นักวิชาการสิ่งแวดล้อมโพสต์ 4 แนวทาง “ญี่ปุ่น” ลดฝุ่น PM2.5

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวหลังเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า จากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางอากาศกับทีม JIMIMA หรือสมาคมเครื่องมือตรวจวัดด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าของญี่ปุ่นในเรื่องฝุ่น PM2.5 ญี่ปุ่นมีการจัดการ ดังนี้

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่เพิ่มเพื่อน

 

Advertisement

 

1.นโยบายกำหนดให้รถยนต์เก่าเกิน 10ปี จะเสียภาษีประจำปี แพงมาก อาจมากกว่า 2 เท่าของภาษีรถใหม่ แต่หากซื้อรถยนต์ใหม่ ค่าการเสียภาษีประจำปีจะถูกมากกว่า หากมีการติดตั้งอุปกรณ์การลดมลพิษทางอากาศด้วย จะลดภาษีลงอีกครึ่งของปกติ อย่างไรก็ตาม การจะซื้อรถยนต์ได้ ต้องมีที่จอดรถประจำที่ชัดเจนหรือซื้อที่จอดไว้ประจำสำหรับการต่อภาษีประจำปีต้องโชว์ที่จอดรถด้วย นอกจากนี้ ค่าจอดรถในเมืองมีราคาแพงมากและหาจอดได้ยากรวมทั้งห้ามการจอดรถข้างถนนทุกกรณี ทำให้คนญี่ปุ่นไม่นิยมนำรถส่วนตัวเข้าเมืองแต่ใช้ระบบขนส่งมวลชนแทน

2.รถเครื่องยนต์ดีเซลทุกคันต้องติดอุปกรณ์กำจัดมลพิษทางอากาศ หรือ Catalytic converter และ DPF มิฉะนั้นห้ามวิ่งเข้าเมืองโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ในเมืองจะใช้จักรยานจำนวนมากรวมทั้งยังเป็นประเทศที่กำหนดให้ใช้น้ำมันและเครื่องยนต์ EURO 5 และ 6 ทั้งประเทศด้วย

Advertisement

3.การแจ้งผลการตรวจค่าฝุ่นPM2.5 จะมีสถานีตรวจวัดที่ตั้งอยู่ริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่น และมีสถานีตรวจวัดในบรรยากาศบริเวณชุมชน การแจ้งเตือนประชาชนจะมี 2 ค่าควบคู่กันเสมอ คือ ค่าฝุ่นPM 2.5 ริมถนนเพื่อบอกถึงกรณี Worse case และบริเวณชุมชนเพื่อบอกเป็นค่าเฉลี่ยของเมืองทั่วไปไม่ใช่ตรวจวัดเฉพาะริมถนนอย่างเดียวแล้วมาแจ้งผลเป็นตัวแทนของพื้นที่อำเภอนั้นแบบบางประเทศ

4.การแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5 ต้องแก้ที่ต้นเหตุอย่างจริงจัง อย่าไปลงทุนที่ปลายเหตุมากนัก เช่น การติดเครื่องกรองอากาศบนหลังคารถเมล์ หรือติดเครื่องฟอกอากาศในเมือง การที่รัฐยินยอมให้เผาไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ตอซังฟางข้าวได้ เป็นต้น แต่อย่างนี้ญี่ปุ่นไม่ทำ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image