ศอ.บต.ห่วงชาวสวนทุเรียนชายแดนใต้ ตรวจรง.รับซื้อทุเรียน ขออย่าให้พ่อค้าเหมาสวน

ศอ.บต. ห่วงชาวสวนทุเรียน 5 ชายแดนใต้ ตรวจโรงงานรับซื้อดูความพร้อม และขอให้เกษตรกรมั่นใจปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว ขออย่าเพิ่งให้พ่อค้าเหมาสวน

เมื่อวันที่ 29 เมษายน พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) พร้อมเจ้าหน้าที่หลายส่วนงาน เดินทางมายังโรงงานแรรูปทุเรียนของ บริษัทม่านกูหว่างฟู้ด จำกัด ต.บางบาง อ.เทพา จ.สงขลา มีนายประเสริฐ คณานุรักษ์ ผู้จัดการฝ่ายไทย และเจ้าหน้าที่ของบริษัทให้การต้อนรับ เพื่อนำเยี่ยมชมความพร้อมของโรงงาน จะดำเนินการรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา

พล.ร.ต.สมเกียรติ กล่าวว่า การมาดูความพร้อมและขอทราบรายละเอียดจาก ผู้จัดการโรงงานม่านกู่หว่างฟู้ด เพื่อที่จะบอกกับเกษตรที่ทำสวนทุเรียนในภาค 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกังวลในเรื่องการระบาดของ”โควิด 19” เศรษฐกิจ การค้า จะเป็นอย่างไร ผลผลิตที่ออกมาจะขายได้ราคาหรือไม่ ซึ่งจากการได้รับทราบจากผู้จัดการโรงงาน ทราบว่าโรงงานมีความพร้อมกว่าปีที่แล้ว โรงงานตั้งเป้าที่ 30,000 ตัน 20,000 ตันจะเป็นการส่งทุเรียนสด 10,000 ตันจะเป็นการแปรรูป

พล.ร.ต.สมเกียรติ กล่าวว่า จากข้อมูลของ สำนักงานการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา พบว่าปีนี้จะมีทุเรียนออกสู่ตลาด 80,000 ตัน เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนจึงไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องของผลผลิตว่าจะขายไม่ได้และอย่าเพิ่งเหมาสวนให้กับพ่อค้าคนกลางในราคาที่ถูก จะทำให้เสียโอกาส

Advertisement

“โรงงานรับซื้อทุเรียนในราคาที่สูงกว่าปีที่แล้ว 20 เปอร์เซ็น และการขนส่งมีความสะดวกเพราะสถานการของโควิด 19 ประเทศจีนมีการเปิดด่านเพื่อรองรับการขนส่ง 4 ด่าน ในเขตกวางสีจ้วง มีการผ่อนปรนพิธีการต่างๆ ซึ่งจะเป็นโอกาสทองของเกษตรกรสวนทุเรียน”

พล.ร.ต.สมเกียรติ กล่าวว่า แรงงานในพื้นที่ โรงงานต้องใช้คนงาน 1,200 -1,600 คน โดย 1,200 เป็นคนงานที่ทำงานในโรงงาน 600 เป็นคนงานที่ประจำจุดรับซื้อ จ. ปัตตานี และจ.ยะลา ซึ่งในจุดรับซื้อทุกจุด ศอ.บต. จะทำการดูแล เพื่อให้การทำงานเป็นตาม สถานการณ์การระบาดของ โควิด 19 คือการ รักษาระยะห่าง การต้องปฏิบัติตามคำสั่งของฝ่ายสาธารณสุขทุกอย่าง

นายประเสริฐ กล่าวว่า โรงงานรับออกเดอร์จากประเทศจีน เมื่อเดือน มกราคม 20,000 ตัน แต่จะซื้อให้ได้ถึง 30,000 ตัน ตามกำลังของโรงงานที่รับได้สูงสุด และคนงานที่ใช้เป็นคนงานในพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งกว่าจะหมดหน้าทุเรียนต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 7 เดือน ในการทำงานของคนงานในโรงงาน จำเป็นต้องขยายเวลาจาก 8 ชั่วโมงเป็น 12 ชั่วโมง เพราะต้องให้คนงานรักษาระยะห่างทำให้ต้องเพิ่มเวลาในการทำงานมากขึ้น และโรงงานมีมาตรการป้องกันโควิด 19 ตามขั้นตอนทุกอย่าง

Advertisement

“โรงงานรับซื้อทุเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ในอนาคตบริษัทจะรับซื้อ หมาก จากชาวสวนเพื่อมาแปรรูปส่งออก และจะรับซื้อมังคุด เพื่อช่วยเกษตรชาวสวนมังคุดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้จำหน่ายในราคาที่สูงขึ้น”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image