สนง.เกษตร แจง‘โรครากบวมในกะหล่ำปลี-ผักกาด’หลังระบาดหนักภูทับเบิก

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ว่าที่ ร.ต.สมใจ ทองศิริ หัวหน้สดลึมอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะเจ้าหน้าที่ฯเกษตรจังหวัดและเกษตรตำบลวังบาล ลงพื้นที่สำรวจดูแปลงกะหล่ำปลีและแปลงผักกาดขาวที่บ้านทับเบิก ซึ่งปรากฎว่าเป็นโรครากบวมจึงได้แนะนำให้เกษตรกรจัดการแปลงตามวิธีทร่กรมวิชาการแนะนำ เพราะสาเหตุเกิดจากเชื้อรา และทางสำนักงานเกษตรอำเภอรับเรื่องมาโดยเฉพาะรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน และล่าสุดอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายโดยละเอียดอีกครั้งและรวลรวมข้อมูล เพื่อทำรายงานเสนอทางอำเภอรวมที้งขอให้ทางวถานีพัฒนาที่ดินช่วยตรวจวิเคราะห์ดิน เพราะการปลูกพืชตระกูลกะหล่ำในพื้นที่เดิมซ้ำๆ โดยไม่มีการปรับปรุงดิน ทำให้เกิดความเป็นกรดเป็นด่างในดิน ผนวกกับสภาพอากาศหนาวอุณหภูมิพอเหมาะจนเอื้อต่อการทำให้เกิดโรคราชนิดนี้ได้

“ส่วนการแพร่ระบาดของโรครากบวมในผักกะหล่ำ-ผักกาด เวลานี้พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในอ.ด่านซ้าย จ.เลย ส่วนที่ทับเบิกนั้นทางเจ้าหน้าที่ลงสำรวจในแปลงที่ติดโรคแล้ว แต่ในแปลงที่ติดกันก็ยังไม่เป็น อย่างไรก็ตามต้องรอผลการสำรวจโดยละเอียดก่อน ส่วนที่เกษตรกรแจ้งว่าพบการติดโรครากบวมโดยเริ่มจากปีที่แล้ว และมีแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรบางรายเป็นแต่ไม่ทั้งหมด แต่ไม่มีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ พอมาในปีนี้พบมากขึ้นจนผิดสังเกต จึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ช่วยไปตรวจสอบดังกล่าว” ว่าที่ ร.ต.สมใจกล่าว

ว่าที่ ร.ต.สมใจ กล่าวอีกว่า ส่วนโรครากบวมนั้นที่ผ่านมายังไม่มีรายงานความเสียหาย เพียงแต่มีรายงานการพบคร้งแรกที่ดอยอ่างข่าง จ.เชียงใหม่เมื่อปี 2527 และที่ภาคใต้เมื่อปี 2532 โดยยังไม่มีการศึกษาเชื้อราชนิดนี้ ฉะนั้นในทางปฎิบัติคือควรต้องเว้นการปลูกพืชตระกูลกะหล่ำปลีอย่างน้อย 1-2 ปี และต้องปรับปรุงบำรุงดินและจัดการการระบายน้ำในแปลงเพาะปลูกให้ดี จากนั้นไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนซึ่งจะลดความเสี่ยงหรือความเสียหายจากการปลูกกะหล่ำปลีและผักกาดขาว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image