“ก้าวไกล” บุกนนทบุรี จัดเสวนา “เปลี่ยนจังหวัดนนท์ เริ่มต้นที่ตัวเรา”

“ช่อ พรรณิการ์” และ “ไพบูลย์” เสวนา จัดงานเสวนา”เปลี่ยนจังหวัดนนท์ เริ่มต้นที่ตัวเรา”ในการพัฒนาประเทศ

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 13 ก.ย.63 ที่โรงแรมนนทบุรีพาเลซ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี คณะก้าวหน้านนทบุรี นำโดยนางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ หัวหน้าคณะทำงานคณะก้าวหน้า นนทบุรี จัดงานเสวนา “เปลี่ยนจังหวัดนนท์ เริ่มต้นที่ตัวเรา”มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 120 คน โดยมีนายไกลก้อง ไวทยการ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ร่วมฟังการเสวนาในครั้งนี้ด้วย

ช่วงเวลา13.40 – 15.35น. ดร.ไพบูลย์ กิจวรวุฒิ ว่าที่ผู้สมัคร นายก อบจ.นนทบุรี ในนามคณะก้าวหน้า นนทบุรี และ น.ส.พรรณิการ์หรือช่อ วานิช กรรมการบริหาร คณะก้าวหน้า เสวนาในประเด็นแนวคิดการจัดทำนโยบายสาธารณะสำหรับท้องถิ่น เนื้อหาเป็นการพูดถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหาพัฒนาในส่วนพื้นที่ต่างๆ ของ จ.นนทบุรี คือ ระบบคมนาคมขนส่ง การจราจร รถติด ปัญหาสังคมเรื้อรังของคนเมือง ปัญหายาเสพติด โดยเชื่อว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ใหญ่ของ จ.นนทบุรี ในเรื่องการเมืองท้องถิ่นจะทำนโยบายเรื่องนี้ให้ชัดเจน และได้พูดถึงวิสัยทัศน์ของ จ.พังงา ในอนาคตจะเป็นเมืองของกีฬาเล่นวินเซิร์ฟ เมืองดำน้ำ โดยการสร้างเมืองกีฬาจะได้มีจุดขายนักท่องเที่ยว สุขภาพของผู้สูงอายุจะดีขึ้น เด็กจะแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และเกิดการจ้างงานท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น สำหรับปัญหายาเสพติดแก้ได้โดยการทำยังไงให้คนรู้สึกว่าไม่ต้องพึ่งยาเสพติด หากทีมเราชนะเลือกตั้งจะทำเรื่องนี้ได้อย่างสมบูรณ์

การลงพื้นที่ของ ดร.ไพบูลย์ฯ ใน 1ปี ที่ผ่านมาได้เห็นอะไรมากมาย ปัญหาของ จ.นนทบุรี ที่คนนนทบุรี อยากให้แก้หลักๆ คือ รถติด ขยะ ยาเสพติดและมลพิษ เรามีมาตรการแนวคิดในการแก้ปัญหารถติดโดยระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ควรแก้ปัญหารถติดด้วยการสร้างถนนเพิ่ม จ.นนทบุรี ได้เปรียบเพราะมีรถไฟฟ้าแต่คนไม่ค่อยใช้กันเพราะราคาแพง โดยผู้รับเหมาอ้างว่าต้นทุนสูง ปัญหาของเรา คือ ขาดการนำพาคนออกมาจากตรอกซอกซอยต่างๆคือระบบ ขนส่งมวลชนที่ดีและเพิ่มมากขึ้น

เปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาว่าเราถูกบังคับให้มีรถส่วนตัวเหมือนกัน แต่ระบบต่างๆ ของเราไม่ดีเหมือนเค้า เราลงทุนไปกับรถซึ่งไม่ทำให้เกิดสินทรัพย์เหมือนบ้าน ทำให้ชีวิตไม่มั่นคง

Advertisement

เรื่องรถขนส่งสาธารณะโยงใยเชื่อมต่อไปถึงจังหวัดใกล้เคียง ถ้าเราส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะจะช่วยในเรื่องเศรษฐกิจได้

เรามีปัญหาด้านอากาศ เรื่องงบประมาณ อบจ.นนทบุรี มีงบประมาณปีละ ประมาณ 2,000ล้านบาท จะบริหารงานโดยการค่อยๆ ลงทุนให้ประชาชนเกิดประโยชน์ เชื่อว่าเงินจำนวนนี้เพียงพอ หลายอย่างไม่ได้ใช้งบประมาณเยอะหลายโครงการใช้แค่หัวคิด

