สหกรณ์ยางบึงกาฬเฮ ปัญหาโรงงานยางเริ่มดีขึ้น หลังธนารักษ์ให้เช่าและผ่อนปรนค่าเช่า

ลงนาม

สหกรณ์ยางบึงกาฬเฮ ปัญหาโรงงานยางเริ่มดีขึ้น หลังธนารักษ์ให้เช่าและผ่อนปรนค่าเช่า

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม นายแน่น จำปาศรี ประธานชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด และนายเกษตร สิทธิไกรพงษ์ ที่ปรึกษา พร้อมคณะกรรมการชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด ตั้งโต๊ะแถลงข่าวและชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสมาชิกของชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด หลังกรมธนารักษ์ มีหนังสือให้เช่า โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา และผ่อนปรนค่าเช่า ค่าธรรมเนียม เพื่อดำเนินกิจการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา และลงนาม MOU ซื้อขายผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองระหว่างชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ กับกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองจังหวัดบึงกาฬ เพื่อนำมาเป็นปลอกหมอนยางพารา และการลงนาม MOU กับบริษัท NYX (Namyong World Wide Express) ตัวแทนไปรษณีย์จีน

โดยนายสมหมาย อมรมงคลกิจ กรรมการผู้จัดการบริษัท NYX ที่มีความประสงค์ซื้อและเป็นตัวแทนซื้อ จำหน่าย จัดส่ง รวมทั้งดูแลการตลาด และบริษัท Crago Clas ผู้จัดส่งสินค้าทางอากาศ และทางเรือจากไทยสู่จีน ฮ่องกง และใต้หวัน ที่จะนำหมอนยางพาราเข้าไปจำหน่ายในจีน ในราคาที่เหมาะสม โดยมีนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ นายกรกต ธำรงวงสวัสดิ์ รอง ผวจ.บึงกาฬ นายนิพนธ์ คนขยัน นายก อบจ.บึงกาฬ ผู้บริหาร สมาชิกสภา อบจ.บึงกาฬ คณะกรรมการชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ที่ดินชุมนุมสหกรณ์ฯ บ้านตาลเดี่ยว ตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ

ลงนาม MOU ซื้อขายผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองระหว่างชุมนุมฯ กับกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองจังหวัดบึงกาฬ เพื่อนำมาเป็นปลอกหมอนยางพารา และการลงนาม MOU กับบริษัทตัวแทนไปรษณีย์จีน และผู้จัดส่งสินค้าทางอากาศ และทางเรือจากไทยสู่จีน ฮ่องกง และใต้หวัน ที่จะนำหมอนยางพาราเข้าไปจำหน่ายในจีน ลงนาม MOU ซื้อขายผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองระหว่างชุมนุมฯ กับกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองจังหวัดบึงกาฬ เพื่อนำมาเป็นปลอกหมอนยางพารา และการลงนาม MOU กับบริษัทตัวแทนไปรษณีย์จีน และผู้จัดส่งสินค้าทางอากาศ และทางเรือจากไทยสู่จีน ฮ่องกง และใต้หวัน ที่จะนำหมอนยางพาราเข้าไปจำหน่ายในจีน

นายเกษตร สิทธิไกรพงษ์ ที่ปรึกษาฯชุมนุมสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่สำนักงานรนรักษ์พื้นที่บึงกาฬได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0318.26/383 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 แจ้งว่า ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด ได้ขอผ่อนปรนค่าเช่าและค่าธรรมเนียมในการจัดให้เช่าอาคารราชพัสดุหลังลำดับที่ 514-518 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินชุมนุมสหกรณ์ฯตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เพื่อดำเนินกิจการโรงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา เนื่องจากปัจจุบันอาคารโรงงานดังกล่าวยังขาดระบบสาธารณูปโภคตามมาตรฐานโรงงาน และยินยอมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดก็ต่อเมื่อเครื่องจักรจำนวน 5 โรงงาน สามารถดำเนินการผลิตแล้ว จึงขอให้กรมธนารักษ์พิจารณา ซึ่งกรมธนารักษ์พิจารณาแล้วเห็นว่า

