อธิบดี พช.จับมือสภาสตรี รุดเยี่ยมกลุ่มทอผ้า กระตุ้นสวมผ้าไทย สู้โควิด

อธิบดี พช.จับ มือสภาสตรี รุดเยี่ยมกลุ่มทอผ้า กระตุ้นสวมผ้าไทย สู้โควิด

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่หอประชุมอำเภอธาตุพนม จ.นครพนม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และนายสยาม ศิริมงคล ผวจ.นครพนม และคณะเจ้าหน้าที่ จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ติดตามการส่งเสริมอาชีพในชุมชน เพื่อเป็นการดูแลช่วยเหลือ กระตุ้นการสร้างอาชีพ สู้ภัยโควิด ตามโครงการ เติมความสุข บรรเทาความทุกข์ ด้วยการแบ่งปัน

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มอบถุงยังชีพช่วยเหลือ ชาวบ้าน ในพื้นที่ อ.ธาตุพนม 300 ชุด พร้อมติดตามเยี่ยมชม นิทรรศการ ส่งเสริมอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ทอผ้าพื้นเมือง และมอบนโยบายในการส่งเสริมอาชีพกลุ่มทอผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง รวมถึงการส่งเสริมอาชีพ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง น้อมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ช่วงเดือนสิงหาคม สอดคล้องกับการสนองนโยบายรัฐบาล เกี่ยวกับการส่งเสริมสวมผ้าไทย ที่จะเป็นการกระตุ้นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชน โดยมีนายสามารถ สุวรรณมณี นายอำเภอธาตุพนม นำข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน กลุ่มอาชีพ เข้าร่วมโครงการ

ภายหลังนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่ไปยังศาลาการเปรียญฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี วัดธาตุประสิทธิ์ อ.นาหว้า จ.นครพนม ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ทอผ้า และศูนย์หัตถกรรม วัดพระธาตุประสิทธิ์ ที่ส่งเสริมอาชีพทอผ้า ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถือว่าเป็นจุดกำเนิดโครงการศิลปาชีพแห่งแรกของประเทศไทย หลังพระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ภาคอีสาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 ในโอกาสนี้ ได้มีพระราชดำริ ให้จัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพ ส่งเสริมอาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่ และส่งเสริมอาชีพพื้นบ้าน สร้างรายได้ให้กับประชาชน ในพื้นที่ จนได้รับการพัฒนา มาถึงปัจจุบัน โดยได้มอบสิ่งของ ถุงยังชีพ 200 ชุด ให้กับประชาชน ในพื้นที่ พร้อม ตรวจเยี่ยม มอบนโยบาย เกี่ยวกับการส่งเสริม อาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมการผลิต และใช้ผ้าไทย ในกระตุ้นเศรษฐกิจ สู้ภัยโควิด

Advertisement

นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า วันนี้กรมพัฒนาชุมชน ร่วมกับ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องในจังหวัดนครพนม เพื่อตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจ และเป็นการกระตุ้นการส่งเสริมอาชีพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการสนับสนุนต่อยอด การทอผ้าพื้นเมือง ผ้าไทย รวมถึงการส่งเสริมการใช้ผ้าไทย สร้างอาชีพ สอดคล้องนโยบายรัฐบาล ในการส่งเสริม ข้าราชการ ประชาชน สวมใส่ผ้าไทย สัปดาห์ละ 2 วัน ที่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ ให้ชุมชน สู้ภัยโควิด อีกทั้งยังเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เกี่ยวกับปณิธานการส่งเสริมอาชีพทอผ้า อาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่จะมีการจัดกิจจกรมสำคัญในช่วงเดือนมหามงคล 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ


นายสุทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า ในช่วงนี้จะนำคณะลงพื้นที่ ไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือ มอบนโยบายร่วมกับ ทางจังหวัดทุกจังหวัด เกี่ยวกับ การวางแนวทางส่งเสริมอาชีพสู้ภัยโควิด เน้นกาสร้างรายได้ จากอาชีพภูมิปัญญายาชาวบ้าน การทอผ้าพื้นเมือง การทอผ้าไทย รวมถึงการส่งเสริมอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทางกรมพัฒนาชุมชน จะเน้นการช่วยเหลือ ทุกด้าน ประกอบด้วย การสนับสนุน สร้างงานให้ชุมชน นำร่องจัดตั้ง ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง โคกหนองนาโมเดล ในพื้นที่ จังหวัดนำร่อง นำชาวบ้านตกงาน เข้าไปฝึกอาชีพ และได้รับค่าจ้างแรงงานวันละ 300 บาท และขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล ในงบเงินกู้ 4 แสนล้าน เข้ามาส่งเสริมอาชีพชาวบ้าน กว่า 24,000 ครัวเรือน ไปจนถึงการช่วยเหลือชาวบ้าน ผ่านกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่เคยให้เงินทุนไปประกอบอาชีพในกลุ่ม ประมาณ 2 แสนบาท โดยไม่มีดอกเบี้ย และมีการขยายพักชำระหนี้ให้ 1 ปี

นอกจากนี้ยังได้ ร่วมกับ ทางจังหวัดว่าจ่างแรงงาน เพื่อทำการตลาด เป็น ลุกหลานเยาวชน ที่มีความรู้ความสามารถ จังหวัดละ 3 -5 คน เข้าไป ทำงาน ด้านการตลาด ลุยตลาดโซเชียล ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มอาชีพ ไปจนถึงการส่งเสริมสนับสนุน งบประมาณ เพิ่มเติมสำหรับ กลุ่มหมู่บ้านโอท็อปนวัตวิถี ที่จะเป็นการต่อยอด ยกระดับ พัฒนารายได้ให้ชุมชนท้องถิ่น สู้ภัยโควิด โดยเฉพาะการส่งเสริม การใช้ผ้าไทย จะได้ เดินหน้าทั้งการส่งเสริมอาชีพ การทำการตลาด รวมถึง การสนับสนุนให้ข้าราชการ ประชาชน หันมาใช้ผ้าไทย เชื่อว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน คาดว่าหากมีการซื้อผ้าไทย เบื้องต้นมีการซื้อเพิ่มคนละ 1 ชุด คิดแค่ครึ่งเดียวของประชากร คือ จาก 70 ล้านคน เหลือ 35 ล้านคน ชุดละ 1,000 บาท จะทำให้มีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 35,000 ล้านบาท ซึ่งคนไทยต้องช่วยกัน เชื่อว่า จะผ่านวิกฤติโควิดไปได้ด้วยดี สำคัญที่สุดการนำพื้นฐานความพอเพียงมาต่อยอดสร้างรายได้ จะทำให้เกิดความยั่งยืน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image