พช.ตราด จัดกิจกรรมพัฒนาพื้นที่-คุณภาพชีวิต ‘เอามื้อสามัคคี’ พื้นที่ อ.เขาสมิง

พช.ตราด จัดกิจกรรมพัฒนาพื้นที่-คุณภาพชีวิต ‘เอามื้อสามัคคี’ พื้นที่ อ.เขาสมิง

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 5 สิงหาคม 2564 นายมนตรี ฮมแสน พัฒนาการจังหวัดตราด เป็นประธานกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล กิจกรรมพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต Household Lab Model for quality of life HLM ระดับครัวเรือน ณ บ้านคลองใหญ่ หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งนนทรี ครัวเรือนต้นแบบ นางสุรภา ศักดิแพทย์ เป็นพื้นที่ขนาด 3 ไร่ แบบดินเหนียวอัตรา 2:3 โดยมีนางสาวกาญจนา ลิขสิทธิ์ พัฒนาการอำเภอเขาสมิง เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขาสมิง นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายครัวเรือนต้นแบบเข้าร่วมกิจกรรม การเอามื้อสามัคคี คือ การทำงานแบบเอาแรง เอาใจ มาช่วยเหลือกัน ถือเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชนและเกิดการทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่แปลงครัวเรือนต้นแบบ

สำหรับการเอามื้อสามัคคี เป็นการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง โดยมีการแบ่งหน้าที่วางแผนการเอามื้อสามัคคี เริ่มจากการสร้างความรู้ เตรียมความพร้อมกิจกรรม จากนั้นแบ่งหน้าที่ แบ่งคน แบ่งงาน และการลงมือปฏิบัติ ซึ่งกิจกรรมในการเอามื้อสามัคคีในครั้งนี้ ได้แก่ การปลูกป่า 5 ระดับ คือ 1.ไม้สูง ได้แก่ ต้นยางนา ต้นพะยูง 2.ไม้กลาง ได้แก่ มะกรูด มะนาว ทุเรียน ชะอม 3.ไม้เตี้ย ได้แก่ ข้าว ตะไคร้ ต้นทานตะวัน 4.ไม้เรี่ยดิน ได้แก่ ตำลึง 5. ไม้หัวใต้ดิน ได้แก่ กระชาย ข่า นอกจากนี้ ยังมีการห่มดิน, การแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้ได้แก่ ต้นไผ่ ต้นยางนา ต้นสำรอง, การกระทุ้งข้าว และการปล่อยพันธุ์ปลา ได้แก่ ปลานิลและปลาดุกอุย

โดยในวันนี้ พัฒนาการจังหวัดตราด นายมนตรี ฮมแสน ได้ร่วมปลูกต้นพะยูงซึ่งจัดเป็นไม้มงคลนาม ตามชื่อที่พ้องกับคำว่า “พยุง” ที่หมายถึง การประคองให้อยู่ในสภาพปกติ ช่วยให้ทรงตัวได้ จึงมีความเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นพะยูงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น และเพื่อความเป็นสิริมงคลของเจ้าของแปลง

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” คือ ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง, เจ้าของแปลงได้พัฒนาแปลงพื้นที่ต้นแบบของตนเอง, เกิดเครือข่ายครัวเรือนต้นแบบ

Advertisement

โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นการสืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการบริหารทรัพยากร ทั้งดิน น้ำ ลม แดด รวมถึงพืชพันธุ์ต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบในครั้งนี้ สู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล”เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดเครือข่ายในการทำงานและเพิ่มพื้นที่ในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารในชุมชนต่อไป

ทั้งนี้ การดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเขาสมิงในครั้งนี้ ดำเนินการตามมาตรการ การป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

Advertisement

#เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2565
#กรมการพัฒนาชุมชน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image