“อุดรฯ” สั่งทำแผนเปิดบริการหน่วยงานรัฐ-ร้านตัดผม-ร้านอาหารหลังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มกว่า 20 วัน

อุดรฯสั่งทำแผนเปิดบริการรัฐ-ร้านอาหาร-ตัดผม หลังไม่พบผู้ป่วยมานานกว่า 20 วัน

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 22 เมษายน 2563 ที่ห้องประชุมกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ชั้น 4 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.อุดรธานี มีรองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี 3 ท่าน ประธานหอการค้า จ.อุดรธานี , สาธารณสุข จ.อุดรธานี นำคณะกรรมการ คณะทำงาน เข้าร่วมประชุมติดตามสถานการณ์ “โควิด-19” และหารือเพื่อผ่อนคลายมาตรการ

โดยได้มีการรายงานต่อที่ประชุมว่า อุดรธานีมีผู้ป่วยสะสม 8 ราย ทั้งหมดหายป่วยตรวจไม่พบเชื้อ ถูกส่งตัวกลับไปกักตัวที่บ้านแล้วมีการพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ คนสุดท้ายมามากกว่า 20 วัน ขณะจังหวัดใกล้เคียงอุดรธานี มีบางจังหวัดเพิ่มพบผู้ติดเชื้อไม่นาน การตั้งด่านคัดกรองยังเข้มข้น พร้อมที่จะกักตัวกลุ่มเสี่ยงมากกว่า 500 คน สำหรับกลุ่มเสี่ยงถูกกักตัวที่ค่ายฮีโร่ 26 คน ได้ส่งคนสุดท้ายมาจาก สปป.ลาว ได้นำส่งกลับไปบ้านที่อุตรดิตถ์แล้ว

นพ.ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ สาธารณสุข จ.อุดรธานี กล่าวว่า ยังไม่มีการส่งสัญญาณผ่อนคลายจากส่วนกลาง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สสจ.อุดรธานี ได้นำเสนอ(ร่าง)มาตรการบางกิจการ อาทิ ร้านอาหาร , ร้านตัดผม , ร้านเสริมสวย , ห้างขายวัสดุก่อสร้าง และห้างสรรพสินค้า โดยเอาตัวอย่างมาจากกรมอนามัย จะเป็นการผ่อนคลายแบบมีเงื่อนไข ซึ่งจะนัดหมายให้แต่ละกลุ่มมาคุย ระดมความคิดเห็นให้ลงตัว ระหว่างรอสัญญาจากส่วนกลาง เพื่อพร้อมจะปฏิบัติได้ทันที

นายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายก ทน.อุดรธานี เสนอให้เปิดแผนกทะเบียนราษฎร หลังจากมีคำสั่งปิดบริการไป , สนง.ขนส่ง จ.อุดรธานี ขอเปิดให้บริการแผนกทะเบียน ที่มีรถยนต์รอจดทะเบียน 1,000 คัน รถ จยย. 2,000 คัน , แผนหนังสือเดินทางขอเปิดสัปดาห์ละ 1 หรือ 3 วัน รวมไปถึง สนง.ที่ดิน ขอเปิดบริการบางส่วน ซึ่งที่ประชุมของให้ทุกหน่วยงาน นำเสนอแผนการให้บริการ

Advertisement

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า อุดรธานียังคงมาตรการเข้ม การจะผ่อนคลายมาตรการใดๆ จะต้องรอให้ส่วนกลางพิจารณา แล้วมีมีคำสั่งออกมาก่อน ซึ่งแม้ต่อไปจะมีการผ่อนคลาย แต่การดำเนินชีวิตเราอาจจะเปลี่ยน หากมีการเปิดดำเนินการแล้ว เรายังต้องสวมหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย เว้นช่วงห่างทางสังคมแรมปี เราจะทำอย่างไรในการป้องกัน ให้เกิดเป็นมาตรฐาน เพื่อจะให้อุดรธานีปลอดภัย

“ สำหรับมาตรการที่อุดรธานี ออกมาเพิ่มเติมใช้กับหน่วยงานรัฐ และภาคธุรกิจเอกชน อาทิ แผนกทะเบียนราษฎรได้ให้อำเภอ และท้องถิ่น เสนอแผนให้บริการขึ้นมาแล้ว หรือเรื่องตลาดสดที่ไม่ได้สั่งปิด ก็ให้ลงไปดูว่าจะต้องปรับใหม่ ให้เป็นตลาดสดยุคใหม่ สำหรับตลาดนัดก็เช่นกัน ต้องไม่มีไหล่ชนกัน สินค้าต้องมีขายเหมือนเดิม ก็ให้เสนอแผนและแนวทางมา เพื่อให้คณะแพทย์และกรรมการได้ดู ”นายนิรัตน์กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image