได้ตกไปอยู่นายทุน 9 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่านโยบายโฉนดชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่อยู่ในที่ของรัฐได้อย่างเป็นจริงแล้วยังเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนด้วย

อย่างกรณีที่มีการออกมาพูดมี 2 ประเด็น พื้นที่ทับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นอุทยานฯ ที่ป่า ที่คนอยู่ ตนมองว่าเรื่องนี้ต้องทำแนวเขตที่ชัดเจน การทำแนวเขตที่ดินไม่ใช่ว่ารัฐเป็นผู้ทำฝ่ายเดียวต้องคำนึงถึงความเป็นจริงในพื้นที่และจะต้องมีการมีส่วนร่วมของประชนด้วย ไม่เช่นนั้นจะกลายมาเป็นปัญหา ที่ไหนที่ไม่มีปัญหาเราต้องกั้นเขตให้ชัด แต่ที่ใดที่มีกรณีซึ่งมีปัญหาระหว่างชาวบ้านกับรัฐ หรือมีกรณีพิพาทกันต้องพิสูจน์สิทธิว่ากันเป็นรายๆไป ซึ่งถ้าทำทั่วประเทศเรื่องนี้มีประโยชน์มาก

ส่วนเรื่องที่ดิน ส.ป.ก.ที่บอกว่าหากรีสอร์ทที่มีข้อพิพาทกับรัฐเกี่ยวกับกฎหมาย ให้สามารถให้เช่าได้ ไม่ต้องรื้อถอน ตนฟังแล้วไม่สบายใจ เพราะท่านกำลังพูดถึงว่า ท่านยอมรับว่าที่ดิน ส.ป.ก.จะหลุดจากมือชาวบ้านไปเป็นของนายทุน กับ 2 ท่านบอกว่าจะใช้กฏหมายเอาที่คืนจากนายทุนกลับมาเป็นของรัฐแต่จะเปิดให้เช่าที่ให้นายทุนเช่าที่ทำรีสอร์ทหรือทำโรงแรม ตนมองว่ามันขัดเจตนารมณ์กฎหมาย ส.ป.ก. เพราะถ้าทำแบบนี้เท่ากับยอมรับว่าคนที่ได้ ส.ป.ก.ขายที่ให้นายทุนจริง ซึ่งตนยอมรับไม่ได้ เพราะ ส.ป.ก.โอนขายกันไม่ได้ สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือการยืนยันสิทธิตัวจริงเป็นใครก่อน และการโอนขายเป็นสิ่งผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการตรงนี้ ส่วนรีสอร์ทหากมีการตรวจยึดไปแล้วจะทำอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อได้ที่ดินมาแล้วควรจะทำตามเจตนารมณ์ของกฏหมายคือให้สิทธิเกษตรยากจนไร้ที่ทำกินไปเป็นที่ทำกินต่อ ไม่ใช่เปิดเช่าที่ ส.ป.ก.ให้นายทุนทำรีสอร์ตโรงแรม

Advertisement

ส่วนที่มองว่าเป็นความเห็นต่างกับรัฐบาลนั้น ตนมองว่าไม่ได้เห็นต่างในลักษณะที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ตนเองกำลังพูดถึงหลักกฎหมายและหลักการการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งในเรื่องนี้ตอนแถลงนโยบายไม่มีการพูดถึง เป็นแนวคิดที่เกิดมาที่หลัง เมื่อเป็นแนวคิดตนมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นได้

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นคนออกกฎหมายเรื่อง ส.ป.ก.ก็ยังยืนยันควรที่จะดำเนินการตามเจตนารมณ์กฎหมาย ส.ป.ก. คือให้สิทธิกับเกษตรกรที่ยากจนไร้ที่ทำกิน ได้มีที่ดินเพื่อทำกิน มีความเท่าเทียมในสิทธิที่เป็นคนไทย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image