ตั้งกล้องดักถ่ายมือฆ่ากระทิงป่าแม่วงก์ ที่แท้ฝีมือ ‘เสือโคร่งหนุ่ม’ ห้วยขาแข้ง (คลิป)

สืบเนื่องกรณีเฟซบุ๊ก “กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช” โพสต์ภาพและข้อความ พบซากกระทิง เพศเมีย ตัวเต็มวัย บริเวณใกล้ร่องน้ำด้านขวาก่อนขึ้นมอมะค่า ทางไปแคมป์แม่กระสา ห่างจากเส้นทางเดินรถประมาณ 50 เมตร จากการตรวจสอบพบว่าสาเหตุการตายเกิดถูกล่าจากเสือโคร่ง พร้อมประสาน WWF นำกล้องดักถ่ายไปติดตั้งไว้รอบซากกระทิง เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมต่อไปนั้น

วานนี้ (23 ธันวาคม) ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังนายกิติพัฒน์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร-นครสวรรค์ สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้รับการเปิดเผยว่า จากการพบซากกระทิง เพศเมีย ตัวเต็มวัย นอนตายภายในป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์นั้น ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นการถูกล่าโดยฝีมือของเสือโคร่ง ไม่ได้เป็นฝีมือคน หรือนายพรานแต่อย่างใด ภายหลังตรวจพบได้มีการหาหลักฐานจนพบรอยอุ้งเท้าเสือในบริเวณที่พบซากกระทิง จากนั้นได้นำกล้องดักแอบถ่ายไปติดตั้งไว้รอบๆ บริเวณ กระทั่งกล้องจับภาพได้ว่า ช่วงกลางดึกจนถึงช่วงสายมีเสือโคร่ง เพศผู้ ตัวโตเต็มวัยเข้าสู่ช่วงปลาย ที่ทีมวิจัยเคยพบครั้งแรกภายที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เมื่อปี 2556 เดินกลับมากินซากกระทิงที่เคยล่าไว้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเสือตัวนี้ ทีมวิจัยระบุว่าได้ย้ายถิ่นมาอาศัยอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ตั้งแต่กลางปี 2557

นายกิติพัฒน์กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่พบเสือโคร่งล่ากระทิงในครั้งนี้ ถือได้ว่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เป็นผืนป่าที่มีความสำคัญในการจะใช้เป็นพื้นที่รองรับการกระจายของเสือโคร่งจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตเสือโคร่งที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพรรณและสัตว์ป่าสูง จึงเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมยิ่งในการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างเสือโคร่งให้คงอยู่กับโลกของตลอดไป ส่วนหลังจากนี้ได้มีการหารือกับทีมงานนักวิจัยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชแล้วว่าจะมีการวางแผนจับเสือโคร่งตัวนี้มาใส่ปลอกคอ พร้อมกับติดวิทยุประจำตัว เพื่อเก็บข้อมูลระยะยาวของเสือโคร่งในระดับผืนป่า อันจะสามารถติดตามประชากรเสือโคร่งได้อย่างแม่นยำและต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนและจัดการเพื่ออนุรักษ์ให้ได้อย่างประสิทธิภาพตามหลักวิชาการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังกรมอุทยานฯได้เผยแพร่วิดีโอคลิปจากการติดตั้งกล้องดักถ่าย เผยให้เห็นวินาที เสือโคร่ง HKT204 ผู้ล่ากระทิง เพศเมีย ตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน

Advertisement

ทั้งนี้ ข้อมูลของกรมอุทยานฯระบุว่า เสือโคร่ง HKT 204 หรือ MKM8 เพศผู้ ตัวโตเต็มวัยกำลังเข้าสู่โตเต็มวัยช่วงปลาย (old adult) จากฐานข้อมูลเสือโคร่งของสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ พบว่า เสือโคร่งตัวนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นลูกของเสือโคร่ง HKT 165 เคยถ่ายภาพครั้งแรกได้เมื่อปี 2556 ต่อมาได้เดินทางมาตั้งถิ่นอาศัยของตนเองในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยสามารถถ่ายภาพได้ตั้งแต่ ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน

เสือกินกระทิง

Advertisement

คลิปชัดจับภาพเสือโคร่ง HKT204 เป็นผู้ล่ากระทิงเพศเมียตัวเต็มวัย ใกล้แคมป์แม่กระสา ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ?ตามที่เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2562 นายกิติพัฒน์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร-นครสวรรค์ สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้รายงานว่า พบซากกระทิงเพศเมียตัวเต็มวัย นอนตายอยู่บริเวณใกล้ร่องน้ำด้านขวาก่อนขึ้นมอมะค่า ทางไปแคมป์แม่กระสา ห่างจากเส้นทางเดินรถประมาณ 50 เมตร เพราะถูกเสือล่า และต่อมาได้ร่วมกับ WWF นำกล้องดักถ่าย ไปติดตั้งไว้รอบซากกระทิง เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกนั้นเมื่อสายของวันที่ 23 ธันวาคม 2562 เจ้าหน้าที่ได้เปิดกล้องที่แอบถ่ายไว้ดู พบว่า ได้ภาพและคลิปที่ชัดเจน ว่ากระทิงถูกล่าโดยเสือจากการตรวจสอบของทีมงานนักวิจัยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนักวิจัยของ WWF พบว่าเสือโคร่งตัวที่เห็นในคลิปวีดีโอ ซึ่งกำลังกินซากกระทิง ดังกล่าว คือ เสือโคร่ง HKT 204 หรือ MKM8 เพศผู้ ตัวโตเต็มวัยกำลังเข้าสู่โตเต็มวัยช่วงปลาย (old adult) ทั้งนี้จากฐานข้อมูลเสือโคร่งของสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ พบว่าเสือโคร่งตัวนี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นลูกของเสือโคร่ง HKT 165 เคยถ่ายภาพครั้งแรกได้เมื่อปี 2556 ต่อมาได้เดินทางมาตั้งถิ่นอาศัยของตนเองในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยสามารถถ่ายภาพได้ตั้งแต่ ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน จากเหตุการณ์ที่พบเสือล่ากระทิงในครั้งนี้ ถือได้ว่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นผืนป่าที่มีความสำคัญในการจะใช้เป็นพื้นที่รองรับการกระจายของเสือโคร่งจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตเสือโคร่ง (tiger source site) ที่สำคัญของประเทศไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตก ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพรรณและสัตว์ป่าสูง จึงเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมยิ่งในการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างเสือโคร่งให้คงอยู่กับโลกของเราตลอดไปทั้งนี้ทีมงานนักวิจัยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะหารือวางแผนจับเสือโคร่งตัวนี้ใส่ปลอกคอติดวิทยุประจำตัว เพื่อเก็บข้อมูลระยะยาวของเสือโคร่งในระดับผืนป่า อันจะสามารถติดตามประชากรเสือโคร่งได้อย่างแม่นยำและต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนและจัดการเพื่ออนุรักษ์ให้ได้อย่างประสิทธิภาพตามหลักสิชาการต่อไปข้อมูล/ภาพ1.นายกิติพัฒน์ ธาราภิบาลหน.อช.แม่วงก์ สบอ. 12 2.ดร. อัจฉรา ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สบอ. 12 3.WWF

โพสต์โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อ วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2019

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image