ปัญหาการทิ้ง (กำจัด) ขยะไม่ทันมีปัญหาในเรื่องการจัดการของรถขยะที่เส้นทางเดินรถไม่เพียงพอ ปัญหาท่อน้ำใต้ถนนเล็กใหญ่ไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ทำให้น้ำท่วม เพราะไม่มีการบูรณาการกันภายในจังหวัดปัญหาคูคลองต่างๆ มีหน่วยงานต่างๆ ดูแลเยอะ การที่ อปท.จะสร้างสะพานข้ามคลองไม่รู้จะประสานกับหน่วยงานไหนบ้าง มีปัญหาในข้อกฎหมาย รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ตามท้องถนนยุ่งยาก ซึ่งคณะก้าวหน้าจะพยายามผลักดันในเรื่องการกระจายอำนาจเพื่อให้ท้องถิ่นทำงานได้ง่ายขึ้น

Advertisement

ดร.ไพบูลย์ฯพูดถึงเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ดฯว่าพื้นที่ตรงกลางเกาะเกร็ดมีที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เยอะจะปรับภูมิทัศน์ทำให้เป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็น Eco’s sport park  เราต้องเอาเงิน 2,000 ล้านบาท ของ อบจ.กลับมาที่เราให้มากที่สุด

เราต้องทำให้เกิดงานในต่างจังหวัดให้ได้ ซึ่งเราจะส่งคนลงเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อเป็นรัฐบาลในจังหวัดต่างๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐบาลส่วนกลาง

สิ้นปีจะมีโรงงานปิดตัวเยอะมากเนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 จะมีการอพยพกลับบ้านระลอก 2  มท.จะจ้างงานประมาณ 10,000 ตำแหน่ง เพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยมีเงินเดือน เดือนละ 5,000 บาท ถือว่าต่ำมาก เป็นการละเมิดกฎหมายแรงงาน ท้องถิ่นไหนรับมือกับเรื่องนี้ได้ต้องทำ ไม่ควรให้ มท.หรือส่วนกลางเป็นคนคิดเรื่องการจ้างงานเพราะไม่ตรงกับความต้องการของคนในท้องถิ่น คนที่จะตอบโจทย์ได้คือ อปท.ในพื้นที่นั้นๆ

เรื่องของสวัสดิการสาธารณสุขปัจจุบันงบบัตรทองน้อยกว่างบกลาโหม บุคลากรสาธารณสุขขาดแคลน ระบบสวัสดิการของไทยมี 3 ระบบ บัตรทอง ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งระบบประกันสังคมงบต่อหัวน้อยที่สุด การบริการขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและบุคลากร ทำยังไงให้ ๓ ระบบนี้ยุบรวมกันเป็นมาตรฐานเดียวกันที่ดีได้

เวลา 15.50 -17.00น. นายชำนาญ จันทร์เรือง กรรมการบริหาร คณะก้าวหน้า เสวนาเรื่องความสำคัญของการเมืองท้องถิ่นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและปากท้อง รวมทั้งการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ เนื้อหาที่สำคัญมีการพูดถึงโครงสร้างการจัดระเบียบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน อธิบายความหมายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค อาทิ หน่วยงานไหนมีคำลงท้ายเป็นจังหวัดให้สันนิษฐานว่าเป็นราชการส่วนภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคที่มีการควบคุมบังคับบัญชาที่สามารถลงโทษกันได้ อธิบายความหมายรูปแบบของราชการส่วนท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะกำกับดูแล ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ใม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของท้องถิ่น โดยท้องถิ่นมีผู้บังคับบัญชา คือ นายก อปท.นั้นๆ ราชการส่วนท้องถิ่นไม่ได้สังกัด มท. พูดถึงประโยชน์ของการปกครองท้องถิ่น เช่น จะช่วยกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของสาธารณชนในพื้นที่ แบ่งเบาภาระของภาครัฐในส่วนกลาง

ถ้าเราเฉยเมยต่อการเมืองจะได้คนโง่มาปกครองเรา ไม่มีใครรู้ปัญหาท้องถิ่นดีกว่าคนท้องถิ่น

พร้อมอธิบายวิวัฒนาการของการปกครองของ อปท. ไทย เริ่มจาก สุขาภิบาล กทม. และมี รธน.ฉบับแรก เมื่อ 27 มิ.ย.2475 โดยราชการส่วนท้องถิ่นเกิดเมื่อปี 2476รธน.ปี 40 เขียนให้มีการเลือก นายก อปท. และ สมาชิกสภา อปท. ต่างๆ เล่าถึงการเกิดขึ้นของเมืองพัทยา และอธิบายสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร

3 ) บุคคลที่น่าสนใจที่เข้าร่วมกิจกรรม คือ นายไกลก้อง ไวทยการ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า

ทั้งนี้ กลุ่ม ilawได้มาตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ 50,000 รายชื่อ เพื่อแก้ไข รธน. ปี 60 ที่หน้าห้องประชุมด้วย

ได้ยุติกิจกรรมเสวนาในเวลา 17.10 น.และว่าที่ผู้สมัคร ส.อบจ.นนทบุรี ได้ประชุมส่วนตัวร่วมกับแกนนำคณะก้าวหน้า นนทบุรีกันต่อถึงการกำหนดทิศทางของพรรค

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image