สสจ.นนท์เผย “ไฟเซอร์” ยังเหลือเพียบ นัดฉีด 25-30 นี้

สสจ.นนท์เผย “ไฟเซอร์” ยังเหลือเพียบ นัดฉีด 25-30 นี้

เมื่อเวลา 23.45 น.วันที่ 22 สิงหาคม นายแพทย์สฤษดิ์เดช เจริญไชย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ได้โพสต์ facebook ส่วนตัว ว่า “ยังไม่เต็มจำนวน เหลืออีก 12,559 โด๊ส ผู้ที่อาศัยในนนทบุรีรีบมาจองกันนะครับ ทั้งในทะเบียนราษฎรและประชากรแฝง #westgate 25 สค. นี้ใกล้เต็มแล้วครับ ไฟเซอร์ “นนท์พร้อม Pfizer Day” พร้อมอัพเดต เอกสารหลักฐานเพื่อขอรับวัคซีน กรณีอาศัยอยู่ที่นนทบุรี ลงทะเบียนฉีดวัคซีน Pfizer สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในจังหวัดนนทบุรี วันที่ 21- 24 ส.ค. 64

นัดฉีดวัคซีนวันที่ 25,28,29,30 ส.ค. 64 ลงทะเบียนที่ www.นนท์พร้อม.com หรือคลิกลิงค์ https://www.xn--o3cdavpl4ezlya.com/nontprompt/wcontent/content_viewfile/phyzer-l2

อนึ่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม เพจ facebook ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี แจ้งว่า นนท์พร้อม Pfizer Day เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีน Pfizer วันที่ 21- 24 ส.ค. 64 นัดฉีดวัคซีนวันที่ 25,28,29,30 ส.ค. 64 ลงทะเบียนที่ www.นนท์พร้อม .com หรือคลิกลิงค์ https://www.xn--o3cdavpl4ezlya.com/nontprompt/wcontent/content_viewfile/phyzer-l2

สถานที่ฉีด 2 แห่งประกอบด้วย
1.Westgate Hall เซ็นทรัล เวสต์เกต วันที่ 25, 30 ส.ค.วันละ 9,000 คน 2. MCC Hall เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน วันที่ 28, 29 ส.ค. วันละ 9,000 คน

Advertisement

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชนอยู่ในจังหวัดนนทบุรี และยังไม่เคยได้รับวัคซีนใดมาก่อน ต่อไปนี้ ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (เกิดก่อน 15 ส.ค. 2504) หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป (ต้องนำสมุดฝากครรภ์มาแสดง) กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง (ต้องนำหลักฐานมาแสดง อาทิ สมุดประจำตัว หรือใบนัดหมอ) นิยามโรคอ้วนในผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 18 ปี) คือ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 100 กก. หรือ ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก. ต่อตารางเมตร ขึ้นไป

เด็กอายุ 12-17 ปี (เฉพาะที่เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยงเท่านั้น)โดยนิยามโรคอ้วนในเด็ก หมายถึง ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กก. ต่อตารางเมตร หรือ เด็กอายุ 12-13 ปี ที่มีน้ำหนัก 70 กก.ขึ้นไป, เด็กอายุ 13-15 ปี ที่มีน้ำหนัก 80 กก.ขึ้นไป, เด็กอายุ 15-18 ปี ที่มีน้ำหนัก 90 กก.ขึ้นไป หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น

ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค ได้แก่ 1) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง 2) โรคหัวใจและหลอดเลือด 3) โรคไตวายเรื้อรัง 4) โรคหลอดเลือดสมอง 5) โรคมะเร็งทุกชนิด 6) โรคเบาหวาน 7) โรคอ้วน

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image