“อภัยภูเบศร” เปิดวิธีใช้ฟ้าทะลายโจรให้ได้ผลเมื่อเป็นโควิด พร้อมแนะวิธีดูแลตัวเองและรับมือเมื่อป่วย

“อภัยภูเบศร” เปิดวิธีใช้ฟ้าทะลายโจรให้ได้ผลเมื่อเป็นโควิด พร้อมแนะวิธีดูแลตัวเองและรับมือเมื่อป่วย

โรคโควิด-19 เป็นโรคที่มีการติดเชื้อจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2019 แพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจาก จมูกหรือปากซึ่งออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เรารับเชื้อได้จากการหายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมาจับตามใบหน้า ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการมีตั้งแต่ 1-14 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน อาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระลอกสามที่ พบ คือ ตาแดง น้ำมูกไหล บางรายมีผื่นขึ้น อาจเป็นจุดเลือดออก หรือมีผื่นบวมแดง คล้ายลมพิษ บางรายอาจมีลักษณะของตุ่มน้ำคล้ายสุกใส ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จามและระบบทางเดินหายใจอื่นๆ

สิ่งที่น่าเป็นห่วงของการระบาดระลอก 3 คือ มีปอดอักเสบเพิ่มขึ้น และในผู้ชายจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้หญิง โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะอาการรุนแรง คือ ผู้ที่มีโรคอ้วนและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งอาการที่พบในระลอก 3 นี้แตกต่างจากระลอกแรกมาก ผู้ป่วยต้องหมั่นสังเกตอาการและติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างสม่ำเสมอ

แนวทางในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขแนะนําให้ประชาชนป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด โดยยึดหลักปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน
D-M-H-T-T-A คือ
D : Distancing เว้นระยะห่าง
M : Mask wearing สวมหน้ากาก
H : Hand washing ล้างมือบ่อยๆ
T : Temperature ตรวจวัดอุณหภูมิ
T : Testing ตรวจเชื้อโควิด-19
A : Application Thaichana ใช้แอปพลิเคชันไทย ชนะ/หมอชนะ และสามารถเข3าไปประเมินตนเองได้ผ่านแอปพลิเคชัน “ไทยเซฟไทย”ว่า มีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อหรือไม่ เป็นการปกป้องคนในครอบครัว และเพื่อนในที่ทํางานไม่ให้เป็นโควิด-19

Advertisement

แนวทางการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง โควิด-19 มีสาเหตุมาจากไวรัสโคโรนา 2019 เป็นที่ทราบกันดีว่า ไวรัสนั้นจะพ่ายแพ้ต่อภูมิคุ้มกันที่ดี ปัจจุบันมีเพียงวัคซีนเท่านั้น ที่มีงานวิจัยที่ชัดเจนว่ามีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แต่ก็ยังไม่ได้ผล 100% ดังนั้นจึง มีความจําเป็นที่ต้องใช้การดูแลสุขภาพที่หลากหลายเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ได้แก่

1. นอนหลับให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง การนอนน้อยหรือการอดนอน จะทําให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ

2. ลดความเครียด เพราะความเครียดเป็นสาเหตุที่ทําให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง หมั่นทําจิตใจให้แจ่มใส หรือออกไปทํากิจกรรม เพื่อเป็นผการผ่อนการคลายจากความเครียด

Advertisement

3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ทั้งอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ การวิจัยในปัจจุบันยังพบว่าองค์ประกอบบางชนิดในเครื่องเทศ และสมุนไพรอาจมีผลเพิ่มภูมิคุ้มกันทั้งชนิดจําเพาะและไม่จําเพาะได้

4. การออกกําลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์จะช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนเลือดดี ทําให้เม็ดเลือดขาว สามารถจัดการกับเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ลดโอกาสการเกิดโรคได้มากขึ้น

5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทําให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลง โดยลดการทานอาหารหวาน ลดดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ และควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน

6.ดื่มน้ำให้เพียงพอ ร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำ 70% ดังนั้นหากรร่างกายขาดน้ำ จะมีผลทําให้ภูมิคุ้มกันทํางานได้ไม่ดี

ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19

ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ในต่างประเทศมีการนําความรู้การแพทย์ทางเลือกมาศึกษาวิจัยและพบว่า สารอาหาร หรือ องค์ประกอบบางชนิดในพืชอาจมีประโยชน์ในแง่ของการเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบในร่างกาย และมีการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันไวรัสหลายชนิดที่ก่อโรคในทางเดินหายใจ ซึ่งในประเทศไทยเองนั้นมีความหลากหลายของพืชผักและสมุนไพรที่ควรนํามาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ โดยสารอาหารและองค์ประกอบในอาหารที่ควรบริโภคเพิ่มเติมไปกับอาหารปกติ

เควอซิทิน อาหารที่มีส่วนประกอบของเควอซิตินในปริมาณสูง ได้แก่ หอมแดง หอมใหญ่ แอปเปิ้ล องุ่น พลูคาว หรือผักคาวตอง มะรุม ใบหม่อน

วิตามินซี อาหารที่มีวิตามินซีในปริมาณสูง ได้แก่ มะขามป้อม ฝรั่ง ลิ้นจี่ มะละกอ ลูกพลับ ส้มโอ กีวี ส้ม สัปปะรด สตอเบอรรี่กีวี

แร่ธาตุสังกะสี สังกะสีพบมากในอาหารทะเล เช่น หอยนางรม หอยแมลงภู่ ปู กุ้งหรือกุ้งมังกร ปลาทะเลน้ำลึกอย่างปลาซาร์ดีนที่สามารถบริโภคในรูปแบบปลากระป๋อง และปลาแซลมอน เป็นต้น รวมถึงตับ เนื้อสัตว์และผักบางชนิด โดยเฉพาะเห็ด ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาด และมันฝรั่ง

อาหารและการปฏิบัติตาม
คําแนะนําในต่างประเทศ นอกจากสารอาหารหรือองค์ประกอบในอาหารตามที่กล่าวไปข้างบนแล้ว ควรเน้นการบริโภค กลุ่มของเครื่องเทศ ที่ได้แก่ ขิง ขมิ้นชัน กระเพรา โหระพา กระเทียม ให้มากขึ้น เพราะมีงานศึกษาวิจัยกว้างขวางในแง่ของการเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบของร่างกาย ต้านไวรัสในกลุ่มที่ก่อโรคในทางเดินหายใจ

นอกจากการศึกษาสารในอาหารแล้ว ยังมีความพยายามในการศึกษาผลของวิตามินดีต่อการติดเชื้อโคโรนา 2019 แต่การศึกษายังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่อาจเป็นไปได้ว่า คนบางกลุ่มมีโอกาสที่จะพร่องวิตามินดีและติดโควิดมากขึ้น ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ คนที่เป็นโรคอ้วน และคนที่มีผิวคล้ำ ดังนั้นในประเทศเราที่มีแสงแดดอย่างพอเพียง สมควรที่เราจะได้สัมผัสแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น แต่ไม่ใช่แสงแดดในช่วงกลางวันเพราะอาจทําให้เกิดการเป็นไข้ ผิวหนังไหม้และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่ผิวหนังในกรณีของการใช้ ฟ้าทะลายโจร ในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจน แต่มีงานวิจัยอยู่บ้างในการเสริมการทํางานของภูมิคุ้มกันต่อร่างกายในการกําจัดเชื้อโรค และมีงานวิจัยวาาสามารถป้องกันหวัดได้ เมื่อรับประทาน ในขนาด 1 แคปซูล วันละครั้ง รับประทาน 5 วันต่อสัปดาห็ เป็นเวลา 3 เดือน หากไม่มีประวัติแพ้ฟ้าทะลายโจร ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ก็สามารถรับประทานได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ฟ้าทะลายโจรขนาดสูงเพื่อการเสริมภูมิคุ้มกัน

การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อทราบผลว่าเป็นโควิด-19
ให้สอบถามสถานพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการที่แจ้งผล หรือสายด่วนโควิด เพื่อรับทราบข้อมูลและคําแนะนําในการปฏิบัติตนอย่างชัดเจน ในกรณีมีคําแนะนําให้แยกตัวเอง หรือระหว่างรอรับการรักษา ให้ปฏิบัติดังนี้