1.เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่า ในการดำเนินกิจการโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ชุมนุมจะต้องขอรับเงินอุดหนุนจากการยางแห่งประเทศไทย จำนวน 62 ล้านบาท เพื่อติดตั้งบ่อบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน ประกอบกับสำนักงานธนารักษ์พื้นที่บึงกาฬ ยังอยู่ระหว่างการประเมินสภาพเครื่องจักรโรงงาน เพื่อพิจารณากำหนดผลตอบแทน ในการจัดให้เช่าทั้งอาคารและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งเครื่องจักร ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนดำเนินกิจการของชุมนุมสหกรณ์ฯ ตามนโยบายของรัฐบาลให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

Advertisement

อีกทั้งเป็นการป้องกันและรักษาทรัพย์สินของรัฐไม่ให้เกิดความเสียหาย จึงขอให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่บึงกาฬ พิจารณาอนุญาตให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ เข้าใช้ประโยชน์อาคารดังกล่าวตามแผนที่เสนอไปพลางก่อน กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์อาคารและสิ่งปลูกสร้างเทียบเคียงกรณีการก่อสร้างอาคาร ยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรงการคลังในอัตราร้อยละ 0.5 ของมูลค่าทรัพย์สิน ตามเอกสารหมายเลข 3 แนบท้ายคำสั่งกรมธนารักษ์ ที่ 683/2560 สั่ง ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2560 และชุมนุมสหกรณ์ฯ ต้องดูแลบำรุงรักษาอาคารและสิ่งปลูกสร้างพร้อมทั้งเครื่องจักรภายในโรงงานให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และพร้อมที่จะใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่จะขอเช่า

2.หากชุมนุมสหกรณ์ฯ ได้รับเงินอุดหนุนจากการยางแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสินผู้รับจำนองที่ดินของชุมนุมสหกรณ์ฯ ได้ยินยอมให้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นที่ อีกทั้งได้มีการประเมินสภาพเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว ให้สำนักงานธนารักษ์พื้นที่บึงกาฬ พิจารณาดำเนินการจัดให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ เช่าอาคารราชพัสดุทั้ง 5 รายการ เพื่อดำเนินโรงานแปรรูปยางพารา โดยเรียกเก็บผลตอบแทนในการจัดให้เช่า ทั้งตัวอาคารและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมเครื่องจักรภายในโรงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ลงชื่อนายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์

ซึ่งหลังชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬจำกัด ได้รับอนุญาตให้ใช้โรงงานในพื้นที่ 5 โรงงานเรียบร้อยแล้ว ในส่วนบทบาทหน้าที่ของประชุมสหกรณ์ฯก็คือ ในเรื่องของการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนโรงงานแต่ละโรงงาน ให้สามารถเดินได้ทั้งระบบเครื่องจักรและระบบไฟฟ้า โดยเบื้องต้นนี้ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากการยางแห่งประเทศไทยจำนวน 57 ล้านบาท เพื่อมาดำเนินการในส่วนระบบไฟฟ้าระบบบำบัดน้ำเสีย แล้วก็ครุภัณฑ์ที่จำเป็น ที่เป็นส่วนขับเคลื่อนโรงงานน้ำยางข้น เพื่อให้เดินต่อไปได้

Advertisement
ลงนาม MOU

ซึ่งหลังจากได้รับงบประมาณจะใช้ระยะเวลาประมาณไม่เกิน 2-3 เดือนก็จะสามารถรับซื้อน้ำยางสดพี่น้องเกษตรกรได้ครับ วัตถุประสงค์ในวันนี้ก็เพื่อที่จะชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องสมาชิกของชุมนุมสหกรณ์ฯ ตลอดจนพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราของจังหวัดบึงกาฬ ได้ทราบข้อเท็จจริงและความเป็นมาของการจัดตั้งสหกรณ์และการดำเนินการของโรงงาน ซึ่งชุมนุมสหกรณ์เราได้ตระหนักดีว่า การดำเนินงานของสหกรณ์นั้นต้องใช้คนมีความรู้ความสามารถ ในการเข้ามาดำเนินการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและเพื่อผลตอบแทนคืนให้พี่น้องเกษตรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

