‘กาฬสินธุ์’ สั่งสอบ ‘โรงงานแป้งมัน’ ใช้ที่ สปก.ทำบ่อบำบัดน้ำเสีย แถมชาวบ้านเดือดร้อน

กรณีชาวบ้านโคกศรี ต.คำบง อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ รวมตัวกันร้องทุกข์ หลังได้รับความเดือนร้อน เนื่องจากมีโรงงงานแป้งมันในพื้นที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำห้วยกุดแข้ แหล่งน้ำสาธารณะธรรมชาติ ส่งผลให้น้ำระบบนิเวศเสียหาย ชาวบ้านล้มป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจและโรคผิวหนังหลายราย กระทั่งนายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ สั่งการให้อุตสาหกรรม จ.กาฬสินธุ์ ออกหนังสือแจ้งไปยังโรงงานแป้งมันหยุดประกอบกิจการชั่วคราวภายในวันที่ 21 ตุลาคมนี้ เป็นเวลา 7- 10 วัน เพื่อปรับปรุงโรงงานระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการตรวจสอบและติดตามผลการปรับปรุงแก้ไขโรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้น

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม นายชัยธวัช เปิดเผยว่า สำหรับปัญหาดังกล่าวนอกจากทางจังหวัดจะให้ทางสำนักงานอุตสาหกรรม จ.กาฬสินธุ์ ออกหนังสือแจ้งไปยังโรงงานแป้งมันหยุดประกอบกิจการชั่วคราว เพื่อปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียภายในวันที่ 21 ตุลาคม และเร่งดำเนินการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวเร่งฟื้นฟูสภาพและระบบนิเวศน้ำในลำห้วยกุดแข้ ซึ่งเป็นการดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกันแล้ว ขณะนี้ยังได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบบริเวณรอบโรงงาน โดยเฉพาะพื้นที่บ่อบำบัดน้ำเสียว่า มีที่ดินของราชการเข้าเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะที่ดิน สปก.ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้ให้สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.กาฬสินธุ์ หรือ สปก.กาฬสินธุ์ เร่งลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบที่ดินบริเวณรอบโรงงานและที่ดินตั้งโรงงานว่า เป็นที่ดิน สปก.หรือไม่ ซึ่งหากมีการตรวจสอบพบว่าเป็นที่ดิน สปก.จริงจะต้องมีการตรวจสอบต่อไปด้วยว่าการที่ได้ที่ดิน สปก.มานั้นได้มาอย่างไร และการใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสปก.หรือไม่ ซึ่งหากเป็นที่ดิน สปก.จริงและเป็นการใช้ประโยชน์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสปก.ก็จะมีการดำเนินการทันที โดยการเพิกถอนและต้องมีการงะงับการใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวต่อไป

Advertisement

นายชัยธวัช กล่าวอีกว่า ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามกฎระเบียบและกฎหมายอย่างเคร่งครัดและชัดเจน แต่การตรวจสอบต้องขอเวลาให้ทางเจ้าหน้าที่สปก.เข้าไปสำรวจ และตรวจสอบอย่างละเอียดก่อน นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคตและมีส่วนร่วม จะมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมา 3 ฝ่าย เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ประกอบด้วยส่วนราชการ ผู้ประกอบการโรงงาน และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งอาจจะหนึ่งไตรมาสหรือทุก 3 เดือนจะการประชุมและลงพื้นที่ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้

Advertisement

รายละเอียด

ภูมิภาค




QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image