ปัตตานี เสียชีวิต 6 ราย หวั่นระบาดหนักช่วงวันฮารีรายอ ศบค.ย้ำทุกมัสยิดให้ตามระเบียบจุฬาราชมนตรี

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 จังหวัดปัตตานี ยังคงสูงขึ้นเฉลี่ยที่ 150-200 คน ต่อวัน บรรยากาศในตัวเมืองปัตตานี เศรษฐกิจซบเซา เงียบเหงา บรรยากาศร้านค้าต่างๆ มีผู้คนออกมาจับจ่ายน้อยพ่อค้า แม่ค้า เกิดผลกระทบ โดยเฉพาะอีกในช่วงวันที่ 22-25 ก.ค.นี้ จะเข้าวันฮารีรายอ อีดิ้ลอัฎฮา หวั่นจะทำให้เกิดคลัสเตอรใหม่ขึ้นมาอีก และอีกเรื่องที่น่าห่วงเช่นกันคือ กรณีเด็กปอเนาะที่ยังติดค้างในโรงเรียนหลายแห่งที่กระจายอยู่ทั่วทั้ง 12 อำเภอ ศบค.ประจำอำเภอกำลังสร้างความเข้าใจ เฝ้าระวังตามมาตรการ มีการควบคุมไม่ให้กลุ่มนี้เคลื่อนไหว ออกไปพบปะผู้คน มาเป็นเวลา 1เดือนแล้ว ฝ่ายเจ้าหน้าที่กำลัง พิจารณาว่าจะให้กลับบ้านได้หรือไม่ หวั่นเกิดคลัสเตอร์กระจายเพิ่มขึ้นอีก

นายแพทย์มุฮำหมัดฟาฮมี ตาเละ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด เปิดเผยว่า จากตอนนี้สำหรับของในปัตตานีนั้น ถือว่าตัวเลขสูง มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นวงกว้างแล้ว มีการระบาดเข้าไปในชุมชนในหมู่บ้านเกือบทุกชุมชนแล้ว ทั้งนี้เราพบว่าตัวเลขที่มีจริงๆน่าจะสูงกว่าที่ทางจังหวัดรายงาน ทั้งนี้เพราะบางคนไม่มีอาการ มีผู้ป่วยหลายคนมาตรวจพบที่โรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเข้าสอบสวนโรค

ทั้งนี้ในช่วงวันฮารีรายอ ที่จะมีการฉลองของคนมุสลิม มีการพบปะ ระหว่างญาติพี่น้อง มีการเชือด วัว กุุรบาน และทำกิจกรรมเหมือนที่เคยทำทุกปี ก็จะมีแนวโน้มว่าผู้ติดเชื้อจะมากขึ้นไปอีก ตัวเลขน่าจะสูงขึ้น ทั้งนี้คาดว่าทางรัฐ ฯ น่าจะมีการวางมาตรการ วางกฎระเบียบ เอาไว้แล้ว ตามที่ทางจุฬาราชมนตรี ได้บอกไว้
และขอเตือนทางประชาชนเอง ควรเฝ้าระวัง รัดกุม ทำให้มิดชิดมากที่สุด จัดคนให้น้อย เฉพาะผู้ที่จัดการ แบ่งโซน ระวังการรวมกลุ่มกันให้มาก การแจกจ่ายควรวางระเบียบให้ชัดเจนครับ เพื่อช่วยกันระวังป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดมากไปอีก

ศบค.ปัตตานีรายงานประจำวันที่ 16 ก.ค.2564 มีผู้ป่วยรายใหม่ 193 รายผู้ป่วยสะสม 5,244 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 6 รายเป็นผู้เสียชีวิตสะสมที่ 48 รายตัวเลขผู้ป่วยรักษาตัวที่รพ. สนามทั้งหมดยังคงสูง อยู่ที่ 1,926 ราย ขณะที่ประชาชนต่างเข้ารับวัคซีนเป็น 64,319คน

Advertisement

นอกจากนี้ทางศบค.จังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งประกาศใช้เรื่อง แนวทางและวิธีปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมวันอีฏิลอัดฮา อีกด้วย

ตามที่ได้มีประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019
(COVD-19) ว่าด้วย แนวทางและวิธีปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ปัจจุบันและการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 7/2564) เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันกำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เพื่อรักษาการปฏิบัติศาสนกิจตามบทบัญญัติของศาสนา ให้มีความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวศบค.จังหวัดปัตตานีและนายแวดีอราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี จึงกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ดังต่อไปนี้

การละหมาดญะมาอะห์ และการละหมาดวันศุกร์(ญุมอะห์ ที่ มัสยิด เนื่องจากจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้งดการละหมาดญะมาอะห์ และการละหมาดวันศุกร์(ญมอะห์) ที่ มัสยิด แต่ให้มีการอะซานทุกเวลาและให้ปฏิบัติศาสนกิจละหมาดประจำวลาได้ไม่เกิน 3 คน เพื่อรักษาไว้ ซึ่งการละหมาดประจำมัสยิด และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนดและประกาศจุฬาราชมนตรี ด้วยความเคร่งครัดงดการละหมาดอีฏิลอัดฮาที่มัสยิดและทุกสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ และให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด แจ้งมัสยิดได้ประกาศแจ้งให้สัปปุรุษในชุมชน ละหมาดที่บ้านเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันเท่านั้น

Advertisement

ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแจ้งให้อิหมามและผู้เกี่ยวข้อง จำนวนไม่เกิน 3 คน ทำหน้าที่ตักบีร
และอ่านคุตบะห์(ธรรมกถา) ออกเสียงตามสายที่มัสยิด เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของวันอีด งดการเยี่ยมญาติ การเยี่ยมกุโบร์(สุสาน) และงดการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกินกว่า 5 คน การเชือดสัตว์พลีทาน(กุรบาน) ขอให้จำกัดเฉพาะผู้เชือดและผู้ชำแหละที่ชำนาญการเพื่อความรวดเร็ว และจำกัดการรวมตัวเป็นกลุ่ม โดยเจ้าของสัตว์พลีทาน(กุรบาน) สามารถมอบหมาย(วะกีล ให้แก่ผู้ชำนาญการเชือดได้(เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบในการปฏิบัติพิธีกรรมการเชือดสัตว์พลีทาน(กุรบาน) ขอให้ดำเนินการในสถานที่ที่เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ และไม่ถ่ายภาพหรือเผยแพร่ภาพการเชือดกุรบานทุกขั้นตอนในสื่อทุกชนิด เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะมีผลในทางลบต่อการปฏิบัติศาสนกิจ(อิบาดะห์) นี้แล้ว จะเป็นเหตุนำไปสู่ความไม่บริสุทธิ์ใจและทำให้ผลบุญที่ได้รับบกพร่องอีกด้วย) ให้มัสยิด หรือผู้จัดสรร หรือเจ้าของสัตว์พลีทาน(กุรบาน)แจกจ่าย หรือนำเนื้อกุรบาน หรืออาหารปรุงสุกไปมอบให้ผู้ยากไร้ กลุ่มผู้ได้รับความเดือดร้อนจ ากภัยพิบัตินิ้ ได้แก่ ชุมซน หรือผู้ถูกกักตัว และบุคลากรทางการแพทย์และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด และประกาศจุฬาราชมนตรีด้วยความเคร่งครัด ทั้งการใส่หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย การตรวจวัดอุณหภูมิ ว้นระยะห่าง และการหมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image