นายนิพนธ์ คนขยัน นายก อบจ.บึงกาฬ ชี้แจงว่า หลังจากมีข่าวออกไปว่าตนและ อบจ.บึงกาฬ มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด และการจัดการเงินงบประมาณ 193 ล้านบาทนั้น ขอเรียนว่านายก อบจ.บึงกาฬ สภา อบจ.บึงกาฬ เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ยังไง เกี่ยวข้องตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุนให้พี่น้องเกษตรกรในท้องถิ่นหรือตามคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาส่วนราชการอื่น ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเงิน 193 ล้านบาท นิพนธ์ คนขยัน นายก อบจ. สภา อบจ. และชุมนุมสหกรณ์ฯไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง การจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด มอบให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็นผู้ลงนาม ไม่ได้เกี่ยวกับสหกรณ์ฯไม่ได้เกี่ยวกับ อบจ.ไม่ได้เกี่ยวกับนิพนธ์

แต่ตอนที่จะเกี่ยวนั้นคือกลุ่ม 5 จังหวัดบอกว่าถ้าสร้างโรงงาน 193 ล้านเสร็จกลุ่มจังหวัดจะยกให้ อบจ.รับผิดชอบ ท้ายที่สุดกลุ่มจังหวัดมีมติโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้ อบจ.รับผิดชอบ ผมก็ตั้งความหวังว่าจะได้สานต่อโรงงานให้แล้วเสร็จ อยู่ๆระเบียบกลับมาบอกว่าอาคารทุกอย่าง เครื่องจักร ถ้าเงินจากรัฐบาลมาสร้างต้องตกเป็นของธนารักษ์ ให้ธนารักษ์เก็บค่าเช่า วันนี้จะขอเงินจาก กยท.มาต่อยอด ก็ต้องไปขอเช่าจากธนารักษ์ก่อน ถ้าเงินจำนวน 57 ล้านที่จะขอจากการยางไม่ได้รับการอนุมัติ อบจ.ก็พร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือนำเรื่องเข้าสภาของ อบจ.ตามกรอบอำนาจหน้าที่การกระจายอำนาจ พ.ศ.2540 ให้ดูแลพี่น้องเกษตรกรทุกภาคส่วน สุดท้ายขอเรียนว่า อบจ. สภา อบจ.ชุมนุมสหกรณ์ฯ และผมนายกนิพนธ์ ไม่ได้ก้าวก่ายเงิน 193 ล้านบาทแต่อย่างใด

นายกรกต ธำรงวงสวัสดิ์ รอง ผวจ.บึงกาฬ กล่าวว่า โรงงานหมอนยางพารามีปัญหามายาวนานตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ปัจจุบันยังไม่สามารถเดินเครื่องได้ เพราะยังไม่มีไฟฟ้า มีบ่อบำบัดน้ำเสียใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ทันเวลา มีปัญหาเรื่องแบบแบลน จนทำให้เงินตกไป แต่ตอนนี้ก็จัดซื้อจัดจ้างโรงงานหลังที่ 5 แล้วอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เพราะนั้นก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกฝ่าย ถ้าโรงงานประสบผลสำเร็จ มันก็จะเป็นความภาคภูมิใจของทุกฝ่ายที่ช่วยกันขับเคลื่อนผลักดัน และที่สำคัญจะเป็นช่องทางที่ทำให้อาชีพชาวสวนยางพารา เป็นอาชีพที่มีอนาคต พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราก็จะมีความสุข

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image