1. เตรียมที่พักและอุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่ แยกห้องนอนและห้องน้ำออกจากผู้อื่น (เลือกห้องพักที่โปร่งอากาศถ่ายเท แสงแดดเข้าถึง) แยกของใช้ส่วนตัว จัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ (ปรอทวัดไข้ แอลกอฮอล์ เจล หน้ากากอนามัย สบู่) และอุปกรณ์ทําความสะอาดส่วนตัว (ถุงขยะ ถังขยะ สารฟอกขาว น้ำยาทําความสะอาด)

2. มีการวัดไข้ และสังเกตอาการสม่้ำเสมอ หากมีอาการไข้สูง หรือมีอาการหายใจ ลําบากให้แจ้ง สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือ อสม.

3. การใช้ยาสมุนไพร

3.1 ยาฟ้าทะลายโจรแคปซูล ครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน ทันทีที้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโควิด-19 ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้ที่มีประวัติแพ้ฟ้าทะลายโจร ไม่แนะนําให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ

หมายเหตุ : ขนาดในการแนะนํานี้คํานวณจากผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรอภัยภูเบศร ใน 1 แคปซูลมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ 12 มิลลิกรัมต่อแคปซูล

3.2 ดื่มน้ำขิงแก่อุ่นๆ ในช่วงเช้า ครั้งละ 1 แก้ว เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

3.3 ยาอมหรือยาแก้ไอมะขามป้อมเมื่อมีอาการไอ หากมีอาการเสมหะข้นให้จิบชาชงมะขามป้อมตลอดทั้งวัน หรือจิบน้ำมะนาวแทรกเกลือ (หลีกเลี่ยงการใช้เกลือในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง) ไม่มีอาการแล้วหยุดได้

3.4 ยาขิงแคปซูล รับประทานครั้งละ 2-3 แคปซูลวันละ 3 ครั้ง เมื่อมีน้ำมูก ไม่มีอาการแล้ว หยุดได้ (ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่แนะนําให้ใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีและเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี)

3.5 การสูดดมยาต้มที่ประกอบด้วยเครื่องเทศ ไม่ว่าจะเป็น ขิง หอมแดง ตะไคร้ โหระพา กระเพรา กระเทียม โดยอาจผสมเครื่องเทศทุกชนิด หรือเลือกเฉพาะชนิดใดชนิดหนึ่งที่หาได้ง่าย เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก

3.6 การล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เมื่อมีน้ำมูกหรือคัดจมูก

4. การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

4.1 นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง
4.2 ดื่มน้ำให้พอเพียงตลอดทั้งวัน 1.5-2 ลิตร หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น
4.3 ออกกําลังกายในช่วงแสงแดดอ่อนๆ และพยายามขยับเขยื้อนร่างกายให้มากเพื่อให้เลือดลมไหลเวียนดี
4.4 รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เน้นการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของผัก ผลไม้ และเครื่องเทศ

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรตระหนักถึงความสําคัญของการดูแลสุขภาพตนเองของภาคประชาชนโดยเฉพาะในภาวะที่มีการระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ทําให้ทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจํากัดอยู่แล้ว ยิ่งมีความจํากัดมากขึ้น โรงพยาบาลจึงได้จัดทําแนวทางการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันและ (อาจจะจําเป็นต้อง) ดูแลตนเองเมื่อป่วยในกรณีที่มีอาการไม่มาก เพื่อสํารองทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีจํากัดให้เพื่อนคนไทยที่มีความจําเป็นทางการแพทย์มากกว่า ด้วยความเร่งรีบของสถานการณ์เป็นข้อจํากัดในการจัดทําแนวทางนี้ ทางโรงพยาบาลจะเพิ่มเติมข้อมูลทางวิชาการที่จําเป็นในการดูแลสุขภาพให้มีความสมบูรณ์ ในภาษาที่ง่าย เพื่อให้ประชาชนใช้ในการดูแล สุขภาพของตนเองอย่างปลอดภัยที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจากรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image