ชาวบ้านสร้างหลังคาทับโบราณสถานเก่าแก่ของไทย สมัยก่อนหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สำนักศิลปากร 10 สั่งรื้อบูรณะให้คงสภาพเดิม
วันที่ 8 ก.ค. นางชุติมา จันทร์เทศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้เข้าขุดแต่งและออกแบบเพื่อจะบูรณะปราสาทปรางค์กู่แก้งสนามนาง บ้านแก้งสนามนาง ตำบลโนนสำราญ อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา หลังพบว่า มีชาวบ้านได้ก่อสร้างหลังคาปิดทับปราสาทปรางค์กู่โดยไม่ได้รับอนุญาต จนทำให้สภาพความเก่าแก่ของปรางค์กู่ได้รับความเสียหาย
โดยปราสาทปรางค์กู่ เป็นโบราณสถาน ที่สร้างขึ้นช่วงศตวรรษที่16-17 รูปแบบสถาปัตยกรรมจะเป็นลักษณะของปราสาทหลังเดียว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก 3 ด้านมีลักษณะเป็นประตูหล่อ มีหลักฐานทางโบราณวัตถุเป็นแท่นฐานรูปเคารพ ซึ่งโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดแต่งจะมีเศษภาชนะดินเผา และเป็นส่วนของภาชนะเนื้อดินในวัฒนธรรมเขมร โดยหลักฐานที่ได้มาจากส่วนของฐานฐานบัว บัวคว่ำ บัวหงาย และทางด้านหน้าทิศตะวันตกมีบารายอยู่ด้วย
ทั้งนี้ ถือว่าเป็นโบราณสถานที่แปลกมาก ที่ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันตก คล้ายกับปราสาทนครวัด หนึ่งเดียวของประเทศกัมพูชาที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งในส่วนของตัวปราสาทที่มีลักษณะแบบนี้ ส่วนใหญ่จะก่อสร้างด้วยหินทรายสีแดง ถ้าเป็นก่อสร้างด้วยศิลาแลงจะเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งจะมีรูปแบบที่เรียกกันว่า “อโรคยาศาล” หรือ โรงพยาบาลของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่อีกแบบหนึ่งก็คือ “ธรรมศาลา” หรือที่พักระหว่างเดินทางที่จะสร้างตามแนวถนนโบราณ แต่ปราสาทนี้หลังไม่ใช่ลักษณะของทั้ง 2 รูปแบบในพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ได้มีการก่อสร้างมา จึงคาดว่า จะเป็นสมัยก่อนหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณ 700-800 ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- หมอช้าง เปิด 2 ราศี การเงินสุดปัง ได้ทั้งเงินและโชคลาก มีโอกาสปลดหนี้
- ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ตั้งนิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3.1
- เชียงรายเจอพิษฝุ่น หลังน้ำลด เจอดินโคลนติดค้าง รถแล่นไปมา ทำฟุ้งกระจายทั่วเมือง
- แสนสะท้าน ไลฟ์สดรับผิด เป็น นักมวย ส. โดนจับแปะลิงก์พนัน พร้อมเล่าสาเหตุ